Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0

Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0 Digital Transformation (DX) คือ การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเท่าทัน.และเนื่องจาก DX เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ทุกองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง DX สำหรับความหมายโดยละเอียดของ DX สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ Digital Transformation (DX) คือ อะไร สำหรับองค์กรในภาคอุตสาหกรรม นอกจากคำว่า Digital Transformation แล้ว ยังมีคำว่า Industry 4.0 หรือ อุตสาหกรรม 4.0 อีกด้วย แล้ว 2 สิ่งนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อุตสาหกรรม ได้จัดแบ่งเส้นทางพัฒนาการเอาไว้เป็น 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุค 1.0 คือ ใช้เครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องทอผ้า ยุค 2.0 คือ ผลิตครั้งละมาก […]

Digital Transformation (DX) คืออะไร

Digital Transformation (DX) คืออะไร          Digital Transformation ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือสิ่งที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างต้องเผชิญ และเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดในการติดกระดุมเม็ดแรก จึงจำเป็นต้องเข้าใจในรากฐานของนิยามความหมาย เพื่อให้สร้างสรรค์วิธีการได้อย่างอิสระ และเมื่อศึกษามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบว่า “Digital Transformation” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “DX” มีความหมายที่เฉพาะตัว เราพบว่า “DX ไม่เท่ากับ Technology” และ “DX ไม่เท่ากับ Transformation” แล้วจริง ๆ แล้ว DX คือ อะไร 1. Digital Transformation ไม่เท่ากับ Technology          ความเข้าใจที่ว่า DX คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน จริง ๆ แล้ว DX คือ การมองเห็นว่าเทคโนโลยีได้มาเปลี่ยนแปลงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในธุรกิจ ความคาดหวังของลูกค้า พันธมิตร […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด – Strategies for Getting More Work Done in Less Time

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด กลยุทธ์ต่อไปนี้ ไม่ได้รับประกันว่าจะช่วยให้เราทำงานทุกอย่างสำเร็จ แต่การนำไปใช้ จะช่วยให้เราทำงานที่จะสำเร็จ ได้ในเวลาที่น้อยลง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. รู้ความต้องการที่แท้จริง ถามถึงความต้องการที่แท้จริง เช่น จำเป็นต้องนำเสนอผ่าน PowerPoint มั๊ย คาดหวังผลลัพธ์ระดับไหน A+ หรือ B+ ต้องการแผนโดยรวม หรือต้องการแผนเพื่อการริเริ่ม การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงเช่นนี้ จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้มากในการทำให้งานสำเร็จ 2. ใช้ซ้ำ ในสิ่งที่เคยใช้ บางงานเราสามารถใช้ข้อมูลซ้ำได้ เช่น รูปแบบข้อความสำหรับส่งอีเมลนัดประชุม และไฟล์สำหรับการนำเสนอต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ นักพูดที่ยอดเยี่ยม มีแนวโน้มจะกล่าวใจความสำคัญแบบเดิมซ้ำ ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการพูดถึงเรื่องนั้น (Practice makes Perfect) 3. งานซ้ำ ทำซ้ำให้ไว งานที่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เราควรจะหาตัวช่วยด้วยการทำเป็นแบบฟอร์มให้กรอกหรือจดลำดับขั้นตอนของงานให้เป็นระเบียบ เพื่อที่ว่าจะสามารถทำตามเดิมแบบที่เคยทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ลังเล […]

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน และได้พัฒนาตัวเอง เทคนิคที่ 1. สร้างความสุข เราจะเริ่มต้นด้วยคำถามว่า “เราทำงานนี้ ไปทำไม” คำถามนี้ นำไปสู่คุณค่าของงาน แต่ถ้ายังตอบไม่ได้ เราอาจเริ่มต้นด้วยคำว่า “ดีจัง มีงานให้ทำ” “ทำงาน ช่วยให้มีตังค์ กินข้าว ใช้จ่าย” ไปจนถึง “ดีที่มีงานให้ทำ จะได้ไม่เป็นภาระใคร” หรือ “ทำงานนี้ดี จะได้ช่วยเลี้ยงดูคนที่เรารักได้” และถ้าโชคดีกว่านั้นเราอาจเชื่อมโยงงานที่ทำกับคุณค่าในใจของเรา เช่น ถ้าเรามีความสุขเมื่อเห็นคนเปิดใจ (Openness) รับฟัง หรือเชื่อมประสานความหลากหลายเข้าด้วยกัน (Connectedness) นี่คือคุณค่าของเรา และถ้าเราทำงานที่เกี่ยวข้องหรือทำให้งานของเราเกี่ยวข้อง กับคุณค่าเหล่านี้ เราจะมีแรงจูงใจจากภายใน เทคนิคที่ 2. สร้างความสนุกสนาน เมื่อเวลาผ่านไป การทำสิ่งเดิม ๆ อาจทำให้เราชาชิน ความกระตือรือร้นกับงานอย่างที่เคยในช่วงแรก ๆ อาจลดลง ดังนั้น เราจำเป็นต้องขยับขยายงานของเราให้ท้าทายขึ้น เพิ่มความแปลกใหม่ อาจเรียกว่า […]

การฟื้นคืนพลัง: Resilience

การฟื้นคืนพลัง: Resilience           การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จำเป็นมากต่อการทำงานในยุคสมัยนี้ เราอาจทุ่มเทกับการทำงานเป็นอย่างมาก ใช้เวลาหลายสัปดาห์รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอ จากนั้น สิ่งที่เรานำเสนอไปนั้นอาจถูกปฏิเสธ เพราะความต้องการของลูกค้านั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การเปิดใจรับฟังข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขงานอย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานในยุคดิจิตอล หากเรามีทักษะในการฟื้นคืนพลัง ก็ย่อมเริ่มต้นสร้างสรรค์งานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยทันที แต่ความเป็นจริง โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเราได้รับการตอบรับ ร่างกายจะผลิตสารแห่งความสุข แต่เมื่อถูกปฏิเสธบ่อย ๆ แน่นอนว่าร่างกายจะผลิตสารแห่งความเครียด ความท้อแท้ในการทำงานจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา และเมื่อการทำงานดำเนินมาถึงจุดจุดหนึ่ง เราจะรู้สึกได้ว่าจำเป็นต้องพักแล้วล่ะ แต่ด้วยความเร่งด่วนของงาน เราอาจจะไม่สามารถพักได้อย่างที่ใจต้องการ เมื่อฝืนทำงานต่อไปความเครียดทางใจก็จะแปรเปลี่ยนมาสะสมเป็นความเครียดทางร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น นอนไม่หลับ ระบบการย่อยอาหารไม่เป็นปกติ ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ เป็นต้น           ดังนั้น การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จึงเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเราเป็นอย่างมาก เราอาจลองจินตนาการถึงแก้วน้ำ และลูกเทนนิส เมื่อแก้วน้ำหล่นพื้นแก้วน้ำจะแตก (หมายถึงแก้วน้ำที่เป็นแก้วนะครับไม่ใช่แก้วพลาสติก) แต่เมื่อลูกเทนนิสหล่นลงพื้น ลูกเทนนิสจะเด้งกลับขึ้นมาใหม่ บางครั้งเราจึงให้ความหมายของการฟื้นคืนพลังว่า การฟื้นตัวหรือการเด้งกลับขึ้นมาใหม่ แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอนะครับ […]

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ           บางครั้ง เราอยากจะบอกเล่าเรื่องราวของเราให้กับใครสักคนได้รับฟัง เช่น ในวันที่เราประสบความสำเร็จหลังจากผ่านความยากลำบาก หรือแม้กระทั่งในวันที่เรารู้สึกผิดจากสิ่งที่ได้ทำลงไป เราเพียงแค่ต้องการใครสักคนมาเข้าใจเราก็เพียงเท่านั้น แต่บ่อยครั้ง แค่มีคนเข้าใจมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนฟังเราพร้อมกับการตัดสิน “ทำไมเธอไม่ทำเหมือนกับคนอื่นล่ะ” หรือไม่ก็ซ้ำเติม “โอว้ เธอได้รู้แล้วสินะ ฉันเคยบอกแล้วไง” หรือไม่ก็แนะนำบอกสอน “ฉันว่าทางที่ดี เธอควรจะทำแบบนี้ดีกว่านะ” ในวันที่เราหมดพลัง เราอาจเพียงแค่ต้องการประคับประครองให้ชีวิตลุกขึ้นยืนได้ ยังไม่พร้อมมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายใด ๆ ทั้งนั้น คำแนะนำต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในวันที่ยากลำบาก จึงกลายเป็นการบั่นทอนคุณค่าที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เพราะคำแนะนำบอกสอนต่าง ๆ เหล่านนั้น ได้มาตอกย้ำว่า สิ่งที่เราเป็นอยู่นั้น มันยังไม่ดีพอ กำลังจะลุกขึ้นยืนได้แล้วเชียว กลับต้องทรุดตัวลงนอนอีกครั้ง ดังนั้น แค่ความหวังดีต่อกัน ด้วยการแนะนำบอกสอน นั้นยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ           เพื่อให้เราสามารถสังเกตความสามารถในการเข้าใจของเราได้ง่ายขึ้น เราอาจแบ่งความเข้าใจ หรือ Empathy ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ความเข้าใจด้วยความคิด (2) ความเข้าใจผ่านความรู้สึก และ […]

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System พื้นฐานการเยียวยา (Healing) ร่วมกับการภาวนาให้ใจเป็นกลาง ช่วยให้เราสามารถสร้างความกลมเกลียวภายในจิตใจ แม้ในวันที่อารมณ์ท่วมท้น เราก็จะสามารถยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจของเราได้ รวมถึงเมื่อเราเป็นผู้ที่รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น เราก็จะสามารถมอบความเข้าใจเช่นนี้ให้กับผู้ที่อยู่ตรงหน้าของเรา เกื้อกูลให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยพื้นที่ปลอดภัยนั้น สามารถเกิดได้จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนในเรื่องที่เขาสนใจ เช่น การดูแลสุขภาพ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแบบที่ชอบ เป็นต้น ในส่วนของการเยียวยารักษาจิตใจ หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ เรียกว่า IFS (Internal Family System) หรือ “ระบบครอบครัวภายใน” IFS แบ่งระบบภายในจิตใจออกเป็นหลายตัวตน (Parts) โดยมองว่าทุกตัวตนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ไม่มีตัวตนใดที่เลวร้าย แต่ละตัวตนภายในตัวเราล้วนต้องการผลเชิงบวกแก่ตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละตัวตนเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ความต้องการเหล่านั้นจึงส่งผลต่อตัวตนอื่น ๆ ด้วย เป้าหมายของการสร้างความกลมเกลียวภายใน จึงไม่ใช่การกำจัดตัวตนใดตัวตนหนึ่งออกไปจากชีวิต แต่ช่วยให้แต่ละตัวตนนั้นได้พบบทบาทที่เหมาะสม เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีภายนอกด้วย IFS หรือ ระบบครอบครัวภายใน ประกอบไปด้วย Self ซึ่งในที่นี้หมายถึง สภาวะใจที่เป็นกลาง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยตัวตนต่าง […]

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling)

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling) คำว่า “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก บางครั้งผมใช้แทนกันเลย แต่วันนี้ไปพบเจอการให้ความหมายไว้อย่างน่าสนใจจาก Yale Center for Emotional Intelligence โดย Marc Brackett, Ph.D. และ Robin Stern, Ph.D. ขอนำมาแบ่งปัน สำหรับคนที่สนใจใคร่รู้เรื่อง “อารมณ์” ในเชิงความหมายครับ  Emotions หรือ อารมณ์ คือ การตอบสนองสั้น ๆ จากสิ่งที่มากระตุ้น (ทั้งความจริงและจินตนาการ) ส่งผลต่อความคิด ร่างกาย การแสดงออก และพฤติกรรม  Feelings หรือ ความรู้สึก คือ ประสบการณ์ส่วนตัวทางอารมณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีความซับซ้อน และอาจเกิดจากการผสมผสานหลายอารมณ์ เช่น รู้สึกรักและเขินอาย เป็นต้น  Moods […]

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture จากงานวิจัยของ Linkedin พบว่า ครึ่งหนึ่งในบรรดาทักษะที่จำเป็นที่สุด เป็นทักษะใหม่ หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน คุณจะไม่พบทักษะเหล่านี้อยู่ในรายการของทักษะที่จำเป็น นั่นแสดงให้เห็นว่า คนทำงานในปัจจุบัน จำเป็นต้องเพิ่มทักษะใหม่ให้กับตัวเองอีกเป็นอย่างมาก ในฐานะองค์กรการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดมีขึ้น จึงมีความสำคัญ และต่อไปนี้ คือ 4 แนวทางในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีขึ้นในองค์กร หนึ่ง) มีรางวัลให้กับการเปิดใจ โดยการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการมีความรู้มากขึ้นแต่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการเปิดใจยอมรับ กล้าแสดงความคิดเห็น แม้จะนำไปสู่ความเห็นต่างก็ตาม การให้รางวัลที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ได้ สอง) ให้ข้อเสนอแนะที่เปิดใจ โดยปกติทุกคนจะไม่รู้ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ แต่ก็ยากที่จะเปิดรับต่อคำแนะนำจากใคร ๆ ที่ชี้ชัดถึงข้อจำกัดภายในตนเอง ดังนั้น การให้ข้อเสนอแนะต่อกันอย่างชี้ชัดไม่บิดพริ้วจึงคือคุณค่าที่แท้จริง เสมือนเป็นการมอบของขวัญอันล้ำค่า ในขณะเดียวกัน ผู้ให้ข้อเสนอแนะก็จำเป็นต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่นำไปสู่การเปิดใจยอมรับด้วย สาม) มีผู้นำที่เปิดใจ หากผู้นำอยากให้ทีมงานเป็นนักอ่าน ผู้นำก็ต้องเป็นนักอ่านและแบ่งปันหนังสือดี ๆ ให้กัน หากผู้นำอยากให้ทีมงานเรียนรู้ทักษะใหม่ ผู้นำก็ต้องอาสาทำงานใหม่ ๆ กล้าออกจากพื้นที่สบาย […]

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow เวลาตารางงานเต็ม ๆ ชีวิตก็คึกคักเหมือนรถยนต์ที่เร่งเครื่องเต็มพิกัดด้วยเกียร์สูงสุด แต่พอจบโปรเจคใหญ่ หรือตารางงานถูกเลื่อนแบบทันทีทันใด ตารางงานก็จะว่างไปเฉย ๆ ชีวิตเหมือนรถยนต์ที่ผ่อนความเร็วลงทันที แต่ลดเกียร์ลงมายังไม่ทัน จะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าจังหวะชีวิตช้าลง พออยู่เฉย ๆ แล้วรู้สึกชีวิตไม่ถูกเติมเต็ม วันนี้ มีเทคนิคจาก Harvard Business มานำเสนอ ดังนี้ครับ 1) กำหนดแผนงาน (Make a plan) การมีแผน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไร แต่การมีแผนในแต่ละวันช่วยลดปริมาณการเสพข้อมูลข่าวสารที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ดีหากตื่นนอนมา เราจะกำหนดสิ่งสำคัญ 2-3 อย่าง ที่ตั้งใจจะทำในวันนี้ 2) พัฒนาตนเอง (Develop yourself) ทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ปกติแล้วเราจะไม่มีเวลาทำ เช่น อัพเดทเอกสารประวัติการทำงาน อ่านหนังสือที่ชอบ เรียนออนไลน์ คุยกับเพื่อนเก่า คุยกับเจ้านายเก่า เพื่อเรียนรู้ […]