Tag Archives: relationship

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System พื้นฐานการเยียวยา (Healing) ร่วมกับการภาวนาให้ใจเป็นกลาง ช่วยให้เราสามารถสร้างความกลมเกลียวภายในจิตใจ แม้ในวันที่อารมณ์ท่วมท้น เราก็จะสามารถยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจของเราได้ รวมถึงเมื่อเราเป็นผู้ที่รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น เราก็จะสามารถมอบความเข้าใจเช่นนี้ให้กับผู้ที่อยู่ตรงหน้าของเรา เกื้อกูลให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยพื้นที่ปลอดภัยนั้น สามารถเกิดได้จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนในเรื่องที่เขาสนใจ เช่น การดูแลสุขภาพ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแบบที่ชอบ เป็นต้น ในส่วนของการเยียวยารักษาจิตใจ หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ เรียกว่า IFS (Internal Family System) หรือ “ระบบครอบครัวภายใน” IFS แบ่งระบบภายในจิตใจออกเป็นหลายตัวตน (Parts) โดยมองว่าทุกตัวตนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ไม่มีตัวตนใดที่เลวร้าย แต่ละตัวตนภายในตัวเราล้วนต้องการผลเชิงบวกแก่ตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละตัวตนเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ความต้องการเหล่านั้นจึงส่งผลต่อตัวตนอื่น ๆ ด้วย เป้าหมายของการสร้างความกลมเกลียวภายใน จึงไม่ใช่การกำจัดตัวตนใดตัวตนหนึ่งออกไปจากชีวิต แต่ช่วยให้แต่ละตัวตนนั้นได้พบบทบาทที่เหมาะสม เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีภายนอกด้วย IFS หรือ ระบบครอบครัวภายใน ประกอบไปด้วย Self ซึ่งในที่นี้หมายถึง สภาวะใจที่เป็นกลาง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยตัวตนต่าง […]

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow เวลาตารางงานเต็ม ๆ ชีวิตก็คึกคักเหมือนรถยนต์ที่เร่งเครื่องเต็มพิกัดด้วยเกียร์สูงสุด แต่พอจบโปรเจคใหญ่ หรือตารางงานถูกเลื่อนแบบทันทีทันใด ตารางงานก็จะว่างไปเฉย ๆ ชีวิตเหมือนรถยนต์ที่ผ่อนความเร็วลงทันที แต่ลดเกียร์ลงมายังไม่ทัน จะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าจังหวะชีวิตช้าลง พออยู่เฉย ๆ แล้วรู้สึกชีวิตไม่ถูกเติมเต็ม วันนี้ มีเทคนิคจาก Harvard Business มานำเสนอ ดังนี้ครับ 1) กำหนดแผนงาน (Make a plan) การมีแผน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไร แต่การมีแผนในแต่ละวันช่วยลดปริมาณการเสพข้อมูลข่าวสารที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ดีหากตื่นนอนมา เราจะกำหนดสิ่งสำคัญ 2-3 อย่าง ที่ตั้งใจจะทำในวันนี้ 2) พัฒนาตนเอง (Develop yourself) ทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ปกติแล้วเราจะไม่มีเวลาทำ เช่น อัพเดทเอกสารประวัติการทำงาน อ่านหนังสือที่ชอบ เรียนออนไลน์ คุยกับเพื่อนเก่า คุยกับเจ้านายเก่า เพื่อเรียนรู้ […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

การบริหารจัดการความคาดหวัง : Expectation Management

หลุมพราง ของการบริหารความคาดหวัง เรามักไม่สื่อสารถึงความคาดหวัง เพราะเราคิดว่าคนอื่นๆ ย่อมรู้ดี ในระบบระเบียบที่ควรจะต้องทำอยู่แล้ว หรือ ต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดจากการระบุกฎเกณฑ์ในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน และ สุดท้ายอาจเป็นเพราะเราไม่แน่ใจว่าจะสื่อสารออกไปอย่างไรให้ได้ผล มุมมองเชิงบวกต่อความคาดหวัง หนึ่ง) เป็นหน้าที่ที่ดี มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ในการบริหารจัดการของผู้จัดการ มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการอยู่ร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของการเป็นกัลยาณมิตร สอง) เป็นเข็มทิศให้กัน การแจ้งความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยลดความขัดเคืองใจ อันจะนำมาสู่ความขัดแย้งได้มาก และยังจะเป็นทิศทางให้กับเพื่อนร่วมงาน ให้กับทีมงาน สามารถทำการตัดสินใจด้วยตนเองในระหว่างการทำงานได้ (Self-manage) สาม) เป็นข้อตกลงร่วมกัน การสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวัง จะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อทุกคนทำสิ่งนั้นร่วมกัน รวมถึงตัวเราก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เราไม่สามารถอ้างว่า “ให้ทำตามที่ฉันพูด อย่าทำตามที่ฉันทำ” เมื่อทุกคนได้เข้าไปยอมรับ ความคาดหวังจากกันและกัน ก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทหน้าที่ รวมถึงจะนำไปสู่ความสามารถที่จะรับผิดชอบ (Accountable) ต่องานที่ทำได้ ความคาดหวังในองค์กร ในบริบทขององค์กร ความคาดหวัง (Expectation) ซึมซาบผ่าน 2 ถ้อยคำ ได้แก่ คำว่ามาตรฐาน (Standards) และ คำว่าเป้าหมาย (Goals) หนึ่ง) มาตรฐาน (Standard) […]

การดูแลความก้าวร้าวในคน : Deal with Aggressiveness in People

การเผาไหม้ (Combustion) เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า “Fire Triangle” ประกอบด้วย เชื้อเพลิง (Fuels) อากาศ (Oxygen) และ ความร้อน (Heat) ในขณะที่ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik) ได้อธิบายเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว (Aggressiveness) ผ่านวงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) เอาไว้ว่า เมื่อความโกรธ (Anger) ผสมโรงเข้ากับ ความคาดหวัง (Anticipation) จะเกิดเป็นความก้าวร้าวขึ้น เมื่อได้ลองอุปมาการเผาไหม้ เข้ากับการเกิดอารมณ์ก้าวร้าว ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ชัด และ เกิดเป็นแนวคิดแนวทาง เพื่อดูแลความก้าวร้าวในคน (Deal with Aggressiveness in People) แบ่งเป็น 3 กลยุทธิ์ ดังนี้ครับ กลยุทธ์ที่ 1. ปรับทิศปิดลม (Smother Air […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ : the power of spirituality

งานเขียนนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้ จากการได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กับอาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ในหัวข้อ “อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ” ที่สวนอาศรมวงศ์สนิท ตั้งแต่วันที่ 16-18 กันยายน 2559 Body Scan การเน้นกลับมาดูแลฐานกายเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างความคิดที่มากมาย ปรับผ่อนความเครียด ผ่านทางร่างกาย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนกลางลำตัว และ ส่วนใต้ก้นกบลงไป รักตัวเองให้ได้ก่อนสิ่งอื่นใด ด้วยการกลับมาดูแลร่างกายตัวเองให้ผ่อนคลาย สมดุล และ มั่นคง “ขมิบก้น แขม่วท้อง หายใจเข้าลึก…ให้ถึงก้นกบ หายใจออก… ผ่อนคลายส่วนล่าง ส่วนกลาง ส่วนบน รับรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว จากการหายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง” Original Mind จิตที่สดใหม่ หรือ จิตผู้เริ่มต้น (beginner’s mind) เสมือนฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ […]