Tag Archives: flow

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]