Tag Archives: adaptability

HRBP สร้างคุณค่าเพื่อความสำเร็จขององค์กร: Human Resources Business Partner

HRBP ย่อมาจาก Human Resource Business Partner เป็นตำแหน่งงานที่ทำหน้าที่เปิดรับมุมมองจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกค้าภายนอกองค์กร นักลงทุน รวมถึงชุมชนแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าให้บุคลากรและองค์กร อันจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในตลาด ผู้ที่ทำงานในตำแหน่ง HRBP จำเป็นต้องมีความเข้าใจในงานอย่างหลากหลาย ทั้งด้านการพัฒนาธุรกิจ, ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, ด้านเทคโนโลยี และด้าน HR เป็นต้น ผู้ที่ทำงานตำแหน่ง HRBP จึงไม่จำเป็นต้องทำงานด้าน HR มาก่อน โดยหากเป็นผู้ที่ทำงานด้านการตลาดมาก่อน ก็จะเกื้อหนุนการทำงานในตำแหน่ง HRBP เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความเข้าใจในลูกค้า หรือหากเป็นผู้ที่เข้าใจธุรกิจมาก่อน ก็จะเกื้อหนุนการทำงานในตำแหน่ง HRBP ได้อย่างดีเช่นกัน เนื่องจากคุ้นเคยกับการมองภาพใหญ่ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม HRBP ที่ไม่เคยทำงานด้าน HR มาก่อน จำเป็นต้องขวนขวายใกล้ชิด กับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน HR เพื่อเปิดรับมุมมองและประสบการณ์ในงานด้าน HR อยู่เสมอ นอกจากนี้ HRBP ยังอาจหมายถึง บุคลากรที่ทำงานด้าน HR อยู่เดิม […]

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

สมองและการบริหารจัดการตนเอง : brain and self-management

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการตนเอง (self-management) ซึ่งหมายถึง การดูแลท่าทีของตนเองให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเวลาปกติสุข และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คับขัน รู้สึกกลัว รู้สึกไม่คุ้นชิน รู้สึกไม่ปลอดภัย เวลาปกติสุขสมองส่วนที่กุมอำนาจเป็นหัวหน้าใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ สมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex) ซึ่งอยู่หลังหน้าผากของเรา จะคอยบัญชาการในการคิด ตัดสินใจ วางแผน และ การเรียนรู้ของเรา แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่คับขัน รู้สึกไม่ปลอดภัย สมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) ที่อยู่ส่วนกลางบริเวณระหว่างหู จะเข้ายึดครองการทำงาน เพื่อสลายสภาวะที่รู้สึกไม่ปลอดภัยแบบฉับพลัน แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เกลือกกลั้วอยู่ด้วยอารมณ์ โกรธ กลัว กังขา บางการกระทำก็ส่งผลดี เช่น การตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อควบคุมรถก่อนเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ รู้สึกเสียใจภายหลังที่ทำลงไป เช่น การแก้ตัวแบบโผงผาง  พูดไม่หยุด พูดเสียงดัง ไม่ยอมฟังกัน เพราะความกลัวลึก ๆ ในใจกลัวการไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ การกล่าวโทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสถานการณ์ที่เราเป็นกังวล สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ เรื่องราวในวัยเด็กนั้น […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

ความสามารถในการปรับตัว : adaptability

ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการเปลี่ยนใจ หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดูก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ดำรงอยู่ในความคลุมเคลือ หรือ คำร้องขอที่วกวนไปมา สามารถปรับตัวในสถานการณ์ใหม่ๆ ด้วยไอเดียและนวัตกรรมที่สดใหม่ ยังคงมีสมาธิกับเป้าหมาย และ พร้อมในการปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมาย ผู้นำที่พร้อมปรับเปลี่ยนตนเองจะรู้สึกท้าทายเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงขึ้น อาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ หรือ บางสิ่งหยุดชะงักหายไปในทันที เขาจะยังดำรงตนด้วยใจที่โล่งโปร่งเบาแบบสบายๆ บนความไม่แน่นอนที่เผชิญพบเจอนั้นได้ ในอดีตสมาร์ทโฟน BlackBerry เคยได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นของคีย์บอร์ดที่สามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะที่การถือกำเนิดเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G ทำให้มีสมาร์ทโฟนจาก Apple และ Android ได้รับความนิยมจนเริ่มเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจาก BlackBerry ไป ถึงกระนั้นเอง BlackBerry ก็ยังคงภูมิใจในคีย์บอร์ดที่เป็นจุดเด่นของตนเอง และ ปฏิเสธที่จะผลิตสมาร์ทโฟนแบบหน้าจอสัมผัส (touch screen) ตามกระแสอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ BlackBerry หลุดจากตลาดสมาร์ทโฟนไปในที่สุด ในปี 2017 ฝ่าย K-SME Analysis ธนาคารกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ 5 เทรนด์ธุรกิจ แรงแซงโค้งปี […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]