Tag Archives: empathy

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ           บางครั้ง เราอยากจะบอกเล่าเรื่องราวของเราให้กับใครสักคนได้รับฟัง เช่น ในวันที่เราประสบความสำเร็จหลังจากผ่านความยากลำบาก หรือแม้กระทั่งในวันที่เรารู้สึกผิดจากสิ่งที่ได้ทำลงไป เราเพียงแค่ต้องการใครสักคนมาเข้าใจเราก็เพียงเท่านั้น แต่บ่อยครั้ง แค่มีคนเข้าใจมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนฟังเราพร้อมกับการตัดสิน “ทำไมเธอไม่ทำเหมือนกับคนอื่นล่ะ” หรือไม่ก็ซ้ำเติม “โอว้ เธอได้รู้แล้วสินะ ฉันเคยบอกแล้วไง” หรือไม่ก็แนะนำบอกสอน “ฉันว่าทางที่ดี เธอควรจะทำแบบนี้ดีกว่านะ” ในวันที่เราหมดพลัง เราอาจเพียงแค่ต้องการประคับประครองให้ชีวิตลุกขึ้นยืนได้ ยังไม่พร้อมมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายใด ๆ ทั้งนั้น คำแนะนำต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในวันที่ยากลำบาก จึงกลายเป็นการบั่นทอนคุณค่าที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เพราะคำแนะนำบอกสอนต่าง ๆ เหล่านนั้น ได้มาตอกย้ำว่า สิ่งที่เราเป็นอยู่นั้น มันยังไม่ดีพอ กำลังจะลุกขึ้นยืนได้แล้วเชียว กลับต้องทรุดตัวลงนอนอีกครั้ง ดังนั้น แค่ความหวังดีต่อกัน ด้วยการแนะนำบอกสอน นั้นยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ           เพื่อให้เราสามารถสังเกตความสามารถในการเข้าใจของเราได้ง่ายขึ้น เราอาจแบ่งความเข้าใจ หรือ Empathy ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ความเข้าใจด้วยความคิด (2) ความเข้าใจผ่านความรู้สึก และ […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

การดูแลความก้าวร้าวในคน : Deal with Aggressiveness in People

การเผาไหม้ (Combustion) เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า “Fire Triangle” ประกอบด้วย เชื้อเพลิง (Fuels) อากาศ (Oxygen) และ ความร้อน (Heat) ในขณะที่ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik) ได้อธิบายเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว (Aggressiveness) ผ่านวงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) เอาไว้ว่า เมื่อความโกรธ (Anger) ผสมโรงเข้ากับ ความคาดหวัง (Anticipation) จะเกิดเป็นความก้าวร้าวขึ้น เมื่อได้ลองอุปมาการเผาไหม้ เข้ากับการเกิดอารมณ์ก้าวร้าว ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ชัด และ เกิดเป็นแนวคิดแนวทาง เพื่อดูแลความก้าวร้าวในคน (Deal with Aggressiveness in People) แบ่งเป็น 3 กลยุทธิ์ ดังนี้ครับ กลยุทธ์ที่ 1. ปรับทิศปิดลม (Smother Air […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]