Tag Archives: connect

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

จิตวิญญาณเพื่อสังคม : spirituality for society

4 กันยายน 2559 ได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี อย่างใกล้ชิด ท่านมาบรรยายในหัวข้อ จิตวิญญาณเพื่อสังคม (spirituality for society) ท่านสาธยายให้เห็นถึงที่มาของ วิกฤตอารยธรรม (civilization crisis) ที่เกิดขึ้นปลายยุคอุตสาหกรรม คำว่า “โลกาภิวัตน์” กลับไม่ใช่เพื่อการอยู่ร่วมกันดังความหมาย แต่กลับคือความสะดวกรวดเร็วทางด้านข้อมูลข่าวสาร การเงิน และ การขนส่ง ที่ส่งผลให้เกิดการถาถมความเจริญเข้าส่วนกลาง ส่งเสริมให้มนุษย์เห็นแก่ตัว พอกพูนอัตตาตัวตน ในส่วนของทางออกนั้น ท่านพูดถึงการผุดบังเกิดแห่งยุคใหม่ เรียกว่า ยุคจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) ซึ่งจะเกิดได้จากการได้ทำในสิ่งที่ชอบ อย่างปราณีต แล้วรวมกลุ่มกัน สำเร็จด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ออกจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง (self-center) เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพาน เข้าสู่การเป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อมโยงกลุ่มเป็นเครือข่าย การปฏิวัติสัมพันธภาพ หรือ อาจเรียกว่า ยุทธศาสตร์สมองส่วนหน้า (neocortex) ที่เป็นส่วนของสติ ปัญญา และ ศีลธรรม โดยให้ออกจากสังคมแบบระบบ top-down ที่มีส่วนไปกระตุ้นสมองชั้นใน (reptilian […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

เฝ้าสังเกต รับรู้ตามจริง : Observation

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]