Category Archives: การตื่นรู้

flow, mindset, brain wave, download, autonomic nervous system, defence mechanisms, …

extra : original mind, beginner’s mind, appreciate smiling, mindfulness, clear comprehension, concentration, wisdom, hindrances (sensual desire, illwill, sloth and torpor, distraction and remorse, doubt), …

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System พื้นฐานการเยียวยา (Healing) ร่วมกับการภาวนาให้ใจเป็นกลาง ช่วยให้เราสามารถสร้างความกลมเกลียวภายในจิตใจ แม้ในวันที่อารมณ์ท่วมท้น เราก็จะสามารถยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจของเราได้ รวมถึงเมื่อเราเป็นผู้ที่รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น เราก็จะสามารถมอบความเข้าใจเช่นนี้ให้กับผู้ที่อยู่ตรงหน้าของเรา เกื้อกูลให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยพื้นที่ปลอดภัยนั้น สามารถเกิดได้จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนในเรื่องที่เขาสนใจ เช่น การดูแลสุขภาพ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแบบที่ชอบ เป็นต้น ในส่วนของการเยียวยารักษาจิตใจ หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ เรียกว่า IFS (Internal Family System) หรือ “ระบบครอบครัวภายใน” IFS แบ่งระบบภายในจิตใจออกเป็นหลายตัวตน (Parts) โดยมองว่าทุกตัวตนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ไม่มีตัวตนใดที่เลวร้าย แต่ละตัวตนภายในตัวเราล้วนต้องการผลเชิงบวกแก่ตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละตัวตนเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ความต้องการเหล่านั้นจึงส่งผลต่อตัวตนอื่น ๆ ด้วย เป้าหมายของการสร้างความกลมเกลียวภายใน จึงไม่ใช่การกำจัดตัวตนใดตัวตนหนึ่งออกไปจากชีวิต แต่ช่วยให้แต่ละตัวตนนั้นได้พบบทบาทที่เหมาะสม เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีภายนอกด้วย IFS หรือ ระบบครอบครัวภายใน ประกอบไปด้วย Self ซึ่งในที่นี้หมายถึง สภาวะใจที่เป็นกลาง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยตัวตนต่าง […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น – work practice play and learn

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ และบรรดาหลวงพี่ที่หมู่บ้านพลัม ให้แนวทางในการสังเกตสมดุลของชีวิตของเรา จากองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น เราสามารถสังเกตได้อย่างง่าย ๆ จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ เช่น การออกกำลังกายสนุก ๆ โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการเล่น (Play) แต่หากการออกกำลังกายนั้นมีความจริงจังขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา ก็ดูเหมือนว่า เรากำลังเรียนรู้ (Learn) อยู่เช่นกัน ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้ ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน (Work) ผมกำลังทำหน้าที่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ แต่หากช่วงเวลาหนึ่ง ผมได้กลับมารู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของมือ รู้สึกถึงลมหายใจ หรือได้ยินเสียงความคิดภายในใจอยู่ การเขียนในขณะนี้ ก็คือการบ่มเพาะสติ (Practice) ด้วยเช่นกัน การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น แท้จริงแล้วอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับว่า เราวางใจกับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นอย่างไร การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน หรือว่าการเล่น วันนี้ เราอยากเพิ่มองค์ประกอบอะไรให้กับชีวิตดีครับ 🥳😁🌸🎉

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]