Tag Archives: feeling

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling)

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling) คำว่า “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก บางครั้งผมใช้แทนกันเลย แต่วันนี้ไปพบเจอการให้ความหมายไว้อย่างน่าสนใจจาก Yale Center for Emotional Intelligence โดย Marc Brackett, Ph.D. และ Robin Stern, Ph.D. ขอนำมาแบ่งปัน สำหรับคนที่สนใจใคร่รู้เรื่อง “อารมณ์” ในเชิงความหมายครับ  Emotions หรือ อารมณ์ คือ การตอบสนองสั้น ๆ จากสิ่งที่มากระตุ้น (ทั้งความจริงและจินตนาการ) ส่งผลต่อความคิด ร่างกาย การแสดงออก และพฤติกรรม  Feelings หรือ ความรู้สึก คือ ประสบการณ์ส่วนตัวทางอารมณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีความซับซ้อน และอาจเกิดจากการผสมผสานหลายอารมณ์ เช่น รู้สึกรักและเขินอาย เป็นต้น  Moods […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

การดูแลความก้าวร้าวในคน : Deal with Aggressiveness in People

การเผาไหม้ (Combustion) เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า “Fire Triangle” ประกอบด้วย เชื้อเพลิง (Fuels) อากาศ (Oxygen) และ ความร้อน (Heat) ในขณะที่ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik) ได้อธิบายเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว (Aggressiveness) ผ่านวงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) เอาไว้ว่า เมื่อความโกรธ (Anger) ผสมโรงเข้ากับ ความคาดหวัง (Anticipation) จะเกิดเป็นความก้าวร้าวขึ้น เมื่อได้ลองอุปมาการเผาไหม้ เข้ากับการเกิดอารมณ์ก้าวร้าว ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ชัด และ เกิดเป็นแนวคิดแนวทาง เพื่อดูแลความก้าวร้าวในคน (Deal with Aggressiveness in People) แบ่งเป็น 3 กลยุทธิ์ ดังนี้ครับ กลยุทธ์ที่ 1. ปรับทิศปิดลม (Smother Air […]

การพัฒนาด้านอารมณ์ : Emotional Development

เหตุการณ์ (Event) ที่เราพานพบเจอะเจอ บางเหตุการณ์เราก็ชอบ บางเหตุการณ์เราก็อาจจะไม่ชอบ เป็นสิ่งที่เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ สิ่งที่เราควบคุมเลือกทำได้ คือ จะตอบสนอง (Response) ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น หากเราต้องการผลลัพธ์ (Outcome) ที่แตกต่าง หรือ เป็นไปตามที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การเลือกตอบสนอง (Response) อย่างดีที่สุด แต่ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ (Event) ครับ Event * Response = Outcome เป็นสมการง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาอธิบาย เรื่องราวความเป็นไปในชีวิต และ การทำงานของเราได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอารมณ์ภายในจิตใจของเรา ส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) ในชีวิตประจำวันของเราด้วยครับ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) 2. เจตนา (Intention) โดยที่ การรับรู้เชิงบวก มีผลต่อการตอบสนองเชิงบวก (Response) […]

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

เฝ้าสังเกต รับรู้ตามจริง : Observation

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

เทคนิคง่ายๆ ของการมีความสุข : the secret to being happy

ความรู้สึกทุกข์ไม่ได้หายไปด้วยการผลักไส แต่เกิดจากการเชิญความรู้สึกอื่นๆ เข้ามาแทนที่ หากเราเชิญความสุขแบบผิวเผินเข้ามาแทนที่ความทุกข์ เช่น การออกไปสังสรรค์ เที่ยวเตร่ ที่ให้ความสุขแค่เพียงเปลือกนอก ไม่ช้าก็เร็ว ความรู้สึกทุกข์เช่นเดิมก็จะกลับเข้ามาครอบครองในใจของเรา Matthieu Ricard มนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้มีความสุขที่สุดในโลก โดยมีผลรับรอง จากงานวิจัยของ Richard Davidson นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง เปิดเผยเทคนิคง่ายๆ ของการมีชีวิตที่มีความสุข แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้ ? หนึ่ง หยุดคิดถึงแต่ตัวเอง . ความเมตตาทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นยังทำให้คนอื่นรักเราด้วย ไม่ใช่การคาดคั้นตัวเองให้ต้องทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เราแค่เพียงเมตตา และ ช่วยเหลือด้วยใจ ? สอง ฝึกฝนให้ดีขึ้นๆ ทุกคนมีศักยภาพที่จะมีความสุข เราไม่ได้ฝึกฝนความคิดจิตใจ เพื่อเอาชนะใคร หรือ เพื่อเป็นแชมป์โอลิมปิก แต่ทุกครั้งที่เราฝึกฝน นั่นช่วยยกระดับความสุขของเรา ? สาม คิดถึงความสุข ใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเนื่องในหนึ่งวัน เพื่อคิดถึงความสุข สัมผัสถึงความรู้สึก จากประสบการณ์ที่เคยมีความสุข และ สิ่งนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสมาธิด้วย […]