Tag Archives: feeling

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

การซื่อตรงกับความรู้สึก : integrity of feeling

สมรภูมิของชีวิตที่ต้องคิดสืบสาวหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ความรู้สึกของเรา ถูกฉาบไว้ด้วยความคิด” บางครั้งเราจินตนาการด้วยการอุปมาอุปมัย แล้วบอกความรู้สึกของเราออกมาเป็นภาพ บางครั้งเราคิดด้วยข้อมูลความรู้ที่มี ผสมคลุกเคล้าเข้ากับความรู้สึกแล้วพูดออกมาเป็นบทวิเคราะห์ เราเฉไฉออกจากความรู้สึกที่แท้จริงอย่างไม่รู้ตัว “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังอยู่ท่ามกลางทะเลทราย” “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังได้รับประโยชน์จาก…” “ฉันรู้สึกว่า ผลงานครั้งนี้ยอดเยียมมากเลย…” เหล่านี้ ไม่ใช่ความรู้สึก ถึงแม้ว่าเราจะพยายามขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันรู้สึกว่า…”   ในขณะที่การเพ่งโทษไปที่ผู้อื่น ไปที่สิ่งอื่น ยิ่งห่างไกลการสัมผัสรับรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง “ฉันรู้สึกว่า เธอกำลังควบคุมฉัน” “ฉันรู้สึกว่า ถ้าจะให้ดีเธอควรแก้ไขเกี่ยวกับ…” “ฉันรู้สึกว่า อะไรก็ได้ แล้วแต่เธอ” ความรู้สึก คือ อะไรที่ง่ายกว่านั้น และ ตรงไปตรงมา เช่น ภูมิใจ รัก คิดถึง เป็นห่วง เหนื่อยใจ สับสน อึดอัด หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโห ตื่นเต้น ดีใจ มีความสุข มีทิศทางการสืบค้นเข้าหาภายในใจตนเอง เมื่อเราสัมผัสและสื่อสารถึงความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างซื่อตรง (identify and express feelings) […]

กระบวนกรในบทบาทผู้ให้คำปรึกษา : facilitator as counselor

ในวิถีจริงของกระบวนกร เมื่อกระบวนกรมีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนมากพอ รวมถึงเมื่อกระบวนกรมีความมั่นคงภายในตนเอง (self-awareness) จนสามารถประเมินสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ กระบวนกรผู้นั้นจะสามารถขยับขยายบทบาทของตัวเองออกไป จากการเป็นเพียง วิทยากรกระบวนการ (facilitator) ซึ่งโดยทั่วไปจะดำรงบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อยอดสู่การเป็นกระบวนกรนักบำบัด (facilitator as a therapist) ซึ่งอาจใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด (art therapy) เข้ามาในกระบวนการเรียนรู้ มากไปกว่านั้น อาจขยับขยายสู่บทบาทของการเป็นกระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา (facilitator as  a counselor) มีทักษะการฟังอย่างกรุณา (compassionate listening) และ อาจเชี่ยวชาญลึกซึ้งในโลกด้านในของมนุษย์ จนสามารถเป็นกระบวนกรผู้เยียวยา (facilitator as a healer) คลี่คลายปม (trauma) สำคัญๆ ที่เป็นอุปสรรคในชีวิตได้ งานเขียนนี้จะเขียนถึง “กระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา” โดยเขียนจากประสบการณ์งานกระบวนกรของผู้เขียน หลอมรวมเข้ากับทฤษฎีจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (counseling) ที่ได้เรียนรู้กับโค้ชจิ๊บ จารุวดี ปวรินทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษา (counseling) หมายถึง ขบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาใช้ความสามารถ และ คุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตของตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจได้เอง และ แก้ปัญหาการขัดแย้งทางอารมณ์ได้ (Tayler, […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

กระบวนกร สะท้อนธรรม สำหรับโค้ช: The Art of Living

งานครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการโค้ช การฟัง และ พื้นฐานของสติที่ดี ซึ่งเกื้อหนุนให้เกิดการสะท้อนร่วมกัน เกิดเป็นวงสนทนาแห่งสติได้ไม่ยาก การให้ห้องเรียนแรก คือ ตัวของผู้เรียนเอง จึงทำให้การเรียนรู้ลงสู่ฐานใจได้ง่าย บวกกับการเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเป็นมิตรกับความเงียบด้วยถ้อยคำว่า “เราคือส่วนหนึ่งของความเงียบ” ได้ช่วยลดการครุ่นคิดแบ่งแยกในระหว่างความเงียบ ผู้เรียนจึงดำรงอยู่ในความเงียบ ได้แบบลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่ได้ใคร่ครวญลงสู่ฐานใจ แทนที่จะพยายามทำลายความเงียบนั้น ปัญญาในวงสนทนาจึงเป็นอิสระ เกิดการเรียนรู้ที่ขยายจากห้องเรียนของตัวเอง สู่การเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนของแต่ละคน (Collective Intelligence) ปรากฏการณ์นี้ จะยังคงเกิดขึ้น แม้สิ้นสุดเวลาของ Workshop ไปแล้ว กระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการจับประเด็น ในช่วงที่ผู้เรียนรู้ Check-in บอกเล่าถึงความเข้าใจ และ ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับคำว่า “The Art of Living” สรุปได้คำสำคัญต่าง ๆ คือคำว่า “ครูกระบวนกร”, “สุนทรียสนทนา”, “อัตตา”, “ความเงียบ”, “ฐานใจ” และ “ความตาย” แล้วนำเอาคำต่าง ๆ ที่ได้มาจากช่วง Check-in มาเรียบเรียงเป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอบคุณห้องเรียนทุกห้อง […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

42.195 km ทุกก้าว คือ เส้นชัย : Bangkok Marathon 2015

เวลาตี 2 ของวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย. 58 ในขณะที่ทุกคนหลับอยู่ มีนักวิ่งกลุ่มหนึ่งออกตัว เพื่อพิชิตเป้าหมายการวิ่ง Full Marathon ระยะ 42.195 km ในการแข่งขัน Bangkok Marathon 2015 ผมได้เข้าร่วมประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ในครั้งนี้ด้วย   การวิ่งในช่วง 10 km แรก กับ 10 km สุดท้าย ให้ความรู้สึก ต่างกันลิบลับ 10 km แรก สนุก สบาย วิ่งชิวๆ ในขณะที่ 10 km สุดท้าย เจ็บปวด แทบคลาน แต่ก็เข้าไปใกล้เส้นชัยมากกว่า ถ้าให้แลกกลับไปเริ่มวิ่งใหม่ก็คงไม่เอา ถึงตรงนี้ ก็เหลือเพียงว่าจะสู้ต่อ หรือจะ “หยุดวิ่ง” !!! สมรภูมิระหว่าง ความคิดลบ และ ความคิดที่จะสู้ต่อ เกิดขึ้นในช่วง 10 km สุดท้าย ความคิดลบ บอกว่า หยุดวิ่งดีกว่า  “เพราะทำลายสถิติตัวเองแล้ว” “นี่มันไม่ใช่ระยะวิ่งของมนุษย์” “ไปเล่นกีฬาที่สบายๆดีกว่ามั้ย” […]

รักด้วยปัญญา : Love with Wisdom

ความรัก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาในโลก ทัชมาฮาล (สิ่งมหัศจรรย์ของโลก) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรักอันยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ว่ากันว่า สงคราม ก็เกิดจากการรักตัวกลัวตายเช่นกัน หากมองให้ใกล้ตัวขึ้นมาอีกหน่อย ความรักของคนหนุ่มสาว ก็มักประกอบด้วยความสุข ความทุกข์ คละเคล้าปนเป จนมีคำกล่าวว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย แท้จริงแล้วความรัก คือ อะไร ธรรมชาติของความรัก มี 4 ระดับ 1. รักด้วยสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ตาที่เคยมองเห็นว่า สติ๊กเกอร์ Line ชุดหนึ่ง น่ารักสวยงามมาก เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นว่าความน่ารัก ความสวยงาม ของสติ๊กเกอร์ Line ชุดนั้นลดน้อยลง ความน่ารักความสวยที่มองเห็นด้วยตานั้นไม่แน่นอน หูที่ฟังเสียงเพลงหนึ่งว่าไพเราะจับใจ แต่ก็เป็นไปไม่ได้ว่าคนทั้งโลกจะรับรู้เช่นเดียวกันนั้น ความไพเราะของเสียงนั้น ขึ้นอยู่การปรุงแต่งร่วมกับประสบการณ์ เสียงที่ว่าไพเราะไม่ใช่สิ่งที่มีตัวมีตนอยู่จริง บางคนชอบกลิ่นน้ำหอม แต่บางคนว่ากลิ่นดอกไม้หอมกว่า บางคนแพ้กลิ่นดอกไม้ก็ว่า ไม่มีกลิ่นดีกว่า […]