Tag Archives: beginners-mind

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

การปล่อยผ่านทางอารมณ์ : let it go

บางครั้งชีวิตก็โล่งโปร่งสบายเป็นปัจจุบัน บางครั้งชีวิตก็เหมือนจมอยู่กับอดีต จากเหตุการณ์บางอย่าง ความยากง่ายของการก้าวผ่านบางเหตุการณ์ดูยุ่งยากกว่าเหตุการณ์ธรรมดาทั่วไป หากต้องตกลงไปในห้วงอารมณ์ที่มีทีท่าจะเหนี่ยวนำชีวิตให้ถดถอย เราจะมีวิธีฟื้นคืนความสดใหม่ พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ได้อย่างไร งานเขียนนี้จะขอแนะนำทักษะที่เป็นกุญแจของการเรียนรู้ และ ปล่อยผ่านทางอารมณ์ (let it go) พิจารณาแยกแยะได้เป็น 5 ลำดับขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) จดจำอาการ ในขณะที่อารมณ์ปั่นป่วน อาจมีอาการโกรธเคือง ตัวสั่น ตัวเกร็ง ใจเต้นแรง ต่อต้าน คัดค้าน หักหาญ น้อยใจ เงียบ ปลีกตัว อิจฉา แก้ตัว ไม่มั่นใจ ซึมเบลอ กล้ามเนื้อบนใบหน้าหย่อน ไร้เรี่ยวแรง นอนไม่หลับ นิ่งอยู่กับที่ ไม่อยากทำอะไร บางทีเราก็เรียกรวมๆ อาการเหล่านี้ว่า “จิตตก” ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ความสุข และ การงาน สอง) ทบทวนเรื่องราว สิ่งที่ทำให้จิตใจของเราขมุกขมัวเต็มไปด้วยหมอกควันแห่งความคิดเชิงลบ ที่เหนี่ยวนำอารมณ์ของเราให้ถดถอย เกิดพฤติกรรมไม่สร้างสรรค์ เพราะถูกกระทบทางใจจากเรื่องราวบางอย่าง จากคนบางคน ที่มีรูปแบบซ้ำๆ […]

ไว้วางใจในธรรมชาติ : surrender to the nature

เราไว้วางใจในธรรมชาติมากแค่ไหน อาจหมายถึงความไว้วางใจ ที่จะออกเดินทางเยี่ยงนักจาริกหลายท่านที่พบกับชีวิตใหม่ ภายหลังการเดินทางโดยไม่พกเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในที่ที่ไม่คุ้นเคย การสื่อสารผ่านภาษาใจ ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ การเดินทางบนเส้นทาง แห่งความไว้วางใจในธรรมชาติ ในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การหมั่นดูแลเมล็ดพันธุ์ภายในของตนเอง บ่มเพาะพลังบวก ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายใน และ เฝ้าสังเกต เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ในมุมมองนั้น แม้อาจเป็นเหตุการณ์เดิม แต่เราจะพบว่า โอกาสดีๆ ของชีวิตนั้นมีมากมาย เหมือนโลกใบใหม่ ที่เต็มไปด้วยการชื่นชม ความสำนึกคุณ การขอบคุณ และ ความโชคดี ความหวังดี และ พยายามจัดแจงให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นทำอย่างนี้ ให้คนนี้ทำอย่างนั้น ในห้วงขณะที่ จิตใจของเรากำลังเจือปนอยู่ด้วยความอยากเสียเอง เท่ากับการเขย่าตะกอนภายในจิตใจของเราให้ขุ่นขึ้นมาแล้วดื่มกิน เราแสดงความคิดเห็นออกไปในขณะที่ใจร้อนรน การแสดงออกบนพื้นฐานเหล่านั้น อาจหมายถึง เรายังไม่ได้ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายในอย่างเพียงพอ เส้นทางชีวิต มีหลากหลายหนทาง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น ไว้วางใจในธรรมชาติแค่ไหน

การทำในสภาวะหนึ่ง : awareness and action

บันทึกการทำในสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หนึ่ง เต็มเปี่ยมกับปัจจุบัน ขณะทำ จะมองเห็น ซึมซาบผลสำเร็จที่บรรลุในทุกขณะ เห็นทุกการกระทำได้สิ้นสุดลงไป พร้อมผลลัพธ์ที่ไม่ต้องรอคอย เห็นแนวโน้มในปัจจุบัน ว่าคือความสำเร็จไปแล้ว ไม่ยึดติดในผล จึงไม่มีห่วงในอนาคต ไม่มีความต้องการสะสมของที่เกินพอดี ด้วยความกลัวในอนาคต  สอง มีความสุขกับการทำ ขณะทำ จะร่มรื่น ร่มเย็น มีความสงบในใจ มีความสุขขณะทำ ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น ไม่คิดเปรียบเทียบ ไม่คิดชิงชัง ร่างกายผ่อนคลาย ยิ้มได้ง่าย เป็นที่รัก น่าเข้าใกล้ สาม เป็นมิตรกับธรรมชาติ ขณะทำ จะเป็นประโยชน์ แม้เพียงเล็กน้อยแต่รอบด้าน ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อชุมชน และ ธรรมชาติแวดล้อม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ต่อต้านธรรมชาติ มีความลื่นไหล กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ การขอบคุณอดีต ช่วยให้ชีวิตเป็นปัจจุบัน เมื่อติดในอดีต จากความรู้สึกผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ที่ทำให้ใจของเรากลับคืนสู่ปัจจุบันไม่ได้ ท่องคาถา this too shall pass (แล้วมันจะผ่านไป) […]

อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ : the power of spirituality

งานเขียนนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้ จากการได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กับอาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ในหัวข้อ “อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ” ที่สวนอาศรมวงศ์สนิท ตั้งแต่วันที่ 16-18 กันยายน 2559 Body Scan การเน้นกลับมาดูแลฐานกายเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างความคิดที่มากมาย ปรับผ่อนความเครียด ผ่านทางร่างกาย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนกลางลำตัว และ ส่วนใต้ก้นกบลงไป รักตัวเองให้ได้ก่อนสิ่งอื่นใด ด้วยการกลับมาดูแลร่างกายตัวเองให้ผ่อนคลาย สมดุล และ มั่นคง “ขมิบก้น แขม่วท้อง หายใจเข้าลึก…ให้ถึงก้นกบ หายใจออก… ผ่อนคลายส่วนล่าง ส่วนกลาง ส่วนบน รับรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว จากการหายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง” Original Mind จิตที่สดใหม่ หรือ จิตผู้เริ่มต้น (beginner’s mind) เสมือนฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]