Category Archives: 05 Wisdom

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow

ก่อนจะวุ่น ทำอะไรได้บ้างในวันที่ว่าง: What to Do When Work Is Slow เวลาตารางงานเต็ม ๆ ชีวิตก็คึกคักเหมือนรถยนต์ที่เร่งเครื่องเต็มพิกัดด้วยเกียร์สูงสุด แต่พอจบโปรเจคใหญ่ หรือตารางงานถูกเลื่อนแบบทันทีทันใด ตารางงานก็จะว่างไปเฉย ๆ ชีวิตเหมือนรถยนต์ที่ผ่อนความเร็วลงทันที แต่ลดเกียร์ลงมายังไม่ทัน จะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าจังหวะชีวิตช้าลง พออยู่เฉย ๆ แล้วรู้สึกชีวิตไม่ถูกเติมเต็ม วันนี้ มีเทคนิคจาก Harvard Business มานำเสนอ ดังนี้ครับ 1) กำหนดแผนงาน (Make a plan) การมีแผน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไร แต่การมีแผนในแต่ละวันช่วยลดปริมาณการเสพข้อมูลข่าวสารที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ดีหากตื่นนอนมา เราจะกำหนดสิ่งสำคัญ 2-3 อย่าง ที่ตั้งใจจะทำในวันนี้ 2) พัฒนาตนเอง (Develop yourself) ทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ปกติแล้วเราจะไม่มีเวลาทำ เช่น อัพเดทเอกสารประวัติการทำงาน อ่านหนังสือที่ชอบ เรียนออนไลน์ คุยกับเพื่อนเก่า คุยกับเจ้านายเก่า เพื่อเรียนรู้ […]

โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น – work practice play and learn

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ และบรรดาหลวงพี่ที่หมู่บ้านพลัม ให้แนวทางในการสังเกตสมดุลของชีวิตของเรา จากองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น เราสามารถสังเกตได้อย่างง่าย ๆ จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ เช่น การออกกำลังกายสนุก ๆ โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการเล่น (Play) แต่หากการออกกำลังกายนั้นมีความจริงจังขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา ก็ดูเหมือนว่า เรากำลังเรียนรู้ (Learn) อยู่เช่นกัน ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้ ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน (Work) ผมกำลังทำหน้าที่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ แต่หากช่วงเวลาหนึ่ง ผมได้กลับมารู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของมือ รู้สึกถึงลมหายใจ หรือได้ยินเสียงความคิดภายในใจอยู่ การเขียนในขณะนี้ ก็คือการบ่มเพาะสติ (Practice) ด้วยเช่นกัน การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น แท้จริงแล้วอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับว่า เราวางใจกับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นอย่างไร การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน หรือว่าการเล่น วันนี้ เราอยากเพิ่มองค์ประกอบอะไรให้กับชีวิตดีครับ 🥳😁🌸🎉

รู้ลมหายใจโดยไม่บังคับ – Observing the breath without controlling

การฝึกตามรู้ลมหายใจ โดยเริ่มต้น ความพยายามในการออกแรงหายใจเข้า จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจเข้าเล็กน้อย เช่นเดียวกันความพยายามในการออกแรงให้หายใจออก จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจออกเล็กน้อย นี่คือการเริ่มต้นที่งดงามในการฝึกฝนเพื่อการรู้สึกตัว บางทีเราอาจเรียกการรู้เช่นนี้ว่า “การกำหนดรู้” สิ่งนี้ ช่วยลดความเครียดหรือความคิดที่กำลังฟุ้งซ่านให้จางคลายได้ “หายใจเข้า… หายใจออก…” เมื่อฝึกฝนการรู้ลมหายใจไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่วงเวลาที่ความพยายามหายไป “การตามรู้ลมหายใจ” หรือ “การกำหนดรู้ลมหายใจ” จะแปรเปลี่ยนเป็น “การรู้ลมหายใจแบบซื่อ ๆ” อาจมาจากภาษาอีสานว่า… “ฮู่ซือ ๆ บ่ต้องเฮ็ดหยัง” สักแต่ว่ารู้ ราวกับว่านั่นมันไม่ใช่เรื่องของเรา เหมือนเรากำลังดู “ฮิปโปโปเทมัส” หายใจอยู่ เรื่องการหายใจเป็นเรื่องของฮิปโป ไม่ใช่เรื่องของเราแต่เรารู้อยู่ บางทีเราก็อาจมองเห็นร่างกายที่กระเพื่อม ๆ อยู่ด้วยลมหายใจ ไม่ใช่ร่างกายของเรา แต่เป็นลูกโป่งกลม ๆ ที่พองเข้าพองออกด้วยลม นี่คือการฝึกฝนที่เกื้อกูลให้อารมณ์ดี ดั่งผึ้งเยือนบุปผา ผมประทับใจเทศนาธรรม เรื่อง ดั่งผึ้งเยือนบุปผา (The Bee visits Flowers เทศนาธรรมผ่าน Zoon โดย หลวงพี่ Dat Nguyen พระธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัม […]

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

“ทำให้ง่าย” หัวใจของ Startup ที่ปรับใช้ได้ในชีวิต – Startup Concept

การทำความเข้าใจกระบวนการเติบโตที่รวดเร็วของ “Startup” ช่วยให้องค์กรทั้งเล็กและใหญ่ ประหยัดทรัพยากรไปได้มากเลยครับ โดย 2 สิ่งที่เป็นหัวใจของ Startup ก็คือ Repeatable และ Scalable 1. Repeatable Repeatable คือ สามารถใช้ซ้ำได้ ถ้ามองจากมุมลูกค้า จะหมายถึง สินค้าและบริการที่ออกแบบมา ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เช่น เครื่องดื่มที่ดื่มแล้วติดใจ เมื่อลูกค้ากระหายน้ำ ก็ย่อมซื้อซ้ำอีกแน่นอน ในขณะที่สินค้าและบริการบางประเภท ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อซ้ำ เช่น Application ที่ซื้อเพียงครั้งเดียวจบ เป็นต้น ดังนั้น หากอยากให้ Application มีสิ่งที่เรียกว่า “Repeatable” เราก็ต้องออกแบบให้ภายในบริการนั้น มีสิ่งที่ลูกค้าจะซื้อซ้ำได้ เช่น บริการ Sticker Line จะมี Sticker Shop ที่สามารถเพิ่มแบบใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เป็นต้น Repeatable ในมิติภายในองค์กร ถ้ามองว่าตัวเราเอง ออกแบบกระบวนการเพื่อตัวเราหรือทีมของเรา […]

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

5 หนทาง ต้านทานการติดมือถือ: 5 Ways to Counteract Your Smartphone Addiction

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งความหลงใหลทางเทคโนโลยี และการเสพติดมือถือ เราอาจรู้สึกว่าไม่สามารถไปไหนได้ถ้าไม่มีมือถือ เกิดความกังวลใจหากไม่สามารถเช็คอีเมล และถ้าเราไม่สามารถเช็คข่าวใน Social ได้ ก็จะเกิดความกลัวขึ้นมาว่า กำลังตกขบวนหรือพลาดอะไรไปรึป่าว เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปนั้น ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และความสัมพันธ์ของเราแย่ลง เช่นนี้แล้ว เราจะรักษาผลประโยชน์ และลดผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ได้มาจากงานวิจัย 1. ใช้การ “cc” และ “reply all” อย่างรอบคอบ เราส่งอีเมลออกไปมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับกลับมามากเท่านั้น การ “cc” อีเมลถึงทุกคนช่วยในการทำงานร่วมกัน แต่ก็สร้างปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการกดตอบกลับทั้งหมด “reply all” พร้อมส่งข้อความที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับทุกคนจริง ๆ ก็จะกลายเป็นการส่งต่อภาระที่ไม่จำเป็นให้ทุกคนต้องเช็คอีเมลบ่อย ๆ เกินความจำเป็น ดังนั้น เราจึงควร “cc” อย่างเหมาะสม ส่งถึงคนที่เกี่ยวข้องจริง ๆ เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการตอบกลับทั้งหมด “reply all” เว้นแต่ว่าเนื้อความนั้น เป็นประโยชน์เกี่ยวข้อง จำเป็นกับทุกคนจริง ๆ 2. ปรับความคาดหวัง […]

สมรรถนะหลักของ Facilitator : IAF Core Competencies

สมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitators) ตามมาตรฐานของ IAF (IAF Core Competencies)                IAF ย่อมาจาก The International Association of Facilitators คือ องค์กรวิชาชีพระดับโลกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศิลปะและการฝึกปฏิบัติในการเอื้ออำนวยอย่างมืออาชีพ ผ่านวิธีการแลกเปลี่ยน, การเติบโตอย่างมืออาชีพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ เครือข่ายของเพื่อนร่วมงาน                กรอบสมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายปี โดย IAF ด้วยการสนับสนุนของสมาชิกของสมาคมและผู้เอื้ออำนวยจากทั่วโลก ถูกทดลองใช้ผ่านเวลามาอย่างยาวนาน ประกอบด้วยพื้นฐานทางทักษะ, ความรู้ และ พฤติกรรมที่ผู้เอื้ออำนวยต้องมี เพื่อให้การเอื้ออำนวยบรรลุผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาก แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ A1. พัฒนาความร่วมมือในการทำงาน A2. ออกแบบและปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า A3. บริหารจัดการกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่ม B วางแผนกระบวนการกลุ่มอย่างเหมาะสม B1. เลือกวิธีการและกระบวนการอย่างชัดเจนซึ่ง: B2. เตรียมเวลาและพื้นที่เพื่อรองรับกระบวนการกลุ่ม […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]