Category Archives: การสื่อสาร

dialogue,connect, rapport, non-verbal skill, secure attachment, team learning, team building, …

extra : oneness, wholeness, inter-being, …

คุยกันแบบอ่างปลา ‘Fishbowl’ ในแอพ ‘Clubhouse’

แอพ Clubhouse กระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญสนุกกับการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนรู้ที่จะได้เข้าไปรับฟังสาระดี ๆ แบบฟรี ๆ นอกจากนี้ Moderator ประจำห้องใน Clubhouse ยังอาจเลือกประยุกต์รูปแบบการนำเสนอ โดยรันกระบวนการคุยกันแบบอ่างปลา หรือ Fishbowl ได้อีกด้วย Fishbowl คือ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการสนทนา เมื่อมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก โดยแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม เรียกว่า “วงใน” และ “วงนอก” ผู้เข้าร่วมที่อยู่ใน “วงใน” ทำหน้าที่เป็นผู้แบ่งปัน ส่วนผู้เข้าร่วมที่อยู่ใน “วงนอก” จะเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยเปิดพื้นที่และช่วงเวลาให้เกิดการสลับบทบาทได้ การรันกระบวนการ Fishbowl 1. เปิดประเด็นใหม่ Moderator จะตั้งประเด็นในแต่ละรอบของการสนทนา โดยประเด็นอาจเกิดจากการต่อยอดสาระจากการแบ่งปันในรอบก่อนหน้า หรือเกิดจากการเสนอและยอมรับของสมาชิกในห้องสนทนา หลังจากได้ประเด็นแล้ว รอสัก 1-2 นาที เพื่อให้สมาชิกทุกคนในห้องสนทนาได้ใคร่ครวญเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เพื่อการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมแบ่งปันใน “วงใน” หรือไม่ 2. เชิญชวนผู้แบ่งปัน Moderator เชิญชวนให้คนที่สนใจได้สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นผู้ร่วมแบ่งปันใน “วงใน” […]

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

ศิลปะการโน้มใจ สู่การเปลี่ยนแปลง – Persuade People to Change Their Behavior

เมื่อเกิดความคิดว่า ‘อยากเปลี่ยนคนอื่น’ นั่นคือ สัญญาณให้เรา ‘ทบทวนตนเอง’ บ่อยครั้ง การอยากเปลี่ยนคนอื่น นั่นอาจเพราะ ความอดทนของเราต่ำลง ให้เวลากับตัวเองสักนิดเพื่อทบทวนเจตนาของตนเอง ในฐานะหัวหน้างาน ถ้าเจตนาของเรามีความชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์กับองค์กร จึงควรตัดสินใจโน้มน้าวใจทีมงาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อไป โดยธรรมชาติมนุษย์มีความสุขกับการได้เลือก เช่น ได้เลือกซื้อขนมในแบบที่ชอบ ได้เลือกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยตนเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อถูกออกคำสั่งหนัก ๆ จะรู้สึกเหมือนถูกควบคุม ทำให้ออกอาการต่อต้าน ฝ่าฝืน หรือหันเหไปทำด้านตรงข้าม เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรจะโน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรดี บทความนี้ ขอนำเสนอเทคนิคจาก Harvard Business Review ประกอบด้วย 3 เทคนิค ดังต่อไปนี้ครับ 1. ใช้เจตนาของเขาเอง เทคนิคข้อนี้ คือ การชี้จุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เขาทำ หรือจุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาอยากให้คนอื่นทำ กับสิ่งที่เขาทำเองจริง ๆ เช่น หัวหน้างานบอกกับทีมงานว่า “ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สวม Mask เพื่อป้องกันไม่ให้ COVID19 ส่งผลกระทบต่องานขององค์กรของเรา” […]

5 หนทาง ต้านทานการติดมือถือ: 5 Ways to Counteract Your Smartphone Addiction

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งความหลงใหลทางเทคโนโลยี และการเสพติดมือถือ เราอาจรู้สึกว่าไม่สามารถไปไหนได้ถ้าไม่มีมือถือ เกิดความกังวลใจหากไม่สามารถเช็คอีเมล และถ้าเราไม่สามารถเช็คข่าวใน Social ได้ ก็จะเกิดความกลัวขึ้นมาว่า กำลังตกขบวนหรือพลาดอะไรไปรึป่าว เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปนั้น ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และความสัมพันธ์ของเราแย่ลง เช่นนี้แล้ว เราจะรักษาผลประโยชน์ และลดผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ได้มาจากงานวิจัย 1. ใช้การ “cc” และ “reply all” อย่างรอบคอบ เราส่งอีเมลออกไปมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับกลับมามากเท่านั้น การ “cc” อีเมลถึงทุกคนช่วยในการทำงานร่วมกัน แต่ก็สร้างปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการกดตอบกลับทั้งหมด “reply all” พร้อมส่งข้อความที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับทุกคนจริง ๆ ก็จะกลายเป็นการส่งต่อภาระที่ไม่จำเป็นให้ทุกคนต้องเช็คอีเมลบ่อย ๆ เกินความจำเป็น ดังนั้น เราจึงควร “cc” อย่างเหมาะสม ส่งถึงคนที่เกี่ยวข้องจริง ๆ เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการตอบกลับทั้งหมด “reply all” เว้นแต่ว่าเนื้อความนั้น เป็นประโยชน์เกี่ยวข้อง จำเป็นกับทุกคนจริง ๆ 2. ปรับความคาดหวัง […]

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]

เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ : Story Telling

ทุกวันนี้ ยังจำเพื่อนสมัยวัยเด็กได้ การจำได้นี่มาพร้อมกับสถานที่ ผู้คน ภาพ แสง สี เสียงต่าง ๆ ที่อยู่ในวีรกรรมของเรา นั่นเพราะธรรมชาติของเราเกือบทุกคน สามารถจดจำจากเรื่องเล่า ได้มากกว่า ยาวนานกว่า การท่องจำจากข้อมูล การเล่าเรื่อง (Story Telling) จึงน่าสนใจ เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ เทคนิคการเล่าเรื่องเหล่านี้ เราอาจใช้อยู่แล้วแบบที่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณการเล่าเรื่องนี้ อาจเกิดจากการดูหนังมา หรือ การอ่านนิยายมาหลาย ๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่ดี หากเกิดความรู้ที่ชัดเจนว่า อย่างน้อยมีเทคนิคการเล่าเรื่องถึง 8 แบบ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ใน 3 บรรทัด จะได้เอาเวลาไปฝึกเล่ากันครับ Monomyth (Hero’s Journey) เล่าถึงการเดินทางของตัวละคร ที่ออกเดินทางแล้วพบกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย จนได้เรียนรู้ และ หวนกลับคืนมาบอกเล่า ถึงประสบการณ์ทางปัญญา The Mountain คือ การเล่าที่ค่อย […]

การทำงานร่วมกัน 3 ระดับ : The Three Levels of Collaboration

การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันในทีมตามหน้าที่ (Functional Teams) การทำงานร่วมกันในโครงการที่มีกำหนดเวลา (Time-limited Project Teams) หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน (Cross-functional Management Teams) เมื่อการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงาน และ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมด้วย งานเขียนนี้ จะนำเสนอแนวคิดของการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายตามบริบทของการทำงานร่วมกัน พร้อมกันนี้จะได้ให้แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกันใน 3 ระดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. Independent Collaboration มีเป้าหมายเหมือนกัน มีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมาย พ้นจากสภาวะการเกี่ยงงาน ต่างคนต่างทำอย่างอิสระ ทุกคนทำงานครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ สื่อสารกันน้อย ผลรวมของทีม เกิดจากการรวมผลลัพธ์ของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น Dealers จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ต่างคนต่างขาย และเมื่อนำยอดขายของทุก Dealers มารวมกัน ก็กลายเป็นยอดขายรวมของสินค้ายี่ห้อนั้น  อาศัยทักษะการฟังในระดับ I-in-it คือ การฟังแบบจับประเด็นได้ เพื่อให้ทราบรายละเอียดงานของตนเอง และ […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Update : Facilitative Leadership Chapter 3

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model U : Update หรือ การปรับปรุงสร้างความเข้าใจให้เป็นปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและวิธีการร่วมกัน ประกอบด้วยทัศนคติเชิงบวก (Positive Outlook) เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และเห็นความเป็นไปได้ในอนาคต พร้อมให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) และใช้การโค้ช (Coaching) เพื่อร่วมกันกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์แผนการปฏิบัติงานในก้าวต่อไป แนวทางการปรับปรุงความเข้าใจให้เป็นปัจจบัน (Update) จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้นำได้กำหนดกฎและให้แนวทางกับทีมงานอย่างสมดุล (How to Establish…) มีสติในบทบาทของตนเอง เพื่อใส่ใจและช่วยเหลือทีมงานอย่างเหมาะสม (How to Patronize…) โดยในกระบวนการปรับปรุงความเข้าใจนี้ ผู้นำจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใจในการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างความพร้อมให้กับทีมงาน คลี่คลายความกังวล ความเบื่อหน่าย และ ความสงสัย ผู้นำจำเป็นต้องมีสมาธิอย่างเต็มเปี่ยมและเหนี่ยวนำให้ทีมงานเกิดสมาธิเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการปรับปรุงความเข้าใจ คือ การเรียนรู้แลกเปลี่ยน […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]