Category Archives: 01 Self-awareness

1. Emotional self-awareness
2. Accurate self-assessment
Emotional strengths and weakness
3. Self-confidence
Understanding your own emotions and the emotions of others and using that knowledge, leads to workplace outcomes.
.
Awareness 4 (purpose/suitability/the domain/reality)

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System พื้นฐานการเยียวยา (Healing) ร่วมกับการภาวนาให้ใจเป็นกลาง ช่วยให้เราสามารถสร้างความกลมเกลียวภายในจิตใจ แม้ในวันที่อารมณ์ท่วมท้น เราก็จะสามารถยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจของเราได้ รวมถึงเมื่อเราเป็นผู้ที่รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น เราก็จะสามารถมอบความเข้าใจเช่นนี้ให้กับผู้ที่อยู่ตรงหน้าของเรา เกื้อกูลให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยพื้นที่ปลอดภัยนั้น สามารถเกิดได้จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนในเรื่องที่เขาสนใจ เช่น การดูแลสุขภาพ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแบบที่ชอบ เป็นต้น ในส่วนของการเยียวยารักษาจิตใจ หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ เรียกว่า IFS (Internal Family System) หรือ “ระบบครอบครัวภายใน” IFS แบ่งระบบภายในจิตใจออกเป็นหลายตัวตน (Parts) โดยมองว่าทุกตัวตนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ไม่มีตัวตนใดที่เลวร้าย แต่ละตัวตนภายในตัวเราล้วนต้องการผลเชิงบวกแก่ตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละตัวตนเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ความต้องการเหล่านั้นจึงส่งผลต่อตัวตนอื่น ๆ ด้วย เป้าหมายของการสร้างความกลมเกลียวภายใน จึงไม่ใช่การกำจัดตัวตนใดตัวตนหนึ่งออกไปจากชีวิต แต่ช่วยให้แต่ละตัวตนนั้นได้พบบทบาทที่เหมาะสม เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีภายนอกด้วย IFS หรือ ระบบครอบครัวภายใน ประกอบไปด้วย Self ซึ่งในที่นี้หมายถึง สภาวะใจที่เป็นกลาง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยตัวตนต่าง […]

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling)

อารมณ์ และ ความรู้สึก ต่างกันอย่างไร (Emotion and Feeling) คำว่า “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก บางครั้งผมใช้แทนกันเลย แต่วันนี้ไปพบเจอการให้ความหมายไว้อย่างน่าสนใจจาก Yale Center for Emotional Intelligence โดย Marc Brackett, Ph.D. และ Robin Stern, Ph.D. ขอนำมาแบ่งปัน สำหรับคนที่สนใจใคร่รู้เรื่อง “อารมณ์” ในเชิงความหมายครับ  Emotions หรือ อารมณ์ คือ การตอบสนองสั้น ๆ จากสิ่งที่มากระตุ้น (ทั้งความจริงและจินตนาการ) ส่งผลต่อความคิด ร่างกาย การแสดงออก และพฤติกรรม  Feelings หรือ ความรู้สึก คือ ประสบการณ์ส่วนตัวทางอารมณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีความซับซ้อน และอาจเกิดจากการผสมผสานหลายอารมณ์ เช่น รู้สึกรักและเขินอาย เป็นต้น  Moods […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น – work practice play and learn

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ และบรรดาหลวงพี่ที่หมู่บ้านพลัม ให้แนวทางในการสังเกตสมดุลของชีวิตของเรา จากองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น เราสามารถสังเกตได้อย่างง่าย ๆ จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ เช่น การออกกำลังกายสนุก ๆ โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการเล่น (Play) แต่หากการออกกำลังกายนั้นมีความจริงจังขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา ก็ดูเหมือนว่า เรากำลังเรียนรู้ (Learn) อยู่เช่นกัน ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้ ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน (Work) ผมกำลังทำหน้าที่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ แต่หากช่วงเวลาหนึ่ง ผมได้กลับมารู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของมือ รู้สึกถึงลมหายใจ หรือได้ยินเสียงความคิดภายในใจอยู่ การเขียนในขณะนี้ ก็คือการบ่มเพาะสติ (Practice) ด้วยเช่นกัน การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น แท้จริงแล้วอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับว่า เราวางใจกับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นอย่างไร การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน หรือว่าการเล่น วันนี้ เราอยากเพิ่มองค์ประกอบอะไรให้กับชีวิตดีครับ 🥳😁🌸🎉

รู้ลมหายใจโดยไม่บังคับ – Observing the breath without controlling

การฝึกตามรู้ลมหายใจ โดยเริ่มต้น ความพยายามในการออกแรงหายใจเข้า จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจเข้าเล็กน้อย เช่นเดียวกันความพยายามในการออกแรงให้หายใจออก จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจออกเล็กน้อย นี่คือการเริ่มต้นที่งดงามในการฝึกฝนเพื่อการรู้สึกตัว บางทีเราอาจเรียกการรู้เช่นนี้ว่า “การกำหนดรู้” สิ่งนี้ ช่วยลดความเครียดหรือความคิดที่กำลังฟุ้งซ่านให้จางคลายได้ “หายใจเข้า… หายใจออก…” เมื่อฝึกฝนการรู้ลมหายใจไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่วงเวลาที่ความพยายามหายไป “การตามรู้ลมหายใจ” หรือ “การกำหนดรู้ลมหายใจ” จะแปรเปลี่ยนเป็น “การรู้ลมหายใจแบบซื่อ ๆ” อาจมาจากภาษาอีสานว่า… “ฮู่ซือ ๆ บ่ต้องเฮ็ดหยัง” สักแต่ว่ารู้ ราวกับว่านั่นมันไม่ใช่เรื่องของเรา เหมือนเรากำลังดู “ฮิปโปโปเทมัส” หายใจอยู่ เรื่องการหายใจเป็นเรื่องของฮิปโป ไม่ใช่เรื่องของเราแต่เรารู้อยู่ บางทีเราก็อาจมองเห็นร่างกายที่กระเพื่อม ๆ อยู่ด้วยลมหายใจ ไม่ใช่ร่างกายของเรา แต่เป็นลูกโป่งกลม ๆ ที่พองเข้าพองออกด้วยลม นี่คือการฝึกฝนที่เกื้อกูลให้อารมณ์ดี ดั่งผึ้งเยือนบุปผา ผมประทับใจเทศนาธรรม เรื่อง ดั่งผึ้งเยือนบุปผา (The Bee visits Flowers เทศนาธรรมผ่าน Zoon โดย หลวงพี่ Dat Nguyen พระธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัม […]

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

ปรับองค์กรให้คล่องตัว ด้วยทีมแห่งสติ – Mindful Team

การทำงานร่วมกันในยุคสมัยใหม่ ที่เกื้อกูลให้องค์กรของเรา สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ด้วยการจัดทีมแห่งสติ (Mindful Team) ขึ้นมาแบบเฉพาะกิจ เพื่อขับเคลื่อนแต่ละโปรเจคร่วมกันจนสำเร็จ โดยขอเรียนเสนอรายละเอียด ดังต่อไปนี้ครับ ทีมแห่งสติ ประกอบด้วย 3 บทบาท 1. Mindful Mainbody คือ ผู้ที่รับผิดชอบหลักในโปรเจค มีความเข้าใจลูกค้า และร่วมจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยคำว่า ‘Mainbody’ ช่วยให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเดียวกันกับทีมงาน ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของงานแต่เพียงผู้เดียว ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้การทำงานร่วมกันมีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน 2. Mindful Master คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator นำวงสนทนา รวมถึงคอยให้คำปรึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงานทุกคน โดยมุ่งเน้นขจัดอุปสรรคในการทำงานจากภายในจิตใจก่อนเป็นสำคัญ และเอื้ออำนวยให้กระบวนการทำงานร่วมกันเกิดความไหลลื่น และได้พัฒนาทั้งการทำงานและจิตใจไปพร้อมกันในระหว่างการทำงาน 3. Mindful Member คือ สมาชิกทุกคนในทีม ที่มาช่วยกันทำงานด้วยความรู้สึกว่าเป็นร่างกายเดียวกัน ทุกคนจึงถูกมองเห็นและเห็นคุณค่าในตนเอง ตระหนักรู้ถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง ทำหน้าที่ของตัวเองในขณะที่พร้อมเกื้อกูลการทำงานของผู้อื่นในทีมด้วย โดยในแต่ละทีมจะมีสมาชิกครบทุกความเชี่ยวชาญ เช่น 4-5 คน เพียงพอให้สามารถจบโปรเจคกันได้เองในทีม เพื่อลดการทำงานแบบไซโล ที่ใช้เวลาประสานงานระหว่างฝ่ายค่อนข้างมาก […]

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

ภาระงานล้นมือ แก้อย่างไร ก่อนหมดไฟ – Manage your workload before burnout

ปกติเวลาภาระงานล้นมือ เราสามารถสังเกตได้จากว่าชีวิตมีเวลาพอที่จะเรียนรู้พัฒนาตัวเองอย่างอิสระรึป่าว โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าเจอภาระงานล้นมือจะท่องคาถานี้ครับ “ทำให้งานง่ายมอบหมายงานบอกผ่านบ้างปล่อยวางผล” 1. ทำให้งานง่าย จัดลำดับความสำคัญของงาน ด้วยการตัดงานที่ตัดได้ออกไปก่อน (Eliminate) เช่น การอ่าน News Feed หรืองานบันเทิงเริงใจต่าง ๆ จากนั้นก็มาดูว่างานไหนพอจะจัดการงานด้วยระบบอัตโนมัติหรือใช้เทคโนโลยีช่วยได้บ้าง (Automate) จนที่สุดแล้วค่อยมาดูว่าอะไรบ้างที่ต้องทำจริง ๆ ถ้างานยาก ก็ต้องแบ่งงานให้เป็นงานเล็ก ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าทำได้ง่ายขึ้น 2. มอบหมายงาน เวลาเรามอบหมายงานก็ดูง่าย ๆ 3 อย่าง คือ (หนึ่ง) คนรับงานเขาเข้าใจงานทำงานนั้นเป็นรึป่าว (สอง) คนรับงานรู้สึกกับงานอย่างไร เต็มใจทำรึป่าว (สาม) คนรับงานเขามีสุขภาพร่างกายที่พร้อมจะทำรึป่าว ข้อสามนี้สำคัญที่สุด ช่วงนี้ก็ต้องพิจารณาตัวเองเหมือนกัน ว่าควรรับงานมาทำมากแค่ไหนจึงจะพอดี 3. บอกผ่านบ้าง ข้อนี้เหมือนง่าย แต่ทำจริงไม่ง่ายเลย จะเกิดอาการเกรงอกเกรงใจ ไม่กล้าปฏิเสธงาน ถึงที่สุดแล้วอาจต้องตัดสินใจปฏิเสธงานไปบ้าง เพื่อให้เกิดทางออกใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่า หากยื้องานไว้ทำเอง แต่กลับทำไม่ไหวอาจจะกลายเป็นผลเสียกับผู้อื่นได้ 4. ปล่อยวางผล […]