Tag Archives: leadership

Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0

Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0 Digital Transformation (DX) คือ การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเท่าทัน.และเนื่องจาก DX เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ทุกองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง DX สำหรับความหมายโดยละเอียดของ DX สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ Digital Transformation (DX) คือ อะไร สำหรับองค์กรในภาคอุตสาหกรรม นอกจากคำว่า Digital Transformation แล้ว ยังมีคำว่า Industry 4.0 หรือ อุตสาหกรรม 4.0 อีกด้วย แล้ว 2 สิ่งนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อุตสาหกรรม ได้จัดแบ่งเส้นทางพัฒนาการเอาไว้เป็น 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุค 1.0 คือ ใช้เครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องทอผ้า ยุค 2.0 คือ ผลิตครั้งละมาก […]

Digital Transformation (DX) คืออะไร

Digital Transformation (DX) คืออะไร          Digital Transformation ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือสิ่งที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างต้องเผชิญ และเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดในการติดกระดุมเม็ดแรก จึงจำเป็นต้องเข้าใจในรากฐานของนิยามความหมาย เพื่อให้สร้างสรรค์วิธีการได้อย่างอิสระ และเมื่อศึกษามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบว่า “Digital Transformation” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “DX” มีความหมายที่เฉพาะตัว เราพบว่า “DX ไม่เท่ากับ Technology” และ “DX ไม่เท่ากับ Transformation” แล้วจริง ๆ แล้ว DX คือ อะไร 1. Digital Transformation ไม่เท่ากับ Technology          ความเข้าใจที่ว่า DX คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน จริง ๆ แล้ว DX คือ การมองเห็นว่าเทคโนโลยีได้มาเปลี่ยนแปลงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในธุรกิจ ความคาดหวังของลูกค้า พันธมิตร […]

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture จากงานวิจัยของ Linkedin พบว่า ครึ่งหนึ่งในบรรดาทักษะที่จำเป็นที่สุด เป็นทักษะใหม่ หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน คุณจะไม่พบทักษะเหล่านี้อยู่ในรายการของทักษะที่จำเป็น นั่นแสดงให้เห็นว่า คนทำงานในปัจจุบัน จำเป็นต้องเพิ่มทักษะใหม่ให้กับตัวเองอีกเป็นอย่างมาก ในฐานะองค์กรการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดมีขึ้น จึงมีความสำคัญ และต่อไปนี้ คือ 4 แนวทางในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีขึ้นในองค์กร หนึ่ง) มีรางวัลให้กับการเปิดใจ โดยการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการมีความรู้มากขึ้นแต่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการเปิดใจยอมรับ กล้าแสดงความคิดเห็น แม้จะนำไปสู่ความเห็นต่างก็ตาม การให้รางวัลที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ได้ สอง) ให้ข้อเสนอแนะที่เปิดใจ โดยปกติทุกคนจะไม่รู้ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ แต่ก็ยากที่จะเปิดรับต่อคำแนะนำจากใคร ๆ ที่ชี้ชัดถึงข้อจำกัดภายในตนเอง ดังนั้น การให้ข้อเสนอแนะต่อกันอย่างชี้ชัดไม่บิดพริ้วจึงคือคุณค่าที่แท้จริง เสมือนเป็นการมอบของขวัญอันล้ำค่า ในขณะเดียวกัน ผู้ให้ข้อเสนอแนะก็จำเป็นต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่นำไปสู่การเปิดใจยอมรับด้วย สาม) มีผู้นำที่เปิดใจ หากผู้นำอยากให้ทีมงานเป็นนักอ่าน ผู้นำก็ต้องเป็นนักอ่านและแบ่งปันหนังสือดี ๆ ให้กัน หากผู้นำอยากให้ทีมงานเรียนรู้ทักษะใหม่ ผู้นำก็ต้องอาสาทำงานใหม่ ๆ กล้าออกจากพื้นที่สบาย […]

ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator

ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) ได้ให้ความหมายของ คนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Workers) ว่าคือบุคลากรที่รู้เกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังทำ มากกว่าสิ่งที่หัวหน้างานของเขารู้ โดยในปัจจุบัน คนเก่งที่รู้งาน มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาวะผู้นำแบบเดิมที่สั่งการและควบคุมบุคลากรจากบนลงล่าง (Top-down) ตามโครงสร้างขององค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchy) จึงเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คำถามสำหรับผู้นำในวันนี้จึงคือ “จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้สมาชิกในทีมบรรลุเป้าหมายของเขา ในขณะที่ผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญมากกว่าทีมงาน” อลัน มูลัลลี่ CEO ของฟอร์ด มอเตอร์ (2006-2014) แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย (The Leader as Facilitator) มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย (The Leader as Boss) โดยเฉพาะเมื่อนำคนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Worker) การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย มาเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดและโปร่งใส กระตุ้นให้สมาชิกในทีมสามารถประเมินผลงานตนเองและเปิดเผยได้อย่างซื่อตรงโดยปราศจากความกลัวหรืออับอาย เมื่อสามารถรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงจึงสามารถช่วยกันหาทางออกได้ สิ่งนี้พูดง่ายแต่ทำจริงไม่ง่าย ต่อไปนี้คือตัวอย่างการบริหารจัดการของ อลัน […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Patronize : Facilitative Leadership Chapter 2

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model P : Patronize เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model โดยเริ่มต้นจากการอุปถัมภ์ค้ำจุน ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จนในที่สุด ค่อยๆ ลดการให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนจากภายนอก แต่ยังคงการเชื่อมโยงถึงกันผ่านความเข้าใจ ให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก ฝึกฝน และ ลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (Empower) ได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่ผลจากรางวัล หรือการลงโทษ เพื่อยกระดับความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นจากภายในจิตใจ (Responsibility) อุปมาเหมือนการฝึกขี่จักยานด้วยการมีล้อเสริม ค้ำยันซ้ายขวา เพื่อช่วยในการทรงตัว เราจะใช้เพียงชั่วคราว และจะดีใจมาก เมื่อสามารถนำล้อเสริมเล็กๆ ออกไปได้ แม้เด็กๆ จะล้มลงบ้างก็คือการเรียนรู้ที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับการมอบหมายงานใหม่ๆ เราต้องหลบฉาก แล้วให้ทีมงานขึ้นมาโดดเด่นที่หน้าฉาก เมื่อเราเป็นคนดูละครที่ไม่ได้เล่นเอง เราอาจรู้สึกอึดอัดจากการดำเนินการที่ช้าไป หรือเร็วเกินไป เราอยากจะเป็นผู้กำกับหนังที่เปลี่ยนบทตลอดเวลา ซึ่งนั่นใช้ไม่ได้กับละครชีวิต ที่ต้องเล่นสดๆ การขัดจังหวะระหว่างทาง รบกวนการเรียนรู้ และสร้างความหวาดผวาให้กับทีมงาน […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Establish : Facilitative Leadership Chapter 1

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model E: Establish เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อแจ้งข้อกำหนดที่จำเป็นขององค์กร ให้ทุกคนได้รับรู้และสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ เป็นศิลปะการบริหารจัดการความคาดหวัง (Expectation Management) เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกฎ (Rule) ที่ตายตัว และแนวทาง (Guideline) ที่ยืดหยุ่นได้ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร และพื้นฐานของทีมงาน การเริ่มต้นโครงการใหม่ หรือการมีทีมงานเข้ามาใหม่ เราอาจเกรงใจที่จะแจ้งระเบียบข้อตกลงทั้งหมดให้เขาทราบ เพราะเกรงว่าจะเป็นการไปบังคับกะเกณฑ์ ลดทอนความสัมพันธ์ แต่หากเราไม่แจ้งตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วชี้บอกสอนตลอดเวลา ก็จะกลายเป็นการจำกัดความสร้างสรรค์ ทำลายการนำพาตนเองของทีมงาน เพราะต้องระแวดระวังว่าจะทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ครั้นจะสังเกตคนเก่าว่าทำงานอย่างไร ก็ไม่แน่ใจว่าส่วนไหนเป็นมาตรฐาน ส่วนไหนหย่อนกว่ามาตรฐาน ในฐานะผู้นำ เรามีหน้าที่กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นต่อทีมงานให้เพียงพอตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยทัศนคติที่ว่า การให้ข้อมูลเบื้องต้น ช่วยให้ทีมงานตัดสินใจได้ดีขึ้น เมื่อเผชิญกับสถานการณ์หน้างาน เราอาจตั้งต้นร่วมกันโดยการถามว่า “ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ คือ…” “สิ่งที่ผมจะทำเพื่อคุณได้ คือ…” “สิ่งที่เราคาดหวังให้คุณทำ คือ…” […]

5 ระดับแห่งภาวะผู้นำ : The Five Levels of Leadership

ผู้บริหาร โค้ชกีฬา ครูในชั้นเรียน ผู้นำกิจกรรม ผู้ปกครอง ล้วนแล้วแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การเป็นผู้นำ เพียงแต่ว่าเรามีภาวะผู็นำเพียงแค่ไหน และ จะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร คำถามนี้ เป็นสิ่งที่เราทุกคนก็คงอยากรู้เช่นเดียวกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาแนวคิดเรื่อง 5 ระดับแห่งภาวะผู้นำ (The 5 Levels of Leadership) เพื่อช่วยให้ผู้นำได้เข้าใจ และ เพิ่มประสิทธิผลแห่งภาวะผู้นำ การทราบภาพรวมของเรื่องนี้จะช่วยย้ำเตือนให้เรายังคงอยู่บนทางแห่งผู้นำ ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ THE 5 LEVELS OF LEADERSHIP 1 ) Position – Right เมื่อเราเป็นผู้นำตามตำแหน่ง และ ใช้การนำด้วยอำนาจ (Authority) เขาจะสนใจทำตามเรา เพราะเขาจำเป็นต้องทำ (People follow because of they have to) เป็นขั้นต่ำสุดของภาวะผู้นำ เป็นขั้นเริ่มต้น ถ้าเราเป็นผู้นำเพียงเพราะตำแหน่ง ไม่มีความสามารถหรือความพยายามที่จะบรรลุผลสำเร็จใดๆ นอกจากเพียงการใช้อำนาจขู่ให้กลัว หรือ จ่ายเงินจ่างให้ทำ […]

การบริหารจัดการความคาดหวัง : Expectation Management

หลุมพราง ของการบริหารความคาดหวัง เรามักไม่สื่อสารถึงความคาดหวัง เพราะเราคิดว่าคนอื่นๆ ย่อมรู้ดี ในระบบระเบียบที่ควรจะต้องทำอยู่แล้ว หรือ ต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดจากการระบุกฎเกณฑ์ในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน และ สุดท้ายอาจเป็นเพราะเราไม่แน่ใจว่าจะสื่อสารออกไปอย่างไรให้ได้ผล มุมมองเชิงบวกต่อความคาดหวัง หนึ่ง) เป็นหน้าที่ที่ดี มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ในการบริหารจัดการของผู้จัดการ มองว่าการสื่อสารถึงความคาดหวังในการอยู่ร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของการเป็นกัลยาณมิตร สอง) เป็นเข็มทิศให้กัน การแจ้งความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยลดความขัดเคืองใจ อันจะนำมาสู่ความขัดแย้งได้มาก และยังจะเป็นทิศทางให้กับเพื่อนร่วมงาน ให้กับทีมงาน สามารถทำการตัดสินใจด้วยตนเองในระหว่างการทำงานได้ (Self-manage) สาม) เป็นข้อตกลงร่วมกัน การสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวัง จะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อทุกคนทำสิ่งนั้นร่วมกัน รวมถึงตัวเราก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เราไม่สามารถอ้างว่า “ให้ทำตามที่ฉันพูด อย่าทำตามที่ฉันทำ” เมื่อทุกคนได้เข้าไปยอมรับ ความคาดหวังจากกันและกัน ก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทหน้าที่ รวมถึงจะนำไปสู่ความสามารถที่จะรับผิดชอบ (Accountable) ต่องานที่ทำได้ ความคาดหวังในองค์กร ในบริบทขององค์กร ความคาดหวัง (Expectation) ซึมซาบผ่าน 2 ถ้อยคำ ได้แก่ คำว่ามาตรฐาน (Standards) และ คำว่าเป้าหมาย (Goals) หนึ่ง) มาตรฐาน (Standard) […]

ความสำคัญของภาวะผู้นำกระบวนการ : The Importance of Facilitative Leadership

วัฒนธรรมการบริหารคนแบบทั่วไปในปัจจุบัน ถูกเรียกว่า “Autocratic Behaviorism.” โดยการใช้อำนาจตามตำแหน่ง (Authority) ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งประจำหรือ ตำแหน่งชั่วคราวตามโครงการ เข้าควบคุมพฤติกรรมผู้อื่น ผ่านการให้รางวัล และ การลงโทษ ผู้บริหารที่จะใช้วิธีการควบคุม (The Autocratic Behavioristic Approach) จำเป็นต้องมี 2 อย่าง ได้แก่ เวลา และ อำนาจ ถึงแม้ผู้บริหารถนัดที่จะควบคุม แต่วิธีการนี้ ก็เริ่มจะไม่เพียงพอ ตามสภาพการทำงานในปัจจุบันแล้วนะครับ เพราะไปรบกวนด้านผลิตผล (Productivity) และ การทำงานร่วมกัน (Collaboration) การทำงานในปัจจุบัน ต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วมากขึ้น องค์กรขนาดเล็กที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนสำคัญก็เพราะตัดสินใจได้เร็วกว่า เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นต้องมีวิธีการใหม่ๆ เพื่อรักษาจุดแข็งเดิมในด้านนี้ไว้ ในขณะที่การรวบอำนาจ ในองค์กรขนาดใหญ่ กำลังทำให้ทุกอย่างช้า และ อาจจะช้าเกินไปในยุคดิจิตอล การขยับจากการบริหารแบบควบคุมด้วยอำนาจ มาเป็นการโค้ช และ สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ให้ทีมงานของเราได้บริหารตนเอง (Self-manage) สร้างแรงจูงใจได้ด้วยตนเอง (Self-motivate) จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ เรียกว่า […]