Category Archives: Facilitative Leader

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด – Strategies for Getting More Work Done in Less Time

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด กลยุทธ์ต่อไปนี้ ไม่ได้รับประกันว่าจะช่วยให้เราทำงานทุกอย่างสำเร็จ แต่การนำไปใช้ จะช่วยให้เราทำงานที่จะสำเร็จ ได้ในเวลาที่น้อยลง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. รู้ความต้องการที่แท้จริง ถามถึงความต้องการที่แท้จริง เช่น จำเป็นต้องนำเสนอผ่าน PowerPoint มั๊ย คาดหวังผลลัพธ์ระดับไหน A+ หรือ B+ ต้องการแผนโดยรวม หรือต้องการแผนเพื่อการริเริ่ม การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงเช่นนี้ จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้มากในการทำให้งานสำเร็จ 2. ใช้ซ้ำ ในสิ่งที่เคยใช้ บางงานเราสามารถใช้ข้อมูลซ้ำได้ เช่น รูปแบบข้อความสำหรับส่งอีเมลนัดประชุม และไฟล์สำหรับการนำเสนอต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ นักพูดที่ยอดเยี่ยม มีแนวโน้มจะกล่าวใจความสำคัญแบบเดิมซ้ำ ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการพูดถึงเรื่องนั้น (Practice makes Perfect) 3. งานซ้ำ ทำซ้ำให้ไว งานที่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เราควรจะหาตัวช่วยด้วยการทำเป็นแบบฟอร์มให้กรอกหรือจดลำดับขั้นตอนของงานให้เป็นระเบียบ เพื่อที่ว่าจะสามารถทำตามเดิมแบบที่เคยทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ลังเล […]

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน และได้พัฒนาตัวเอง เทคนิคที่ 1. สร้างความสุข เราจะเริ่มต้นด้วยคำถามว่า “เราทำงานนี้ ไปทำไม” คำถามนี้ นำไปสู่คุณค่าของงาน แต่ถ้ายังตอบไม่ได้ เราอาจเริ่มต้นด้วยคำว่า “ดีจัง มีงานให้ทำ” “ทำงาน ช่วยให้มีตังค์ กินข้าว ใช้จ่าย” ไปจนถึง “ดีที่มีงานให้ทำ จะได้ไม่เป็นภาระใคร” หรือ “ทำงานนี้ดี จะได้ช่วยเลี้ยงดูคนที่เรารักได้” และถ้าโชคดีกว่านั้นเราอาจเชื่อมโยงงานที่ทำกับคุณค่าในใจของเรา เช่น ถ้าเรามีความสุขเมื่อเห็นคนเปิดใจ (Openness) รับฟัง หรือเชื่อมประสานความหลากหลายเข้าด้วยกัน (Connectedness) นี่คือคุณค่าของเรา และถ้าเราทำงานที่เกี่ยวข้องหรือทำให้งานของเราเกี่ยวข้อง กับคุณค่าเหล่านี้ เราจะมีแรงจูงใจจากภายใน เทคนิคที่ 2. สร้างความสนุกสนาน เมื่อเวลาผ่านไป การทำสิ่งเดิม ๆ อาจทำให้เราชาชิน ความกระตือรือร้นกับงานอย่างที่เคยในช่วงแรก ๆ อาจลดลง ดังนั้น เราจำเป็นต้องขยับขยายงานของเราให้ท้าทายขึ้น เพิ่มความแปลกใหม่ อาจเรียกว่า […]

Digital Transformation (DX) คืออะไร

Digital Transformation (DX) คืออะไร          Digital Transformation ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือสิ่งที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างต้องเผชิญ และเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดในการติดกระดุมเม็ดแรก จึงจำเป็นต้องเข้าใจในรากฐานของนิยามความหมาย เพื่อให้สร้างสรรค์วิธีการได้อย่างอิสระ และเมื่อศึกษามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบว่า “Digital Transformation” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “DX” มีความหมายที่เฉพาะตัว เราพบว่า “DX ไม่เท่ากับ Technology” และ “DX ไม่เท่ากับ Transformation” แล้วจริง ๆ แล้ว DX คือ อะไร 1. Digital Transformation ไม่เท่ากับ Technology          ความเข้าใจที่ว่า DX คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน จริง ๆ แล้ว DX คือ การมองเห็นว่าเทคโนโลยีได้มาเปลี่ยนแปลงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในธุรกิจ ความคาดหวังของลูกค้า พันธมิตร […]