Category Archives: Digital Culture

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด – Strategies for Getting More Work Done in Less Time

5 กลยุทธ์ ทำงานในเวลาจำกัด กลยุทธ์ต่อไปนี้ ไม่ได้รับประกันว่าจะช่วยให้เราทำงานทุกอย่างสำเร็จ แต่การนำไปใช้ จะช่วยให้เราทำงานที่จะสำเร็จ ได้ในเวลาที่น้อยลง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. รู้ความต้องการที่แท้จริง ถามถึงความต้องการที่แท้จริง เช่น จำเป็นต้องนำเสนอผ่าน PowerPoint มั๊ย คาดหวังผลลัพธ์ระดับไหน A+ หรือ B+ ต้องการแผนโดยรวม หรือต้องการแผนเพื่อการริเริ่ม การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงเช่นนี้ จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้มากในการทำให้งานสำเร็จ 2. ใช้ซ้ำ ในสิ่งที่เคยใช้ บางงานเราสามารถใช้ข้อมูลซ้ำได้ เช่น รูปแบบข้อความสำหรับส่งอีเมลนัดประชุม และไฟล์สำหรับการนำเสนอต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ นักพูดที่ยอดเยี่ยม มีแนวโน้มจะกล่าวใจความสำคัญแบบเดิมซ้ำ ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการพูดถึงเรื่องนั้น (Practice makes Perfect) 3. งานซ้ำ ทำซ้ำให้ไว งานที่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เราควรจะหาตัวช่วยด้วยการทำเป็นแบบฟอร์มให้กรอกหรือจดลำดับขั้นตอนของงานให้เป็นระเบียบ เพื่อที่ว่าจะสามารถทำตามเดิมแบบที่เคยทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ลังเล […]

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation

3 เทคนิค การเพิ่มแรงจูงใจจากภายใน: Intrinsic Motivation เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน และได้พัฒนาตัวเอง เทคนิคที่ 1. สร้างความสุข เราจะเริ่มต้นด้วยคำถามว่า “เราทำงานนี้ ไปทำไม” คำถามนี้ นำไปสู่คุณค่าของงาน แต่ถ้ายังตอบไม่ได้ เราอาจเริ่มต้นด้วยคำว่า “ดีจัง มีงานให้ทำ” “ทำงาน ช่วยให้มีตังค์ กินข้าว ใช้จ่าย” ไปจนถึง “ดีที่มีงานให้ทำ จะได้ไม่เป็นภาระใคร” หรือ “ทำงานนี้ดี จะได้ช่วยเลี้ยงดูคนที่เรารักได้” และถ้าโชคดีกว่านั้นเราอาจเชื่อมโยงงานที่ทำกับคุณค่าในใจของเรา เช่น ถ้าเรามีความสุขเมื่อเห็นคนเปิดใจ (Openness) รับฟัง หรือเชื่อมประสานความหลากหลายเข้าด้วยกัน (Connectedness) นี่คือคุณค่าของเรา และถ้าเราทำงานที่เกี่ยวข้องหรือทำให้งานของเราเกี่ยวข้อง กับคุณค่าเหล่านี้ เราจะมีแรงจูงใจจากภายใน เทคนิคที่ 2. สร้างความสนุกสนาน เมื่อเวลาผ่านไป การทำสิ่งเดิม ๆ อาจทำให้เราชาชิน ความกระตือรือร้นกับงานอย่างที่เคยในช่วงแรก ๆ อาจลดลง ดังนั้น เราจำเป็นต้องขยับขยายงานของเราให้ท้าทายขึ้น เพิ่มความแปลกใหม่ อาจเรียกว่า […]

การฟื้นคืนพลัง: Resilience

การฟื้นคืนพลัง: Resilience           การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จำเป็นมากต่อการทำงานในยุคสมัยนี้ เราอาจทุ่มเทกับการทำงานเป็นอย่างมาก ใช้เวลาหลายสัปดาห์รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอ จากนั้น สิ่งที่เรานำเสนอไปนั้นอาจถูกปฏิเสธ เพราะความต้องการของลูกค้านั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การเปิดใจรับฟังข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขงานอย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานในยุคดิจิตอล หากเรามีทักษะในการฟื้นคืนพลัง ก็ย่อมเริ่มต้นสร้างสรรค์งานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยทันที แต่ความเป็นจริง โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเราได้รับการตอบรับ ร่างกายจะผลิตสารแห่งความสุข แต่เมื่อถูกปฏิเสธบ่อย ๆ แน่นอนว่าร่างกายจะผลิตสารแห่งความเครียด ความท้อแท้ในการทำงานจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา และเมื่อการทำงานดำเนินมาถึงจุดจุดหนึ่ง เราจะรู้สึกได้ว่าจำเป็นต้องพักแล้วล่ะ แต่ด้วยความเร่งด่วนของงาน เราอาจจะไม่สามารถพักได้อย่างที่ใจต้องการ เมื่อฝืนทำงานต่อไปความเครียดทางใจก็จะแปรเปลี่ยนมาสะสมเป็นความเครียดทางร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น นอนไม่หลับ ระบบการย่อยอาหารไม่เป็นปกติ ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ เป็นต้น           ดังนั้น การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จึงเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเราเป็นอย่างมาก เราอาจลองจินตนาการถึงแก้วน้ำ และลูกเทนนิส เมื่อแก้วน้ำหล่นพื้นแก้วน้ำจะแตก (หมายถึงแก้วน้ำที่เป็นแก้วนะครับไม่ใช่แก้วพลาสติก) แต่เมื่อลูกเทนนิสหล่นลงพื้น ลูกเทนนิสจะเด้งกลับขึ้นมาใหม่ บางครั้งเราจึงให้ความหมายของการฟื้นคืนพลังว่า การฟื้นตัวหรือการเด้งกลับขึ้นมาใหม่ แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอนะครับ […]

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ

Empathy เข้าใจ…จากใจสู่ใจ           บางครั้ง เราอยากจะบอกเล่าเรื่องราวของเราให้กับใครสักคนได้รับฟัง เช่น ในวันที่เราประสบความสำเร็จหลังจากผ่านความยากลำบาก หรือแม้กระทั่งในวันที่เรารู้สึกผิดจากสิ่งที่ได้ทำลงไป เราเพียงแค่ต้องการใครสักคนมาเข้าใจเราก็เพียงเท่านั้น แต่บ่อยครั้ง แค่มีคนเข้าใจมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนฟังเราพร้อมกับการตัดสิน “ทำไมเธอไม่ทำเหมือนกับคนอื่นล่ะ” หรือไม่ก็ซ้ำเติม “โอว้ เธอได้รู้แล้วสินะ ฉันเคยบอกแล้วไง” หรือไม่ก็แนะนำบอกสอน “ฉันว่าทางที่ดี เธอควรจะทำแบบนี้ดีกว่านะ” ในวันที่เราหมดพลัง เราอาจเพียงแค่ต้องการประคับประครองให้ชีวิตลุกขึ้นยืนได้ ยังไม่พร้อมมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายใด ๆ ทั้งนั้น คำแนะนำต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในวันที่ยากลำบาก จึงกลายเป็นการบั่นทอนคุณค่าที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เพราะคำแนะนำบอกสอนต่าง ๆ เหล่านนั้น ได้มาตอกย้ำว่า สิ่งที่เราเป็นอยู่นั้น มันยังไม่ดีพอ กำลังจะลุกขึ้นยืนได้แล้วเชียว กลับต้องทรุดตัวลงนอนอีกครั้ง ดังนั้น แค่ความหวังดีต่อกัน ด้วยการแนะนำบอกสอน นั้นยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ           เพื่อให้เราสามารถสังเกตความสามารถในการเข้าใจของเราได้ง่ายขึ้น เราอาจแบ่งความเข้าใจ หรือ Empathy ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ความเข้าใจด้วยความคิด (2) ความเข้าใจผ่านความรู้สึก และ […]

Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0

Digital Transformation ในอุตสาหกรรม 4.0 Digital Transformation (DX) คือ การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเท่าทัน.และเนื่องจาก DX เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ทุกองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง DX สำหรับความหมายโดยละเอียดของ DX สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ Digital Transformation (DX) คือ อะไร สำหรับองค์กรในภาคอุตสาหกรรม นอกจากคำว่า Digital Transformation แล้ว ยังมีคำว่า Industry 4.0 หรือ อุตสาหกรรม 4.0 อีกด้วย แล้ว 2 สิ่งนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อุตสาหกรรม ได้จัดแบ่งเส้นทางพัฒนาการเอาไว้เป็น 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุค 1.0 คือ ใช้เครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องทอผ้า ยุค 2.0 คือ ผลิตครั้งละมาก […]

Digital Transformation (DX) คืออะไร

Digital Transformation (DX) คืออะไร          Digital Transformation ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือสิ่งที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างต้องเผชิญ และเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่พลาดในการติดกระดุมเม็ดแรก จึงจำเป็นต้องเข้าใจในรากฐานของนิยามความหมาย เพื่อให้สร้างสรรค์วิธีการได้อย่างอิสระ และเมื่อศึกษามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบว่า “Digital Transformation” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “DX” มีความหมายที่เฉพาะตัว เราพบว่า “DX ไม่เท่ากับ Technology” และ “DX ไม่เท่ากับ Transformation” แล้วจริง ๆ แล้ว DX คือ อะไร 1. Digital Transformation ไม่เท่ากับ Technology          ความเข้าใจที่ว่า DX คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน จริง ๆ แล้ว DX คือ การมองเห็นว่าเทคโนโลยีได้มาเปลี่ยนแปลงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในธุรกิจ ความคาดหวังของลูกค้า พันธมิตร […]