การฟื้นคืนพลัง: Resilience

          การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จำเป็นมากต่อการทำงานในยุคสมัยนี้ เราอาจทุ่มเทกับการทำงานเป็นอย่างมาก ใช้เวลาหลายสัปดาห์รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอ จากนั้น สิ่งที่เรานำเสนอไปนั้นอาจถูกปฏิเสธ เพราะความต้องการของลูกค้านั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การเปิดใจรับฟังข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขงานอย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานในยุคดิจิตอล หากเรามีทักษะในการฟื้นคืนพลัง ก็ย่อมเริ่มต้นสร้างสรรค์งานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยทันที แต่ความเป็นจริง โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเราได้รับการตอบรับ ร่างกายจะผลิตสารแห่งความสุข แต่เมื่อถูกปฏิเสธบ่อย ๆ แน่นอนว่าร่างกายจะผลิตสารแห่งความเครียด ความท้อแท้ในการทำงานจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา และเมื่อการทำงานดำเนินมาถึงจุดจุดหนึ่ง เราจะรู้สึกได้ว่าจำเป็นต้องพักแล้วล่ะ แต่ด้วยความเร่งด่วนของงาน เราอาจจะไม่สามารถพักได้อย่างที่ใจต้องการ เมื่อฝืนทำงานต่อไปความเครียดทางใจก็จะแปรเปลี่ยนมาสะสมเป็นความเครียดทางร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น นอนไม่หลับ ระบบการย่อยอาหารไม่เป็นปกติ ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ เป็นต้น

          ดังนั้น การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience จึงเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเราเป็นอย่างมาก เราอาจลองจินตนาการถึงแก้วน้ำ และลูกเทนนิส เมื่อแก้วน้ำหล่นพื้นแก้วน้ำจะแตก (หมายถึงแก้วน้ำที่เป็นแก้วนะครับไม่ใช่แก้วพลาสติก) แต่เมื่อลูกเทนนิสหล่นลงพื้น ลูกเทนนิสจะเด้งกลับขึ้นมาใหม่ บางครั้งเราจึงให้ความหมายของการฟื้นคืนพลังว่า การฟื้นตัวหรือการเด้งกลับขึ้นมาใหม่ แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอนะครับ เมื่อฟื้นตัวหรือเด้งกลับขึ้นมาใหม่ได้แล้ว เรายังต้องสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เหมือนอย่างกับดินน้ำมัน ที่พร้อมปั้นเป็นรูปใหม่ จึงอาจสรุปได้ว่า การฟื้นคืนพลัง หรือ Resilience คือ การฟื้นตัวเด้งกลับขึ้นมาใหม่ และการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร

          Harvard Business Review ได้แนะนำ 5 วิธีการ ในการฟื้นคืนพลังในการทำงานเอาไว้ ดังนี้ครับ

(1) ฝึกสติ

(2) จัดแบ่งกลุ่มงาน

(3) เบิกบานระหว่างวัน

(4) ปรับใจให้เท่าทัน และ

(5) แบ่งปันความกรุณา

จากทั้ง 5 วิธีนี้ เพื่อน ๆ สนใจวิธีการไหนบ้างครับ ขอเชิญแลกเปลี่ยนแบ่งกันได้ทาง Comment เลยนะครับ

เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments