Category Archives: 02 Self-management

1. Self-control
Emotional triggers in the workplace
2. Self-motivation and goal setting
3. Adaptability
4. Transparency
Your team will trust you and work more effectively.

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System

เป็นตัวของตัวเองอย่างกลมเกลียวด้วย IFS: Internal Family System พื้นฐานการเยียวยา (Healing) ร่วมกับการภาวนาให้ใจเป็นกลาง ช่วยให้เราสามารถสร้างความกลมเกลียวภายในจิตใจ แม้ในวันที่อารมณ์ท่วมท้น เราก็จะสามารถยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจของเราได้ รวมถึงเมื่อเราเป็นผู้ที่รับฟังความทุกข์ของผู้อื่น เราก็จะสามารถมอบความเข้าใจเช่นนี้ให้กับผู้ที่อยู่ตรงหน้าของเรา เกื้อกูลให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยพื้นที่ปลอดภัยนั้น สามารถเกิดได้จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนในเรื่องที่เขาสนใจ เช่น การดูแลสุขภาพ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแบบที่ชอบ เป็นต้น ในส่วนของการเยียวยารักษาจิตใจ หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ เรียกว่า IFS (Internal Family System) หรือ “ระบบครอบครัวภายใน” IFS แบ่งระบบภายในจิตใจออกเป็นหลายตัวตน (Parts) โดยมองว่าทุกตัวตนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ไม่มีตัวตนใดที่เลวร้าย แต่ละตัวตนภายในตัวเราล้วนต้องการผลเชิงบวกแก่ตัวเอง แต่เนื่องจากแต่ละตัวตนเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ความต้องการเหล่านั้นจึงส่งผลต่อตัวตนอื่น ๆ ด้วย เป้าหมายของการสร้างความกลมเกลียวภายใน จึงไม่ใช่การกำจัดตัวตนใดตัวตนหนึ่งออกไปจากชีวิต แต่ช่วยให้แต่ละตัวตนนั้นได้พบบทบาทที่เหมาะสม เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ภายใน ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีภายนอกด้วย IFS หรือ ระบบครอบครัวภายใน ประกอบไปด้วย Self ซึ่งในที่นี้หมายถึง สภาวะใจที่เป็นกลาง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยตัวตนต่าง […]

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture จากงานวิจัยของ Linkedin พบว่า ครึ่งหนึ่งในบรรดาทักษะที่จำเป็นที่สุด เป็นทักษะใหม่ หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน คุณจะไม่พบทักษะเหล่านี้อยู่ในรายการของทักษะที่จำเป็น นั่นแสดงให้เห็นว่า คนทำงานในปัจจุบัน จำเป็นต้องเพิ่มทักษะใหม่ให้กับตัวเองอีกเป็นอย่างมาก ในฐานะองค์กรการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดมีขึ้น จึงมีความสำคัญ และต่อไปนี้ คือ 4 แนวทางในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีขึ้นในองค์กร หนึ่ง) มีรางวัลให้กับการเปิดใจ โดยการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการมีความรู้มากขึ้นแต่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการเปิดใจยอมรับ กล้าแสดงความคิดเห็น แม้จะนำไปสู่ความเห็นต่างก็ตาม การให้รางวัลที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ได้ สอง) ให้ข้อเสนอแนะที่เปิดใจ โดยปกติทุกคนจะไม่รู้ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ แต่ก็ยากที่จะเปิดรับต่อคำแนะนำจากใคร ๆ ที่ชี้ชัดถึงข้อจำกัดภายในตนเอง ดังนั้น การให้ข้อเสนอแนะต่อกันอย่างชี้ชัดไม่บิดพริ้วจึงคือคุณค่าที่แท้จริง เสมือนเป็นการมอบของขวัญอันล้ำค่า ในขณะเดียวกัน ผู้ให้ข้อเสนอแนะก็จำเป็นต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่นำไปสู่การเปิดใจยอมรับด้วย สาม) มีผู้นำที่เปิดใจ หากผู้นำอยากให้ทีมงานเป็นนักอ่าน ผู้นำก็ต้องเป็นนักอ่านและแบ่งปันหนังสือดี ๆ ให้กัน หากผู้นำอยากให้ทีมงานเรียนรู้ทักษะใหม่ ผู้นำก็ต้องอาสาทำงานใหม่ ๆ กล้าออกจากพื้นที่สบาย […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

“ทำให้ง่าย” หัวใจของ Startup ที่ปรับใช้ได้ในชีวิต – Startup Concept

การทำความเข้าใจกระบวนการเติบโตที่รวดเร็วของ “Startup” ช่วยให้องค์กรทั้งเล็กและใหญ่ ประหยัดทรัพยากรไปได้มากเลยครับ โดย 2 สิ่งที่เป็นหัวใจของ Startup ก็คือ Repeatable และ Scalable 1. Repeatable Repeatable คือ สามารถใช้ซ้ำได้ ถ้ามองจากมุมลูกค้า จะหมายถึง สินค้าและบริการที่ออกแบบมา ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เช่น เครื่องดื่มที่ดื่มแล้วติดใจ เมื่อลูกค้ากระหายน้ำ ก็ย่อมซื้อซ้ำอีกแน่นอน ในขณะที่สินค้าและบริการบางประเภท ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อซ้ำ เช่น Application ที่ซื้อเพียงครั้งเดียวจบ เป็นต้น ดังนั้น หากอยากให้ Application มีสิ่งที่เรียกว่า “Repeatable” เราก็ต้องออกแบบให้ภายในบริการนั้น มีสิ่งที่ลูกค้าจะซื้อซ้ำได้ เช่น บริการ Sticker Line จะมี Sticker Shop ที่สามารถเพิ่มแบบใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เป็นต้น Repeatable ในมิติภายในองค์กร ถ้ามองว่าตัวเราเอง ออกแบบกระบวนการเพื่อตัวเราหรือทีมของเรา […]

ภาระงานล้นมือ แก้อย่างไร ก่อนหมดไฟ – Manage your workload before burnout

ปกติเวลาภาระงานล้นมือ เราสามารถสังเกตได้จากว่าชีวิตมีเวลาพอที่จะเรียนรู้พัฒนาตัวเองอย่างอิสระรึป่าว โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าเจอภาระงานล้นมือจะท่องคาถานี้ครับ “ทำให้งานง่ายมอบหมายงานบอกผ่านบ้างปล่อยวางผล” 1. ทำให้งานง่าย จัดลำดับความสำคัญของงาน ด้วยการตัดงานที่ตัดได้ออกไปก่อน (Eliminate) เช่น การอ่าน News Feed หรืองานบันเทิงเริงใจต่าง ๆ จากนั้นก็มาดูว่างานไหนพอจะจัดการงานด้วยระบบอัตโนมัติหรือใช้เทคโนโลยีช่วยได้บ้าง (Automate) จนที่สุดแล้วค่อยมาดูว่าอะไรบ้างที่ต้องทำจริง ๆ ถ้างานยาก ก็ต้องแบ่งงานให้เป็นงานเล็ก ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าทำได้ง่ายขึ้น 2. มอบหมายงาน เวลาเรามอบหมายงานก็ดูง่าย ๆ 3 อย่าง คือ (หนึ่ง) คนรับงานเขาเข้าใจงานทำงานนั้นเป็นรึป่าว (สอง) คนรับงานรู้สึกกับงานอย่างไร เต็มใจทำรึป่าว (สาม) คนรับงานเขามีสุขภาพร่างกายที่พร้อมจะทำรึป่าว ข้อสามนี้สำคัญที่สุด ช่วงนี้ก็ต้องพิจารณาตัวเองเหมือนกัน ว่าควรรับงานมาทำมากแค่ไหนจึงจะพอดี 3. บอกผ่านบ้าง ข้อนี้เหมือนง่าย แต่ทำจริงไม่ง่ายเลย จะเกิดอาการเกรงอกเกรงใจ ไม่กล้าปฏิเสธงาน ถึงที่สุดแล้วอาจต้องตัดสินใจปฏิเสธงานไปบ้าง เพื่อให้เกิดทางออกใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่า หากยื้องานไว้ทำเอง แต่กลับทำไม่ไหวอาจจะกลายเป็นผลเสียกับผู้อื่นได้ 4. ปล่อยวางผล […]

ศิลปะการโน้มใจ สู่การเปลี่ยนแปลง – Persuade People to Change Their Behavior

เมื่อเกิดความคิดว่า ‘อยากเปลี่ยนคนอื่น’ นั่นคือ สัญญาณให้เรา ‘ทบทวนตนเอง’ บ่อยครั้ง การอยากเปลี่ยนคนอื่น นั่นอาจเพราะ ความอดทนของเราต่ำลง ให้เวลากับตัวเองสักนิดเพื่อทบทวนเจตนาของตนเอง ในฐานะหัวหน้างาน ถ้าเจตนาของเรามีความชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์กับองค์กร จึงควรตัดสินใจโน้มน้าวใจทีมงาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อไป โดยธรรมชาติมนุษย์มีความสุขกับการได้เลือก เช่น ได้เลือกซื้อขนมในแบบที่ชอบ ได้เลือกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยตนเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อถูกออกคำสั่งหนัก ๆ จะรู้สึกเหมือนถูกควบคุม ทำให้ออกอาการต่อต้าน ฝ่าฝืน หรือหันเหไปทำด้านตรงข้าม เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรจะโน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรดี บทความนี้ ขอนำเสนอเทคนิคจาก Harvard Business Review ประกอบด้วย 3 เทคนิค ดังต่อไปนี้ครับ 1. ใช้เจตนาของเขาเอง เทคนิคข้อนี้ คือ การชี้จุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เขาทำ หรือจุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาอยากให้คนอื่นทำ กับสิ่งที่เขาทำเองจริง ๆ เช่น หัวหน้างานบอกกับทีมงานว่า “ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สวม Mask เพื่อป้องกันไม่ให้ COVID19 ส่งผลกระทบต่องานขององค์กรของเรา” […]

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]

5 สิ่งที่คนเก่งต้องก้าวข้ามเพื่อความสำเร็จ : 5 Ways Smart People Sabotage Their Success

คนเก่งในที่นี้ หมายถึงคนที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการเรียนหรือการทำงานมาในอดีต แต่พอเช็คข่าวความเป็นไปของเพื่อนเก่า ๆ ใน Facebook ก็พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างน่าทึ่ง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า ตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดอะไรไปหรือเปล่า เพราะอะไรจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้ ได้พูดถึง 5 สิ่งที่คนเก่งมักจะต้องเผชิญและแนวทางในการก้าวข้าม เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ อย่างที่ควรจะเป็น หนึ่ง) การเรียนรู้สิ่งใหม่ คนเก่งไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองในบางทักษะ เช่น ทักษะด้านความสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ เป็นต้น เนื่องจากมองว่ายากเกินไป ให้คนอื่นทำแทน และเชื่อว่าทักษะที่ตนเองเก่งอยู่แล้วนั้น เคยทำให้ตัวเองสำเร็จมาก่อน หรือเป็นที่ยอมรับมากกว่า จึงขาดความพยายามในการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่ในการทำงานจริง ทักษะเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ทางออก คือ การอาศัยจุดแข็งของตัวเอง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยความรู้สึกแบบที่น้ำไม่เต็มแก้ว เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ให้กับตัวเอง สอง) การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม มักสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคนเก่ง เรายอมรับว่าอย่างน้อยมีแนวโน้มที่คนเก่ง จะสามารถจับประเด็นข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมประมวลผล และมีไอเดียออกมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนทั่วไปต้องการเวลาในการประมวลผลข้อมูลนานกว่า และเมื่อต้องแบ่งงานกันทำ ในทีม คนเก่งที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ จะรู้สึกอยากลงมือทำงานเอง เพราะเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า […]