สมรรถนะหลักของ Facilitator : IAF Core Competencies

สมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitators) ตามมาตรฐานของ IAF (IAF Core Competencies)

               IAF ย่อมาจาก The International Association of Facilitators คือ องค์กรวิชาชีพระดับโลกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศิลปะและการฝึกปฏิบัติในการเอื้ออำนวยอย่างมืออาชีพ ผ่านวิธีการแลกเปลี่ยน, การเติบโตอย่างมืออาชีพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ เครือข่ายของเพื่อนร่วมงาน

Picture: IAF first meetup in Bangkok facilitated by Kavi Arasu and Stephen Berkeley. On December 8, 2019 @ Geeky Base, Bangkok

               กรอบสมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายปี โดย IAF ด้วยการสนับสนุนของสมาชิกของสมาคมและผู้เอื้ออำนวยจากทั่วโลก ถูกทดลองใช้ผ่านเวลามาอย่างยาวนาน ประกอบด้วยพื้นฐานทางทักษะ, ความรู้ และ พฤติกรรมที่ผู้เอื้ออำนวยต้องมี เพื่อให้การเอื้ออำนวยบรรลุผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาก แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่

Picture: IAF first meetup in Bangkok facilitated by Kavi Arasu and Stephen Berkeley. On December 8, 2019 @ Geeky Base, Bangkok

กลุ่ม A สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ

A1. พัฒนาความร่วมมือในการทำงาน

  • ทำพันธสัญญาร่วมกันให้ชัดเจน
  • พัฒนาฉันทามติในงานต่าง ๆ, การส่งมอบ, บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
  • สาธิตคุณค่าและกระบวนการในการร่วมมือ เช่น การเอื้ออำนวยร่วม

A2. ออกแบบและปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

  • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร
  • วินิจฉัยความต้องการของลูกค้า
  • สร้างงานออกแบบที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งใจ
  • กำหนดล่วงหน้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพและผลลัพธ์กับลูกค้า

A3. บริหารจัดการกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ทำสัญญากับลูกค้าในขอบเขตงานและสิ่งที่จะส่งมอบ
  • พัฒนาแผนงานกิจกรรม (Event)
  • ส่งมอบงานกิจกรรม (Event) ได้สำเร็จ
  • ประเมินผล (Assess) หรือการประเมิน (Evaluate) ความพึงพอใจของลูกค้าในทุกขั้นตอนของงานกิจกรรม (Event) หรือโครงการ (Project)
Picture: IAF first meetup in Bangkok facilitated by Kavi Arasu and Stephen Berkeley. On December 8, 2019 @ Geeky Base, Bangkok

กลุ่ม B วางแผนกระบวนการกลุ่มอย่างเหมาะสม

B1. เลือกวิธีการและกระบวนการอย่างชัดเจนซึ่ง:

  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยด้วยความเคารพต่อวัฒนธรรมของลูกค้า บรรทัดฐานและความหลากหลายของผู้เข้าร่วม
  • สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการเรียนรู้ที่หลากหลาย หรือ รูปแบบการคิดที่แตกต่างกัน
  • บรรลุผลสำเร็จในสินค้าที่มีคุณภาพสูง หรือ ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

B2. เตรียมเวลาและพื้นที่เพื่อรองรับกระบวนการกลุ่ม

  • จัดพื้นที่ทางกายภาพเพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ของการประชุม
  • วางแผนการใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มอบบรรยกาศและเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Picture: Stephen Berkeley

กลุ่ม C สร้างและรักษาสภาพแวดล้อมของการมีส่วนร่วมให้ยั่งยืน

C1. แสดงถึงการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล

  • ใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมหลากหลายรูปแบบ
  • แสดงถึงทักษะการสื่อสารด้วยถ้อยคำอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาสายสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วม
  • ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)
  • แสดงถึงความสามารถในการสังเกตและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้เข้าร่วม

C2. ให้เกียรติและตระหนักถึงความหลากหลาย สร้างความมั่นใจอย่างทั่วถึง

  • ส่งเสริมการมองเชิงบวกต่อประสบการณ์และการรับรู้ของผู้เข้าร่วมทุกคน
  • สร้างบรรยากาศแห่งความปลอดภัยและไว้วางใจ
  • สร้างโอกาสเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ประโยชน์จากความหลากหลายของกลุ่ม
  • บ่มเพาะการตระหนักรู้เชิงวัฒนธรรมและการสัมผัสรับรู้ที่ว่องไว

C3. บริหารจัดการความขัดแย้งของกลุ่ม

  • ช่วยให้บุคคลได้ระบุและทบทวนถึงสมมติฐานพื้นฐาน
  • รับรู้ถึงความขัดแย้งในการเรียนรู้ของกลุ่มอย่างมีวุฒิภาวะ
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเพื่อเผยความขัดแย้ง
  • บริหารจัดการพฤติกรรมกลุ่มที่รบกวนกระบวนการ
  • สนับสนุนกลุ่มด้วยการคลี่คลายความขัดแย้ง

C4. กระตุ้นให้เกิดความสร้างสรรค์ของกลุ่ม

  • ดึงศักยภาพผู้เข้าร่วมในทุกรูปแบบการเรียนรู้/การคิด
  • ส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์
  • ยอมรับทุกความคิดเห็น
  • ใช้วิธีการที่เหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของกลุ่ม
  • กระตุ้นและเข้าถึงพลังงานกลุ่ม
Picture: IAF first meetup in Bangkok facilitated by Kavi Arasu and Stephen Berkeley. On December 8, 2019 @ Geeky Base, Bangkok

กลุ่ม D ให้แนวทางกลุ่มเพื่อผลลัพธ์ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์

D1. ให้แนวทางกลุ่มด้วยวิธีการและกระบวนการที่ชัดเจน

  • สร้างบริบทที่ชัดเจนในช่วงเวลา
  • ฟังอย่างกระตือรือร้น ตั้งคำถาม และสรุป เพื่อนำความเป็นกลุ่มออกมา
  • รับรู้ถึงแนวสัมผัสและเชื่อมต่อไปยังงาน
  • บริหารกระบวนการกลุ่มขนาดเล็กและขนาดใหญ่

D2. เอื้ออำนวยให้กลุ่มเกิดการตระหนักรู้ในตนเองเกี่ยวกับงานของตน

  • มีกิจกรรมในจังหวะที่หลากหลายตามความต้องการของกลุ่ม
  • ระบุข้อมูลความต้องการของกลุ่ม ดึงข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกมาจากกลุ่ม
  • ช่วยให้กลุ่มสังเคราะห์ รูปแบบ แนวโน้ม สาเหตุ และกรอบการทำงาน เพื่อการลงมือปฏิบัติ
  • ช่วยให้กลุ่มได้สะท้อนประสบการณ์ของกลุ่ม

D3. ให้แนวทางกลุ่มเพื่อฉันทามติและผลลัพธ์ตามความต้องการ

  • ใช้วิธีการที่หลากหลายในการบรรลุฉันทามติของกลุ่ม
  • ใช้วิธีการที่หลากหลายในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
  • ปรับเปลี่ยนกระบวนการตามสถานการณ์และความต้องการของกลุ่มที่เปลี่ยนแปลง
  • ประเมินและสื่อสารถึงความก้าวหน้าของกลุ่ม
  • ส่งเสริมให้งานเสร็จสมบูรณ์

กลุ่ม E สร้างและรักษาองค์ความรู้อย่างมืออาชีพ

E1. รักษารากฐานขององค์ความรู้

  • มีความรู้ในการบริหารจัดการ ระบบและการพัฒนาองค์กร การพัฒนากลุ่ม จิตวิทยา และ การคลี่คลายความขัดแย้ง
  • เข้าใจพลวัตของการเปลี่ยนแปลง
  • เข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้/การคิด

E2. รู้ขอบข่ายของวิธีการเอื้ออำนวย

  • เข้าใจการแก้ปัญหาและรูปแบบการตัดสินใจ
  • เข้าใจความหลากหลายของวิธีการกลุ่มและเทคนิค
  • แยกแยะกระบวนการจากงานและเนื้อหา
  • เรียนรู้กระบวนการ วิธีการ และรูปแบบใหม่ ๆ ที่สนับสนุนความจำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลง/การผุดขึ้น ของลูกค้า

E3. รักษามาตรฐานอย่างมืออาชีพ

  • มีส่วนร่วมในการศึกษา/เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในสิ่งที่เกี่ยวข้อง
  • เปิดรับข้อมูลในอาชีพของเราอย่างต่อเนื่อง
  • ฝึกฝนการสะท้อนและการเรียนรู้
  • สร้างองค์ความรู้และเครือข่ายในอุตสาหกรรมของตนเอง
  • รักษาใบรับรอง

กลุ่ม F เป็นแบบอย่างของทัศนคติเชิงบวกอย่างมืออาชีพ

F1. ฝึกการประเมินตนเองและการตระหนักรู้ในตนเอง

  • สะท้อนถึงพฤติกรรมและผลลัพธ์
  • รักษาความสอดคล้องระหว่างการกระทำและค่านิยม ทั้งค่านิยมส่วนตัวและค่านิยมในอาชีพ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อสะท้อนความต้องการของกลุ่ม
  • บ่มเพาะความเข้าใจในคุณค่าตนเองและผลกระทบต่อการงานกับลูกค้า

F2. กระทำการด้วยความซื่อตรง

  • แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในกลุ่มและความเป็นไปได้
  • เข้าหาสถานการณ์ด้วยความจริงแท้พร้อมทัศนคติเชิงบวก
  • อธิบายสถานการณ์ตามบทบาทผู้เอื้ออำนวยที่มองเห็นเและสืบค้นสู่มุมมองที่แตกต่างไป
  • สร้างแบบจำลองขอบเขตและจรรยาบรรณวิชาชีพ (IAF’s Statement of Values and Code of Ethics)

F3. ไว้วางใจศักยภาพของกลุ่มและวางใจเป็นกลาง

  • ให้เกียรติภูมิปัญญาของกลุ่ม
  • ส่งเสริมความไว้วางใจในความสามารถและประสบการณ์ของผู้อื่น
  • ไหวตัวอย่างเท่าทัน เพื่อลดอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของกลุ่ม
  • รักษาวัตถุประสงค์ ไม่อยู่ในท่าทีปกป้อง ไม่อยู่ในท่าทีตัดสิน

IAF Core Competencies translated by Ronnie – Run Theeran                  

Updated on December 10, 2019

เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments