Tag Archives: Emotional Intelligence

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

ก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย : Expand Your Comfort Zone

คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้บริหารมีคือ การเข้าใจคนที่ทำงานอยู่ในหลายๆ ตำแหน่ง และก็จะช่วยได้มากหากเราเคยมีประสบการณ์ทำงานในหลายๆ ตำแหน่งมาก่อน หรือ ได้มีโอกาสพูดคุยสนิทสนมกับคนในหลายๆ ตำแหน่ง หลายๆ ฝ่าย หลายๆ วัย การฝึกที่จะเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การฝึกทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ การพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สิ่งที่เราต้องการในการเผชิญความไม่คุ้นเคยก็คือ การออกนอกความคุ้นเคย (Comfort Zone) ในระดับที่พอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนเกิดอาการตื่นตระหนก (Panic Zone) การค่อยๆ ขยับจากความคุ้นเคยออกมา สู่การทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยที่ละนิด รู้สึกท้าทาย ในขณะที่ก็สามารถที่จะปล่อยวางจากผลลัพธ์ว่าจะต้องออกมาดูเก่ง ดูดี ดูฉลาด ดูถูกต้อง อย่างที่เราทำในสิ่งที่ถนัด เรียกพื้นที่ความท้าทาย ที่รู้สึกสบายใจเช่นนี้ว่า พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เป้าหมายของการก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การขยายศักยภาพใหม่ๆ ให้กับชีวิต ด้วยการสังเกตอาการอึดอัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นไปอย่างใจ อาจมีเสียงเล็กๆ ภายในของเราเอง (Inner Voice) ที่คอยให้เหตุผลต่างๆ นานา เพื่อให้เราย้อนกลับไปทำแบบเดิมๆ กลับไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอย่างเก่า เมื่อเราเท่าทันเสียงต้านทานภายในของเราเอง […]

การดูแลความก้าวร้าวในคน : Deal with Aggressiveness in People

การเผาไหม้ (Combustion) เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง เรียกว่า “Fire Triangle” ประกอบด้วย เชื้อเพลิง (Fuels) อากาศ (Oxygen) และ ความร้อน (Heat) ในขณะที่ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik) ได้อธิบายเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว (Aggressiveness) ผ่านวงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) เอาไว้ว่า เมื่อความโกรธ (Anger) ผสมโรงเข้ากับ ความคาดหวัง (Anticipation) จะเกิดเป็นความก้าวร้าวขึ้น เมื่อได้ลองอุปมาการเผาไหม้ เข้ากับการเกิดอารมณ์ก้าวร้าว ก็จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ชัด และ เกิดเป็นแนวคิดแนวทาง เพื่อดูแลความก้าวร้าวในคน (Deal with Aggressiveness in People) แบ่งเป็น 3 กลยุทธิ์ ดังนี้ครับ กลยุทธ์ที่ 1. ปรับทิศปิดลม (Smother Air […]

การพัฒนาด้านอารมณ์ : Emotional Development

เหตุการณ์ (Event) ที่เราพานพบเจอะเจอ บางเหตุการณ์เราก็ชอบ บางเหตุการณ์เราก็อาจจะไม่ชอบ เป็นสิ่งที่เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ สิ่งที่เราควบคุมเลือกทำได้ คือ จะตอบสนอง (Response) ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น หากเราต้องการผลลัพธ์ (Outcome) ที่แตกต่าง หรือ เป็นไปตามที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การเลือกตอบสนอง (Response) อย่างดีที่สุด แต่ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ (Event) ครับ Event * Response = Outcome เป็นสมการง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาอธิบาย เรื่องราวความเป็นไปในชีวิต และ การทำงานของเราได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอารมณ์ภายในจิตใจของเรา ส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) ในชีวิตประจำวันของเราด้วยครับ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) 2. เจตนา (Intention) โดยที่ การรับรู้เชิงบวก มีผลต่อการตอบสนองเชิงบวก (Response) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

เปิดศักยภาพใหม่ : รู้สึกตัวในสิ่งที่เคยคุ้น ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสมือซ้าย เขาเป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก และ จากสถิติต่าง ๆ จนถึงตอนนี้ เขาคงเป็นตำนานไปอีกนานครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีการฝึกซ้อมของเขาครับ ปกติแล้วเขาเป็นคนที่ถนัดมือขวา ทุกวันนี้เขายังคงเขียนหนังสือ และ แปรงฟันด้วยมือขวา แต่พอเล่นเทนนิสเขาจะใช้มือซ้าย ย้อนไปสมัยฝึกซ้อมเทนนิสเมื่อยังเด็ก เขาใช้สองมือตี แต่พอโตมาหน่อย จึงถนัดทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กันครับ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกใช้มือข้างเดียวเป็นหลัก ลุงที่เป็นโค้ชให้กับเขาก็แนะนำว่า “ฝึกใช้มือซ้ายเป็นหลักดีกว่า” เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ใช้มือขวา จะไม่ชินกับเรา แต่เราจะคุ้นชินกับเขา เวลาต้องเผชิญหน้ากันในสนาม ประโยชน์ของการฝึกมือซ้าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ เมื่อเราเชื่อมโยงกับเรื่องราวของสมอง ที่สมองซีกขวาควบคุมการทำงานฝั่งซ้าย และ สมองซีกซ้ายควบคุมการทำงานฝั่งขวา คนที่ถนัดมือซ้าย จำเป็นต้องฝึกใช้มือขวาไปโดยปริยาย เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบมาให้กับคนที่ถนัดมือขวาครับ ส่วนคนที่ถนัดมือขวาน้อยคนนักที่จะได้ฝึกทำอะไรด้วยมือซ้าย มีงานวิจัยพบว่าคนที่ถนัดมือซ้าย สามารถทำงานที่ต้องเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีกว่าคนที่ถนัดมือขวาครับ ศิลปินชื่อดังจำนวนมากถนัดมือซ้ายครับ อาทิเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี, ไมเคิล แองเจโล, ปิกัสโซ, […]

กระบวนการเรียนรู้ : PURE Learning Process

อ.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมขึ้นมา โดยมีชื่อที่จดจำง่าย ๆ ว่า “PURE” เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคุณลักษณะด้านใน สำหรับหลักสูตรทักษะการนำกระบวนการ และ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitation Skills) และ  หลักสูตร ผู้นำความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence for Leader) PURE Learning Process เพื่อใช้ในบริบทงานฝึกอบรม และ ชีวิตประจำวัน P : Practice, Activity and Workshop U : Understanding and Contemplating R : Reflection and Group Coaching E : Explaining and Storytelling PURE Advance Mode เพื่อการเรียนรู้พัฒนาชีวิตในระดับสูง สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นสุด ประกอบด้วย 4 […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

มุมมองเชิงบวก : positive outlook

การมีมุมมองเชิงบวก (positive outlook) คือ สมรรถนะของผู้นำในทุกระดับ เป็นความสามารถในการมองเห็นข้อดีในบุคคล ในสถานการณ์ และ เหตุการณ์ต่างๆ ยืนหยัดอยู่บนทางสู่เป้าหมายได้ต่อไป แม้ว่าจะพลาดพลั้ง หรือ พบเจออุปสรรค ยังคงเห็นโอกาสในสถานการณ์เหล่านั้นได้ เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) คำถามชวนคิดในงานเขียนนี้ ก็คือ หากเราเป็นคนที่มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกออนไลน์ มีข้อความกล่าวชมเรานับหมื่น แต่แล้ววันหนึ่ง เราก็พบว่า มีข้อความในเชิงลบ กล่าวว่าร้ายเรา ในวันนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร ความคิดของเราจะชี้เราไปทางใด เรามั่นใจในความคิดเชิงบวกของเราได้แค่ไหน ? แล้วเราจะกลับมามีมุมมองเชิงบวกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร ? ลองอ่านงานเขียนนี้ พร้อมๆ กับใคร่ครวญไปด้วยว่า เราจะพัฒนาอารมณ์เชิงบวกของเราไปในทิศทางไหนดี สมองกับมุมมองเชิงบวก เราพบว่าคนที่มีมุมมองเชิงบวก สมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (the left-side of the prefrontal region) จะทำงานมากกว่า เรายังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเพราะอะไร แต่สมองส่วนนี้เชื่อมกับส่วนที่เรียกว่า […]