Tag Archives: ESCI

มุมมองเชิงบวก : positive outlook

การมีมุมมองเชิงบวก (positive outlook) คือ สมรรถนะของผู้นำในทุกระดับ เป็นความสามารถในการมองเห็นข้อดีในบุคคล ในสถานการณ์ และ เหตุการณ์ต่างๆ ยืนหยัดอยู่บนทางสู่เป้าหมายได้ต่อไป แม้ว่าจะพลาดพลั้ง หรือ พบเจออุปสรรค ยังคงเห็นโอกาสในสถานการณ์เหล่านั้นได้ เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) คำถามชวนคิดในงานเขียนนี้ ก็คือ หากเราเป็นคนที่มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกออนไลน์ มีข้อความกล่าวชมเรานับหมื่น แต่แล้ววันหนึ่ง เราก็พบว่า มีข้อความในเชิงลบ กล่าวว่าร้ายเรา ในวันนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร ความคิดของเราจะชี้เราไปทางใด เรามั่นใจในความคิดเชิงบวกของเราได้แค่ไหน ? แล้วเราจะกลับมามีมุมมองเชิงบวกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร ? ลองอ่านงานเขียนนี้ พร้อมๆ กับใคร่ครวญไปด้วยว่า เราจะพัฒนาอารมณ์เชิงบวกของเราไปในทิศทางไหนดี สมองกับมุมมองเชิงบวก เราพบว่าคนที่มีมุมมองเชิงบวก สมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (the left-side of the prefrontal region) จะทำงานมากกว่า เรายังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเพราะอะไร แต่สมองส่วนนี้เชื่อมกับส่วนที่เรียกว่า […]

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ : achievement orientation

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) คือ การมุ่งมั่นปรับปรุง และ พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต หรือ กับบุคคลต้นแบบ (role models) มีความสนใจใคร่รู้ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย รวมถึงสามารถปรับสมดุลระหว่างพลังความมุ่งมั่นภายในตนเอง กับการบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) ภาวะผู้นำกับความสำเร็จร่วมกัน ผู้นำที่มีสมรรถนะในการดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) จะมีความคุ้นเคยกับความเสี่ยง สามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และ แน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ เป้าหมายยิ่งท้าทายก็ยิ่งนำสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นเท่านั้น และ เขาหรือเธอก็มักจะทำสำเร็จได้ในทุกๆครั้ง แต่ทันทีที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ก้าวขาที่เคยท้าทายอาจกลายเป็นก้าวขาที่สร้างความกังวลให้กับทีมงาน หากก้าวขานั้นยาวมาก และ ต้องการให้ทุกคนทำตามได้เช่นเดียวกัน อาจถูกมองว่า บ้าอำนาจ (power over) ได้ง่ายๆ ผู้นำจึงจำเป็นต้องมีทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ซึ่งจะทำให้สามารถหาสมดุลความเสี่ยงที่เหมาะสมกับทีมงาน ตั้งเป้าในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ความสำเร็จกับสมอง Richard J. Davidson นักประสาทวิทยา […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]