Category Archives: จิตตปัญญาศึกษา

world view, inner practice, conduct, transformation, spiritual, facilitator, taps, holistic thinking, …

extra : the diamond that cuts through illusion, …

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ : Integral Mathematics by Ken Wilber

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ Integral Mathematics by Ken Wilber . ผลงานของ Ken Wilber เป็น Soft Skills ที่ลึกล้ำมาก การจะเข้าใจให้ได้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน แต่พอเราเข้าใจในส่วนไหนอย่างถ่องแท้ ก็จะพบว่ามันคือพื้นฐานที่ดีมาก ๆ ในการต่อยอดสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่แน่นหนา . งานเขียนนี้ ผมเขียนแบบกระชับ ถ้าอ่านแล้วมึน ๆ นั่นถือว่าปกติแล้ว แต่ถ้ามึนมากจน “มึนติ๊บ” ให้หยุดอ่านก่อนได้ครับ ในงาน In-House Training ผมก็ไม่ได้สอนลึกถึงขนาดนี้นะ ^__^ . . จากภาพ 8 วิธีการหลัก (8 Major Methodologies) ที่ให้มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง ฟังแล้วก็งงใช่ไหมครับ ฟังซ้ำอีกที มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง เอาเป็นว่ามันซ้อนกันรวมแล้วมี 3 มุมมองนะ […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

ไว้วางใจในธรรมชาติ : surrender to the nature

เราไว้วางใจในธรรมชาติมากแค่ไหน อาจหมายถึงความไว้วางใจ ที่จะออกเดินทางเยี่ยงนักจาริกหลายท่านที่พบกับชีวิตใหม่ ภายหลังการเดินทางโดยไม่พกเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในที่ที่ไม่คุ้นเคย การสื่อสารผ่านภาษาใจ ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ การเดินทางบนเส้นทาง แห่งความไว้วางใจในธรรมชาติ ในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การหมั่นดูแลเมล็ดพันธุ์ภายในของตนเอง บ่มเพาะพลังบวก ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายใน และ เฝ้าสังเกต เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ในมุมมองนั้น แม้อาจเป็นเหตุการณ์เดิม แต่เราจะพบว่า โอกาสดีๆ ของชีวิตนั้นมีมากมาย เหมือนโลกใบใหม่ ที่เต็มไปด้วยการชื่นชม ความสำนึกคุณ การขอบคุณ และ ความโชคดี ความหวังดี และ พยายามจัดแจงให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นทำอย่างนี้ ให้คนนี้ทำอย่างนั้น ในห้วงขณะที่ จิตใจของเรากำลังเจือปนอยู่ด้วยความอยากเสียเอง เท่ากับการเขย่าตะกอนภายในจิตใจของเราให้ขุ่นขึ้นมาแล้วดื่มกิน เราแสดงความคิดเห็นออกไปในขณะที่ใจร้อนรน การแสดงออกบนพื้นฐานเหล่านั้น อาจหมายถึง เรายังไม่ได้ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายในอย่างเพียงพอ เส้นทางชีวิต มีหลากหลายหนทาง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น ไว้วางใจในธรรมชาติแค่ไหน

ความงามอันนิรันดร์ : spacetime

การมองเห็นภาพอดีต ในมุมมองใหม่ๆ ทำให้พบว่า ในแต่ละวัน นอกจากมุมมองที่เราเคยจมดิ่งกับเหตุการณ์ตามกาลเวลาในครั้งนั้นแล้ว ซึ่งอาจทำให้เราอึดอัด น้อยใจ หรือ โกรธเคือง ยังมีมุมมองอื่น ที่เราสามารถมองมันได้อย่างสบายๆ อยู่ด้วย เปรียบเหมือนเห็นภาพอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ซ้อนทับกันอยู่ในคราวเดียว การตระหนักรู้ว่ามีอีกมุมมองหนึ่ง ที่อยู่เหนือกาลเวลา การมองจากมุมนั้น ช่วยให้เราโต้คลื่นในมิติแห่งกาลเวลา โดยไม่จมดิ่งลงไป มิติแห่งกาลเวลานั้นสวยงาม ทุกอย่างแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ความแปรเปลี่ยนสร้างความหลากหลายที่สวยงามอย่างลึกซึ้ง ณ ช่วงขณะนั้น ไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม เมื่อเห็นความงามในความแปรเปลี่ยน กาลเวลาก็มิอาจขวางกั้น ความงามอันนิรันดร์

อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ : the power of spirituality

งานเขียนนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้ จากการได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กับอาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ในหัวข้อ “อำนาจกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ” ที่สวนอาศรมวงศ์สนิท ตั้งแต่วันที่ 16-18 กันยายน 2559 Body Scan การเน้นกลับมาดูแลฐานกายเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างความคิดที่มากมาย ปรับผ่อนความเครียด ผ่านทางร่างกาย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนกลางลำตัว และ ส่วนใต้ก้นกบลงไป รักตัวเองให้ได้ก่อนสิ่งอื่นใด ด้วยการกลับมาดูแลร่างกายตัวเองให้ผ่อนคลาย สมดุล และ มั่นคง “ขมิบก้น แขม่วท้อง หายใจเข้าลึก…ให้ถึงก้นกบ หายใจออก… ผ่อนคลายส่วนล่าง ส่วนกลาง ส่วนบน รับรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว จากการหายใจ รับรู้ความรู้สึกทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง” Original Mind จิตที่สดใหม่ หรือ จิตผู้เริ่มต้น (beginner’s mind) เสมือนฟ้าใสไร้ก้อนเมฆ […]

จิตวิญญาณเพื่อสังคม : spirituality for society

4 กันยายน 2559 ได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี อย่างใกล้ชิด ท่านมาบรรยายในหัวข้อ จิตวิญญาณเพื่อสังคม (spirituality for society) ท่านสาธยายให้เห็นถึงที่มาของ วิกฤตอารยธรรม (civilization crisis) ที่เกิดขึ้นปลายยุคอุตสาหกรรม คำว่า “โลกาภิวัตน์” กลับไม่ใช่เพื่อการอยู่ร่วมกันดังความหมาย แต่กลับคือความสะดวกรวดเร็วทางด้านข้อมูลข่าวสาร การเงิน และ การขนส่ง ที่ส่งผลให้เกิดการถาถมความเจริญเข้าส่วนกลาง ส่งเสริมให้มนุษย์เห็นแก่ตัว พอกพูนอัตตาตัวตน ในส่วนของทางออกนั้น ท่านพูดถึงการผุดบังเกิดแห่งยุคใหม่ เรียกว่า ยุคจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) ซึ่งจะเกิดได้จากการได้ทำในสิ่งที่ชอบ อย่างปราณีต แล้วรวมกลุ่มกัน สำเร็จด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ออกจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง (self-center) เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพาน เข้าสู่การเป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อมโยงกลุ่มเป็นเครือข่าย การปฏิวัติสัมพันธภาพ หรือ อาจเรียกว่า ยุทธศาสตร์สมองส่วนหน้า (neocortex) ที่เป็นส่วนของสติ ปัญญา และ ศีลธรรม โดยให้ออกจากสังคมแบบระบบ top-down ที่มีส่วนไปกระตุ้นสมองชั้นใน (reptilian […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

เทคนิคง่ายๆ ของการมีความสุข : the secret to being happy

ความรู้สึกทุกข์ไม่ได้หายไปด้วยการผลักไส แต่เกิดจากการเชิญความรู้สึกอื่นๆ เข้ามาแทนที่ หากเราเชิญความสุขแบบผิวเผินเข้ามาแทนที่ความทุกข์ เช่น การออกไปสังสรรค์ เที่ยวเตร่ ที่ให้ความสุขแค่เพียงเปลือกนอก ไม่ช้าก็เร็ว ความรู้สึกทุกข์เช่นเดิมก็จะกลับเข้ามาครอบครองในใจของเรา Matthieu Ricard มนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้มีความสุขที่สุดในโลก โดยมีผลรับรอง จากงานวิจัยของ Richard Davidson นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง เปิดเผยเทคนิคง่ายๆ ของการมีชีวิตที่มีความสุข แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้ ? หนึ่ง หยุดคิดถึงแต่ตัวเอง . ความเมตตาทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นยังทำให้คนอื่นรักเราด้วย ไม่ใช่การคาดคั้นตัวเองให้ต้องทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เราแค่เพียงเมตตา และ ช่วยเหลือด้วยใจ ? สอง ฝึกฝนให้ดีขึ้นๆ ทุกคนมีศักยภาพที่จะมีความสุข เราไม่ได้ฝึกฝนความคิดจิตใจ เพื่อเอาชนะใคร หรือ เพื่อเป็นแชมป์โอลิมปิก แต่ทุกครั้งที่เราฝึกฝน นั่นช่วยยกระดับความสุขของเรา ? สาม คิดถึงความสุข ใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเนื่องในหนึ่งวัน เพื่อคิดถึงความสุข สัมผัสถึงความรู้สึก จากประสบการณ์ที่เคยมีความสุข และ สิ่งนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสมาธิด้วย […]