คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ : Integral Mathematics by Ken Wilber

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์
Integral Mathematics by Ken Wilber
.
ผลงานของ Ken Wilber เป็น Soft Skills ที่ลึกล้ำมาก การจะเข้าใจให้ได้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน แต่พอเราเข้าใจในส่วนไหนอย่างถ่องแท้ ก็จะพบว่ามันคือพื้นฐานที่ดีมาก ๆ ในการต่อยอดสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่แน่นหนา
.
งานเขียนนี้ ผมเขียนแบบกระชับ ถ้าอ่านแล้วมึน ๆ นั่นถือว่าปกติแล้ว แต่ถ้ามึนมากจน “มึนติ๊บ” ให้หยุดอ่านก่อนได้ครับ ในงาน In-House Training ผมก็ไม่ได้สอนลึกถึงขนาดนี้นะ ^__^

.

.
จากภาพ 8 วิธีการหลัก (8 Major Methodologies) ที่ให้มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง ฟังแล้วก็งงใช่ไหมครับ ฟังซ้ำอีกที มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง เอาเป็นว่ามันซ้อนกันรวมแล้วมี 3 มุมมองนะ (3 Major Perspectives) มันจะคืออะไรบ้าง ค่อย ๆ ดูกันต่อ
.
ลองนึกถึงตอนที่เรานั่งสมาธินะครับ สิ่งที่เราสังเกตก็คือภายในของเราเอง ไม่ใช่ภายนอก จะแทนด้วยสัญลักษณ์ 1p ครับ (1st Person) แต่ถ้าเป็นการสังเกตภายนอก Ken Wilber ให้แทนด้วยสัญลักษณ์ 3p ครับ (3rd Person) สรุปในกรณีนั่งสมาธิ จะแทนด้วย 1p ครับ
.
มุมมองต่อมา (มุมมองที่ 2) เราจะพิจารณาว่า สิ่งที่เรากำลังศึกษานั้น เกิดจากมุมมองของเจ้าตัวเอง หรือ เกิดจากมุมมองภายนอก อย่างกรณีนั่งสมาธิอยู่นี่ เราจะรู้สึก ๆ ด้วยภายในของเราเอง (Interior Awareness) หมายถึง เป็นความรู้สึกของเราเอง เป็นความคิดของเราเองทั้งนั้น ไม่ได้ใช่ความรู้สึก หรือ ความคิดของใคร (Exterior Awareness) จึงเรียกว่าเป็นการเกิดมุมมองจากตัวเอง จะแทนด้วยสัญลักษณ์ 1-p ครับ แต่ถ้าเกิดจากภายนอกจะแทนด้วยสัญลักษณ์ 3-p ครับ สรุปในกรณี นั่งสมาธินี่ จะแทนด้วย 1-p ครับ
.
กรณีแสวงหาความรู้ผ่านการนั่งสมาธิ ก็จะได้สัญลักษณ์จาก 2 มุมมองแล้วครับ ให้เอามาเขียนต่อกัน จะได้เป็น 1-p x 1p
.
พักหายใจกันสักแปร๊บบนะครับ ลุกไปเดินสูดอากาศเข้าให้เต็มปอดก็ยิ่งดี ค่อยมาอ่านต่อนะครับ อิอิ
.
เหลืออีกมุมมองหนึ่งครับ (มุมมองที่ 3) กรณีที่นั่งสมาธิอยู่นี่ ใครเป็นคนสังเกตความคิด ความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาครับ ถ้าตอบว่าเป็นคนอื่น (ผมเข้าใจว่าอาจหมายถึง กรณีที่มีความคิด ตีความในสภาวะ) ก็จะแทนด้วย 3-p แต่ถ้าตอบว่าเป็นตัวเองก็จะแทนด้วย 1-p ครับ เป็นไปได้ทั้ง 2 แบบครับ จึงเกิดคณิตศาสตร์บูรณาการ สำหรับการแสวงหาความรู้ผ่านการนั่งสมาธิ (Integral Mathematics) ดังนี้
.
แบบที่ 1 คือ 1-p x 1-p x 1p
แบบที่ 2 คือ 3-p x 1-p x 1p
.
Ken Wilber เรียกการทำสมาธิแบบที่ 1 ว่า Pure Mediation นั่นคือ 1-p x 1-p x 1p เป็นมุมมองภายในของการตระหนักรู้ภายในของบุคคลที่ 1 (the inside view of the interior awareness of my 1st person) จากรูป จะอยู่ที่ Zone 1 หรือเรียกว่า Phenomenology ครับ
.
มีแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจชื่อเรื่อง Spiral Dynamics เป็นเหมือนแผนที่ที่อธิบายถึงระดับของการตระหนักรู้ของมนุษย์ หากใครไม่เคยได้ยินก็ขอให้ผ่านย่อหน้านี้ไปก่อน ส่วนคนที่เคยได้ยินมาก่อน ก็จะขอเชื่อมโยงกับเรื่องคณิตศาสตร์บูรณาการไว้ว่า เราจะเขียนแทนมันด้วย 3-p x 1-p x 1p จากรูป จะอยู่ Zone 2 หรือเรียกว่า Structuralism
.
ปัจจุบัน การทำวิจัยโดยส่วนใหญ่ เราจะทำการศึกษาเรื่องภายนอก (3p) และ ศึกษาผ่านเสียงภายนอก (3-p) โดยการตีความจากเรา ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก (3-p) เขียนเป็นสมการได้ว่า 3-p x 3-p x 3p จากรูป จะอยู่ Zone 6 หรือเรียกว่า Empiricism ครับ
.
ยังมีการแสวงหาความรู้ในแบบอื่น ๆ อีกเพียบเลยครับ ลองดูกันต่อที่ Zone # 5 เรียกว่า Autopoiesis เช่น วิทยาการปัญญา (Cognitive Science) เราจะเขียนเป็นสมการได้ว่า 3-p x 1-p x 3p เป็นการศึกษาสิ่งภายนอกตัว จากเสียงภายในของเขาเอง โดยเราซึ่งเป็นผู้สังเกต เป็นบุคคลภายนอก ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ศึกษาแต่อย่างใด
.
ตัวอย่างการศึกษาแบบ Autopoiesis ก็เช่น การเฝ้าสังเกต การงอกงามของต้นไม้ โดยไม่เอาความรู้ของเรามาอธิบาย ไม่จำเป็นต้องรู้จักใบเลี้ยงเดี่ยว-ใบเลี้ยงคู่ ไม่ต้องนับจำนวนใบ ไม่ต้องวัดส่วนสูง สังเกตแบบที่หัวโล่ง ๆ ที่สุด ตีความน้อยที่สุด เพียงปล่อยใจสัมผัสไปที่อารมณ์ความรู้สึกของต้นไม้ เขากำลังสะท้อนเรื่องราวอะไรออกมา
.
สรุปจากรูป ได้อ้างถึง Zone 1, 2, 5 และ 6 ไปแล้วนะครับ ถึงตรงนี้ สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการแสวงหาความรู้ที่หลากหลายช่องทางมากมาย ตกลงว่าหากอยากรู้ว่า “จักรวาล” เป็นอย่างไร เราจะศึกษาผ่านทางไหนดี ?

เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments