Category Archives: การเรียนรู้

wisdom,willing,feeling,thinking,brain,the fifth discipline, …

extra : foundations of mindfulness, insight-knowledge, …

การเรียนรู้ที่เรียบง่าย คือ ที่สุดของการเรียนรู้ : simple is good

เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เรียนพร้อมเรียนรู้ หรือ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้อย่างลึกซึ้ง เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่างๆ จึงไม่ใช่แก่นสาระของการเรียนรู้ คุณค่าจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ถูกจังหวะ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เครื่องมือการเรียนรู้ ที่เรียบง่ายที่สุด คือ การพูดคุยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ หากสามารถพูดคุยกันได้ รับฟังกันได้ มีความไหลลื่นในวงสนทนาดีอยู่แล้ว (Generative Dialogue) เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมใดๆ ให้มากไปกว่านี้ PURE Learning Process

กระบวนการเรียนรู้ : PURE Learning Process

อ.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมขึ้นมา โดยมีชื่อที่จดจำง่าย ๆ ว่า “PURE” เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคุณลักษณะด้านใน สำหรับหลักสูตรทักษะการนำกระบวนการ และ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitation Skills) และ  หลักสูตร ผู้นำความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence for Leader) PURE Learning Process เพื่อใช้ในบริบทงานฝึกอบรม และ ชีวิตประจำวัน P : Practice, Activity and Workshop U : Understanding and Contemplating R : Reflection and Group Coaching E : Explaining and Storytelling PURE Advance Mode เพื่อการเรียนรู้พัฒนาชีวิตในระดับสูง สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นสุด ประกอบด้วย 4 […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

จิตวิญญาณเพื่อสังคม : spirituality for society

4 กันยายน 2559 ได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี อย่างใกล้ชิด ท่านมาบรรยายในหัวข้อ จิตวิญญาณเพื่อสังคม (spirituality for society) ท่านสาธยายให้เห็นถึงที่มาของ วิกฤตอารยธรรม (civilization crisis) ที่เกิดขึ้นปลายยุคอุตสาหกรรม คำว่า “โลกาภิวัตน์” กลับไม่ใช่เพื่อการอยู่ร่วมกันดังความหมาย แต่กลับคือความสะดวกรวดเร็วทางด้านข้อมูลข่าวสาร การเงิน และ การขนส่ง ที่ส่งผลให้เกิดการถาถมความเจริญเข้าส่วนกลาง ส่งเสริมให้มนุษย์เห็นแก่ตัว พอกพูนอัตตาตัวตน ในส่วนของทางออกนั้น ท่านพูดถึงการผุดบังเกิดแห่งยุคใหม่ เรียกว่า ยุคจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) ซึ่งจะเกิดได้จากการได้ทำในสิ่งที่ชอบ อย่างปราณีต แล้วรวมกลุ่มกัน สำเร็จด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ออกจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง (self-center) เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพาน เข้าสู่การเป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อมโยงกลุ่มเป็นเครือข่าย การปฏิวัติสัมพันธภาพ หรือ อาจเรียกว่า ยุทธศาสตร์สมองส่วนหน้า (neocortex) ที่เป็นส่วนของสติ ปัญญา และ ศีลธรรม โดยให้ออกจากสังคมแบบระบบ top-down ที่มีส่วนไปกระตุ้นสมองชั้นใน (reptilian […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

เทคนิคง่ายๆ ของการมีความสุข : the secret to being happy

ความรู้สึกทุกข์ไม่ได้หายไปด้วยการผลักไส แต่เกิดจากการเชิญความรู้สึกอื่นๆ เข้ามาแทนที่ หากเราเชิญความสุขแบบผิวเผินเข้ามาแทนที่ความทุกข์ เช่น การออกไปสังสรรค์ เที่ยวเตร่ ที่ให้ความสุขแค่เพียงเปลือกนอก ไม่ช้าก็เร็ว ความรู้สึกทุกข์เช่นเดิมก็จะกลับเข้ามาครอบครองในใจของเรา Matthieu Ricard มนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้มีความสุขที่สุดในโลก โดยมีผลรับรอง จากงานวิจัยของ Richard Davidson นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง เปิดเผยเทคนิคง่ายๆ ของการมีชีวิตที่มีความสุข แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้ ? หนึ่ง หยุดคิดถึงแต่ตัวเอง . ความเมตตาทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นยังทำให้คนอื่นรักเราด้วย ไม่ใช่การคาดคั้นตัวเองให้ต้องทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เราแค่เพียงเมตตา และ ช่วยเหลือด้วยใจ ? สอง ฝึกฝนให้ดีขึ้นๆ ทุกคนมีศักยภาพที่จะมีความสุข เราไม่ได้ฝึกฝนความคิดจิตใจ เพื่อเอาชนะใคร หรือ เพื่อเป็นแชมป์โอลิมปิก แต่ทุกครั้งที่เราฝึกฝน นั่นช่วยยกระดับความสุขของเรา ? สาม คิดถึงความสุข ใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเนื่องในหนึ่งวัน เพื่อคิดถึงความสุข สัมผัสถึงความรู้สึก จากประสบการณ์ที่เคยมีความสุข และ สิ่งนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสมาธิด้วย […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]