Category Archives: การเรียนรู้

wisdom,willing,feeling,thinking,brain,the fifth discipline, …

extra : foundations of mindfulness, insight-knowledge, …

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

กระบวนกร สะท้อนธรรม สำหรับโค้ช: The Art of Living

งานครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการโค้ช การฟัง และ พื้นฐานของสติที่ดี ซึ่งเกื้อหนุนให้เกิดการสะท้อนร่วมกัน เกิดเป็นวงสนทนาแห่งสติได้ไม่ยาก การให้ห้องเรียนแรก คือ ตัวของผู้เรียนเอง จึงทำให้การเรียนรู้ลงสู่ฐานใจได้ง่าย บวกกับการเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเป็นมิตรกับความเงียบด้วยถ้อยคำว่า “เราคือส่วนหนึ่งของความเงียบ” ได้ช่วยลดการครุ่นคิดแบ่งแยกในระหว่างความเงียบ ผู้เรียนจึงดำรงอยู่ในความเงียบ ได้แบบลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่ได้ใคร่ครวญลงสู่ฐานใจ แทนที่จะพยายามทำลายความเงียบนั้น ปัญญาในวงสนทนาจึงเป็นอิสระ เกิดการเรียนรู้ที่ขยายจากห้องเรียนของตัวเอง สู่การเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนของแต่ละคน (Collective Intelligence) ปรากฏการณ์นี้ จะยังคงเกิดขึ้น แม้สิ้นสุดเวลาของ Workshop ไปแล้ว กระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการจับประเด็น ในช่วงที่ผู้เรียนรู้ Check-in บอกเล่าถึงความเข้าใจ และ ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับคำว่า “The Art of Living” สรุปได้คำสำคัญต่าง ๆ คือคำว่า “ครูกระบวนกร”, “สุนทรียสนทนา”, “อัตตา”, “ความเงียบ”, “ฐานใจ” และ “ความตาย” แล้วนำเอาคำต่าง ๆ ที่ได้มาจากช่วง Check-in มาเรียบเรียงเป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอบคุณห้องเรียนทุกห้อง […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]

เล่าเรื่องย่อจิตตนคร ในงานวัดลอยฟ้า จิตตนคร : mind city

วันที่ 3 – 7 เมษายน 2557 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธรรมภาคี สวนโมกข์ กรุงเทพฯ องค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย ได้ร่วมกันจัดมหกรรมงานวัด (temple fair) กลางกรุง บนห้างสรรพสินค้า สยาม พารากอน ชื่องานว่า งานวัดลอยฟ้า จิตตนคร ในงานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเล่าเรื่องย่อ จิตตนคร นครหลวงของโลก พระนิพนธ์ ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก* ให้กับผู้ที่มาร่วมชมงาน ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวในพระนิพนธ์ แบบพอสังเขป ในแบบสนุกสนาน เข้าใจง่ายๆ ภายในเวลา 20-30 นาที จิตตนคร เป็นนครหลวงของโลก เป็นแหล่งเกิดแห่งสุข ทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม สมบัติ และ วิบัติแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเมืองลับแล ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นได้ด้วยตาใจ เมื่อทำความสงบจิตดู เหตุการณ์สำคัญ ในวันปีใหม่ […]

ผลผลิตจากความคิดเห็นที่จริงแท้ : shared vision

เรียนรู้ เรื่อง การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building shared vision) ผ่านนิทาน เรื่อง ฟังเสียงภูเขาไฟ (Listening to the Volcano : conversations that open our minds to new possibilities) แต่งโดย David Hutchens สรุปเรื่องย่อพอสังเขป ได้ตามนี้เลยครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาไฟที่คุกรุ่น ชื่อว่า หมู่บ้านต้นสน ผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูดออกมา จะมีวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ หล่นออกมาจากปากผู้พูดด้วย เรียกว่า แผ่นคำพูด คล้ายๆ กับนวนิยายไทย เรื่องพิกุลทองเลยแฮะ เวลาที่นางเอกพูดจะมีดอกพิกุลทองล่วงหล่นออกมาด้วย แต่ในนิทานเรื่องนี้ แผ่นคำพูดมีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมนะครับ ขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว ประมาณ 1 ตารางฟุตเห็นจะได้ โดยมีความหนาประมาณอิฐก้อนนึงเลยนะ ความแปลกพิศดารของผู้คนในหมู่บ้านนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องแผ่นคำพูดนะครับ ยังมี แผ่นความคิด อีกด้วย เพียงแต่แผ่นความคิดจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นบางครั้งเท่านั้น เมื่อชาวบ้านสงบนิ่งเพียงพอ จนเกิดเป็นความคิดแบบปิ๊งแว๊บขึ้นมา จึงจะเกิดเป็นแผ่นความคิดนะ ส่วนแผ่นคำพูดนั้น […]