Category Archives: 04 Relationship Management

1. Developing others and team learning
2. Diversity and Listening
Listening is key to all effective communication
3. Social skills
Good social skills will drive collaboration and teamwork.
Professor Albert Mehrabian’s communications model (words 7%, vocal elements 38%, non-verbal 55%)
4. Collaboration and Teamwork
Make the person feel valued and make the work they do have value.

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

ฟัง และ ซึมซับ : listen and absorb

“Learn to be silent. Let your quiet mind listen and absorb.” — Pythagoras — เรียนรู้ที่จะเงียบ ปล่อยให้จิตใจได้เงียบงัน ฟัง และ ซึมซัม — ปีทากอรัส — เสียงเล็กๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง อาจผุดขึ้นมากลางวง ในลักษณะของคำถาม หรือ ข้อคิดเห็นที่คลุมเครือ กระบวนกรไม่จำเป็นต้องมุ่งไปคลี่คลายถ้อยคำนั้น โดยทันทีทันใดจนหมดเปลือก การซึบซับไปที่สภาวะผู้เรียน จะทำให้เรารู้ว่า อาจควรแค่ฟัง หรือ เลือกจะตอบรับเพียงแค่ว่า “น่าสนใจ และ เธอมีอะไรจะพูดเพิ่มเติมไหม” นี่คือ การดำรงอยู่ที่เต็มเปี่ยมอย่างหมดจดของกระบวนกร เสียงเล็กๆที่ผุดขึ้น อาจไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่คือการแหวกทาง ตรวจความปลอดภัย ตระเตรียมพื้นที่เล็กๆ ก่อนที่พูดอะไรอย่างซื่อตรงจากภายใน หรือ เริ่มกล้าที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นวิเศษยิ่งกว่าการมอบเทคนิควิธีการใดๆ . ฟัง และ ซึมซับ ก็คือ การสอนโดยไม่สอน […]

การเรียนรู้ที่เรียบง่าย คือ ที่สุดของการเรียนรู้ : simple is good

เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เรียนพร้อมเรียนรู้ หรือ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้อย่างลึกซึ้ง เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่างๆ จึงไม่ใช่แก่นสาระของการเรียนรู้ คุณค่าจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ถูกจังหวะ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เครื่องมือการเรียนรู้ ที่เรียบง่ายที่สุด คือ การพูดคุยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ หากสามารถพูดคุยกันได้ รับฟังกันได้ มีความไหลลื่นในวงสนทนาดีอยู่แล้ว (Generative Dialogue) เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมใดๆ ให้มากไปกว่านี้ PURE Learning Process

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ : achievement orientation

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) คือ การมุ่งมั่นปรับปรุง และ พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต หรือ กับบุคคลต้นแบบ (role models) มีความสนใจใคร่รู้ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย รวมถึงสามารถปรับสมดุลระหว่างพลังความมุ่งมั่นภายในตนเอง กับการบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) ภาวะผู้นำกับความสำเร็จร่วมกัน ผู้นำที่มีสมรรถนะในการดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) จะมีความคุ้นเคยกับความเสี่ยง สามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และ แน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ เป้าหมายยิ่งท้าทายก็ยิ่งนำสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นเท่านั้น และ เขาหรือเธอก็มักจะทำสำเร็จได้ในทุกๆครั้ง แต่ทันทีที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ก้าวขาที่เคยท้าทายอาจกลายเป็นก้าวขาที่สร้างความกังวลให้กับทีมงาน หากก้าวขานั้นยาวมาก และ ต้องการให้ทุกคนทำตามได้เช่นเดียวกัน อาจถูกมองว่า บ้าอำนาจ (power over) ได้ง่ายๆ ผู้นำจึงจำเป็นต้องมีทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ซึ่งจะทำให้สามารถหาสมดุลความเสี่ยงที่เหมาะสมกับทีมงาน ตั้งเป้าในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ความสำเร็จกับสมอง Richard J. Davidson นักประสาทวิทยา […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]