Tag Archives: Deal with defense mechanisms

ก้าวสู่โหมดท็อปฟอร์ม : Deal with Defense Mechanisms

จากเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก World Cup Moscow ในนัดประเดิมสนามของแต่ละทีม หลายคนก็ได้เห็นฟอร์มของทีมที่ตัวเองเชียร์อยู่ รวมถึงฟอร์มของนักเตะระดับโลก อย่างเช่น โรนัลโด ทีมชาติโปรตุเกส และ เมสซี่ ทีมชาติอาร์เจนติน่าด้วย ในนัดประเดิมสนามนั้น โรนัลโด้ ซัดแฮตทริกได้อย่างสวยงาม แต่เมสซี่ เผด็จศึกจากการเตะจุดโทษไม่เข้า ฟอร์มของนักเตะแต่ละคนได้ส่งผลต่อผลการแข่งขัน ดูเหมือนว่าฟอร์มการเล่นของนักเตะนั้น สามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ เป็น 2 โหมด และเราก็มักจะเรียกกันว่า โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก ในชีวิตของเราก็เช่นกันครับ เราสามารถแบ่งโหมดของชีวิตเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ได้เป็น 2 โหมด คือ โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก เวลาท็อปฟอร์ม เราจะอารมณ์ดี ใจสบาย ทำงานได้ต่อเนื่อง เกิดผลงาน ได้มาตรฐาน ลำดับความสำคัญของงานได้อย่างดี ถึงมีงานมาก ก็รู้ว่าทำได้ทีละอย่าง มีความสัมพันธ์ที่ดี สานสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยการพูดคุยเชิงบวก ชื่นชมผู้อื่นอยู่เสมอ สร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ พร้อมทั้งยังเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างง่าย ๆ ด้วย แต่เมื่อฟอร์มตก […]

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]

9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ : THE 9 ESSENCES FOR NEW EXECUTIVE

จากประสบการณ์การเป็นผู้บริหารองค์กร และ การได้สนทนาสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์กร รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำให้กับองค์กร พบว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนได้ฝึก “รู้สึกตัวกับสิ่งที่เคยคุ้น และ ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย“ ภายใต้เงื่อนไขว่า บรรยากาศในการเรียนเหมาะสม และ ผู้เรียนต้องมีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ด้วย เนื่องจาก หากเผชิญกับประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยอารมณ์เชิงลบ การเรียนรู้พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจก็จะไม่เกิดขึ้น การเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจ อุปมาเหมือนกับ ประตูตัวตนเริ่มถูกเคาะ แต่ยังไม่เปิดออก เพราะกลัวสูญเสียการควบคุม กลัวไม่เก่ง กลัวไม่ดี กลัวไม่ถูก กลัวไม่ฉลาดเหมือนเก่า กลัวความไม่รู้ ดำรงอยู่กับการเรียนรู้ได้ไม่นาน อยากรู้เร็ว ๆ โดยไม่ต้องฝึก เนื่องจาก สมองใช้กลไกปกป้องตัวตน พยายามกลับมาเป็นแบบที่ถนัด ใช้ตัวตนเดิม ๆ คิดออกนอกตัว ออกห่างจากจิตใจตนเอง จึงลืมรับผิดชอบความรู้สึกของตนเอง เมื่อสภาวะด้านอารมณ์ปั่นป่วนจะถ่ายเทไปนอกตัวโดยการโทษสิ่งอื่น คนอื่น ที่ห่างตัวตน หรือ กลุ่มตนออกไป คำพูดจึงเต็มไปด้วยแง่ลบ ตัดสินคนอื่น หรือ ตัดพ้อตนเอง 9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ (THE […]