Category Archives: 02 Self-management

1. Self-control
Emotional triggers in the workplace
2. Self-motivation and goal setting
3. Adaptability
4. Transparency
Your team will trust you and work more effectively.

สมองและการบริหารจัดการตนเอง : brain and self-management

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการตนเอง (self-management) ซึ่งหมายถึง การดูแลท่าทีของตนเองให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเวลาปกติสุข และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คับขัน รู้สึกกลัว รู้สึกไม่คุ้นชิน รู้สึกไม่ปลอดภัย เวลาปกติสุขสมองส่วนที่กุมอำนาจเป็นหัวหน้าใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ สมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex) ซึ่งอยู่หลังหน้าผากของเรา จะคอยบัญชาการในการคิด ตัดสินใจ วางแผน และ การเรียนรู้ของเรา แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่คับขัน รู้สึกไม่ปลอดภัย สมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) ที่อยู่ส่วนกลางบริเวณระหว่างหู จะเข้ายึดครองการทำงาน เพื่อสลายสภาวะที่รู้สึกไม่ปลอดภัยแบบฉับพลัน แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เกลือกกลั้วอยู่ด้วยอารมณ์ โกรธ กลัว กังขา บางการกระทำก็ส่งผลดี เช่น การตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อควบคุมรถก่อนเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ รู้สึกเสียใจภายหลังที่ทำลงไป เช่น การแก้ตัวแบบโผงผาง  พูดไม่หยุด พูดเสียงดัง ไม่ยอมฟังกัน เพราะความกลัวลึก ๆ ในใจกลัวการไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ การกล่าวโทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสถานการณ์ที่เราเป็นกังวล สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ เรื่องราวในวัยเด็กนั้น […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

ความสามารถในการปรับตัว : adaptability

ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการเปลี่ยนใจ หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดูก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ดำรงอยู่ในความคลุมเคลือ หรือ คำร้องขอที่วกวนไปมา สามารถปรับตัวในสถานการณ์ใหม่ๆ ด้วยไอเดียและนวัตกรรมที่สดใหม่ ยังคงมีสมาธิกับเป้าหมาย และ พร้อมในการปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมาย ผู้นำที่พร้อมปรับเปลี่ยนตนเองจะรู้สึกท้าทายเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงขึ้น อาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ หรือ บางสิ่งหยุดชะงักหายไปในทันที เขาจะยังดำรงตนด้วยใจที่โล่งโปร่งเบาแบบสบายๆ บนความไม่แน่นอนที่เผชิญพบเจอนั้นได้ ในอดีตสมาร์ทโฟน BlackBerry เคยได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นของคีย์บอร์ดที่สามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะที่การถือกำเนิดเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G ทำให้มีสมาร์ทโฟนจาก Apple และ Android ได้รับความนิยมจนเริ่มเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจาก BlackBerry ไป ถึงกระนั้นเอง BlackBerry ก็ยังคงภูมิใจในคีย์บอร์ดที่เป็นจุดเด่นของตนเอง และ ปฏิเสธที่จะผลิตสมาร์ทโฟนแบบหน้าจอสัมผัส (touch screen) ตามกระแสอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ BlackBerry หลุดจากตลาดสมาร์ทโฟนไปในที่สุด ในปี 2017 ฝ่าย K-SME Analysis ธนาคารกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ 5 เทรนด์ธุรกิจ แรงแซงโค้งปี […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]

การปล่อยผ่านทางอารมณ์ : let it go

บางครั้งชีวิตก็โล่งโปร่งสบายเป็นปัจจุบัน บางครั้งชีวิตก็เหมือนจมอยู่กับอดีต จากเหตุการณ์บางอย่าง ความยากง่ายของการก้าวผ่านบางเหตุการณ์ดูยุ่งยากกว่าเหตุการณ์ธรรมดาทั่วไป หากต้องตกลงไปในห้วงอารมณ์ที่มีทีท่าจะเหนี่ยวนำชีวิตให้ถดถอย เราจะมีวิธีฟื้นคืนความสดใหม่ พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ได้อย่างไร งานเขียนนี้จะขอแนะนำทักษะที่เป็นกุญแจของการเรียนรู้ และ ปล่อยผ่านทางอารมณ์ (let it go) พิจารณาแยกแยะได้เป็น 5 ลำดับขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) จดจำอาการ ในขณะที่อารมณ์ปั่นป่วน อาจมีอาการโกรธเคือง ตัวสั่น ตัวเกร็ง ใจเต้นแรง ต่อต้าน คัดค้าน หักหาญ น้อยใจ เงียบ ปลีกตัว อิจฉา แก้ตัว ไม่มั่นใจ ซึมเบลอ กล้ามเนื้อบนใบหน้าหย่อน ไร้เรี่ยวแรง นอนไม่หลับ นิ่งอยู่กับที่ ไม่อยากทำอะไร บางทีเราก็เรียกรวมๆ อาการเหล่านี้ว่า “จิตตก” ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ความสุข และ การงาน สอง) ทบทวนเรื่องราว สิ่งที่ทำให้จิตใจของเราขมุกขมัวเต็มไปด้วยหมอกควันแห่งความคิดเชิงลบ ที่เหนี่ยวนำอารมณ์ของเราให้ถดถอย เกิดพฤติกรรมไม่สร้างสรรค์ เพราะถูกกระทบทางใจจากเรื่องราวบางอย่าง จากคนบางคน ที่มีรูปแบบซ้ำๆ […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

การแปรเปลี่ยนพลังงาน : stance dances

บางภาวะของชีวิต เมื่อเราเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลไกสมองจะตัดเข้าใช้ระบบปกป้อง เพื่อการอยู่รอด (survival coping stances) จะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าที 4 อย่าง ได้แก่ 1. ยอม (placating) เอาใจผู้อื่นอยู่เรื่อยไป จนลืมใส่ใจตัวเอง 2. ต่อว่า (blaming) ต่อว่าผู้อื่น สนใจแต่ตัวเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น 3. เจ้าหลักการ (super-reasonable) ยึดอยู่กับหลักการ ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึก 4. เฉไฉ (irrelevance) เบี่ยงบ่าย เปลี่ยนประเด็น ตลกกลบเกลื่อน ในขณะที่ มีงานวิจัยพบว่า ท่าทางของร่างกาย (body) นั้น ส่งผลต่อจิตใจ (mind) และ สมอง (brain) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถปรับท่าทางของเรา เพื่อแปรเปลี่ยนพลัง ออกจากการตกอยู่ในกลไกปกป้องอย่างนุ่มนวล ดังนี้ 1. ออกจากกลไก ยอม ด้วยท่าทางแบบ Powerful Tree จะช่วยให้เราโอนอ่อน ได้อย่างมั่นคง ดั่งต้นไม้ที่พร้อมโอบอุ้มผู้อื่นอย่างกรุณา 2. […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

เทคนิคง่ายๆ ของการมีความสุข : the secret to being happy

ความรู้สึกทุกข์ไม่ได้หายไปด้วยการผลักไส แต่เกิดจากการเชิญความรู้สึกอื่นๆ เข้ามาแทนที่ หากเราเชิญความสุขแบบผิวเผินเข้ามาแทนที่ความทุกข์ เช่น การออกไปสังสรรค์ เที่ยวเตร่ ที่ให้ความสุขแค่เพียงเปลือกนอก ไม่ช้าก็เร็ว ความรู้สึกทุกข์เช่นเดิมก็จะกลับเข้ามาครอบครองในใจของเรา Matthieu Ricard มนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้มีความสุขที่สุดในโลก โดยมีผลรับรอง จากงานวิจัยของ Richard Davidson นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง เปิดเผยเทคนิคง่ายๆ ของการมีชีวิตที่มีความสุข แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้ ? หนึ่ง หยุดคิดถึงแต่ตัวเอง . ความเมตตาทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นยังทำให้คนอื่นรักเราด้วย ไม่ใช่การคาดคั้นตัวเองให้ต้องทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เราแค่เพียงเมตตา และ ช่วยเหลือด้วยใจ ? สอง ฝึกฝนให้ดีขึ้นๆ ทุกคนมีศักยภาพที่จะมีความสุข เราไม่ได้ฝึกฝนความคิดจิตใจ เพื่อเอาชนะใคร หรือ เพื่อเป็นแชมป์โอลิมปิก แต่ทุกครั้งที่เราฝึกฝน นั่นช่วยยกระดับความสุขของเรา ? สาม คิดถึงความสุข ใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเนื่องในหนึ่งวัน เพื่อคิดถึงความสุข สัมผัสถึงความรู้สึก จากประสบการณ์ที่เคยมีความสุข และ สิ่งนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสมาธิด้วย […]