Category Archives: ภาวะผู้นำ

personal mastery, eldership, the upward spiral, metal rehearsal, Self, …

extra : the art of power, sublime states of mind, qualities of a good friend, original mind, …

ถ่อมตน และ บ่มเพาะ : Keep a Low Profile

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอวลีเด็ดทางการทูตไว้ว่า “Keep a Low Profile” คำนี้คงไม่ได้หมายความให้เก็บเนื้อเก็บตัวแต่ไม่ยอมพัฒนาอะไรเลย จากการทบทวนพบว่าน่าจะหมายถึง การถ่อมตน พร้อม ๆ กับการบ่มเพาะพัฒนาจากภายใน โดยไม่รีบร้อนป่าวประกาศบอกใคร ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษามิตรภาพรอบด้าน และ เพิ่มสมาธิในการบ่มเพาะด้วย การปูพื้นฐานทางวิชาการ และ อุตสาหกรรมหนักของประเทศจีน สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาด้วยวัตถุดิบจากภายในประเทศ เช่น พลาสติก เคมี เหล็ก และ โลหะต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี และ แบรนด์ของตนเองอีกด้วย หากเราลองหยิบยกแนวทาง “Keep a Low Profile” ของ เติ้ง เสี่ยวผิง มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง อาจถอดเป็นยุทธศาสตร์ออกมาได้ 2 ข้อ คือ การถ่อมตน และ การบ่มเพาะ หนึ่ง.) […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

บทนำสู่การเป็นผู้นำกระบวนการ : Introduction to Facilitative Leader

ในอดีตผู้นำมีบทบาทบอกให้ผู้ตามทำตาม อันนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่ทำไปด้วยความทนอด ทำถูกได้รางวัล ทำผิดถูกลงโทษ ทีมงานจึงอยู่ในฐานะที่ไม่ต้องออกความคิดเห็นใด ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยน โลกได้เปลี่ยนไป เราพบความจริงว่า แม้ผู้นำที่เก่งกาจเพียงใดก็ยังมีจุดบอด และ มนุษย์ทุกคนเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ แนวทางการทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำจึงเกิดขึ้น “Facilitative Leader” จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยเหตุนี้ครับ Facilitative Leaders มีท่าทีมุ่งเน้นใน 4 ส่วนหลัก คือ เน้นการมีส่วนร่วม, เน้นกระจายอำนาจ, เน้นทางเลือก ไม่ยึดติด และ เน้นสนับสนุน สร้างการเรียนรู้ 1. เน้นการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นที่กระบวนการทำงานร่วมกัน ไม่คาดหวังให้ได้ผลอย่างใจตน เน้นฉันทามติ หรือ ทุกคนยอมรับในผลแม้ไม่สมบูรณ์แบบดังใจตน ยอมรับความต่าง เชื่อว่าไอเดียดี ๆ มาจากความต่าง 2. เน้นกระจายอำนาจ บริหารงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลอย่างทั่วถึง วางใจในพันธสัญญาร่วมกัน ให้เกียรติกัน ไม่เกาะติด กดดันให้คนอื่นทำอย่างที่พูด เปิดพื้นที่ให้ทีมงานเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเอง ไม่ออกอาการคัดค้าน เกื้อหนุนให้ทีมบริหารจัดการตนเอง (Self-organizing Team) และ ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน […]

ภาวะผู้นำบูรณาการ : integral leadership

หลังจากศึกษาเรื่อง ทฤษฎีบูรณาการ (Integral Theory) ของ เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) ก็พบว่ามันสามารถเชื่อมโยงเข้ากับหลาย ๆ ศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership) จนเกิดเป็นศาสตร์ใหม่ ที่ชื่อว่า “ภาวะผู้นำบูรณาการ” (Integral Leadership) ซึ่งได้ขยายภาพของการพัฒนาภาวะผู้นำออกไปได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนทุกมิติ โดยยังคงเห็นความสำคัญของเรื่อง “ความฉลาดทางอารมณ์” (Emotional Intelligence) ที่เป็นส่วนหนึ่ง และ เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกทักษะ ทั้งทักษะด้านใน (Soft Skills) และ ทักษะภายนอก (Hard Skills) หลอมรวมกันเป็น ภาวะผู้นำบูรณาการ (Integral Leadership) ทฤษฎีบูรณาการ (Integral Theory) ยืนอยู่บนกระบวนทัศน์แม่บท (Meta-paradigm) ว่า “ทุกคนถูกต้อง” จึงพิจารณาสรรพสิ่ง อย่างครบถ้วนทุกมุมมอง ทั้งเชิงลึก และ เชิงกว้าง เครื่องมือการพิจารณา ถูกเรียกว่า Integral Map หรือ AQAL […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ : achievement orientation

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) คือ การมุ่งมั่นปรับปรุง และ พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต หรือ กับบุคคลต้นแบบ (role models) มีความสนใจใคร่รู้ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย รวมถึงสามารถปรับสมดุลระหว่างพลังความมุ่งมั่นภายในตนเอง กับการบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) ภาวะผู้นำกับความสำเร็จร่วมกัน ผู้นำที่มีสมรรถนะในการดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) จะมีความคุ้นเคยกับความเสี่ยง สามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และ แน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ เป้าหมายยิ่งท้าทายก็ยิ่งนำสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นเท่านั้น และ เขาหรือเธอก็มักจะทำสำเร็จได้ในทุกๆครั้ง แต่ทันทีที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ก้าวขาที่เคยท้าทายอาจกลายเป็นก้าวขาที่สร้างความกังวลให้กับทีมงาน หากก้าวขานั้นยาวมาก และ ต้องการให้ทุกคนทำตามได้เช่นเดียวกัน อาจถูกมองว่า บ้าอำนาจ (power over) ได้ง่ายๆ ผู้นำจึงจำเป็นต้องมีทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ซึ่งจะทำให้สามารถหาสมดุลความเสี่ยงที่เหมาะสมกับทีมงาน ตั้งเป้าในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ความสำเร็จกับสมอง Richard J. Davidson นักประสาทวิทยา […]

ศิลปะการโน้มน้าวใจใน 3 มิติ: The Art of Persuasion

อริสโตเติล กล่าวว่า 3 ส่วนหลักของการจูงใจ ได้แก่ เหตุผล (logos/logic/mind), จริยธรรม (ethos/ethic/soul) และ อารมณ์ (pathos/emotion/heart) เมื่อนำรากศัพท์ภาษากรีกทั้ง 3 คำ ได้แก่ logos, ethos และ pathos มาใคร่ครวญหาความหมาย ร่วมกับการศึกษาบทความจาก Harvard Business Review จึงเกิดเป็น ศิลปะการพูดจูงใจ แบบ 3 มิติ ดังนี้ มิติ 1. พูดได้ถึงใจ (Emotion) ผู้พูดเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง และ พูดออกมาจากใจที่รู้สึกตรงกัน รู้ถึงความเป็นอยู่ของผู้ฟัง และ ความรู้สึกจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ พูดโดย การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยเฉพาะเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นสดๆ พูดด้วยน้ำเสียงที่เข้าถึงอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกเชิงลึกภายใต้จิตใจ ให้คำพูดที่พูดแปรเปลี่ยนเป็นภาพปรากฏขึ้นในจิตใจของผู้ฟังได้ มิติ 2. พูดได้บรรเจิด (Reason) ผู้พูดรู้ว่าอะไรคือแก่นของการพูด […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]