ภาวะผู้นำบูรณาการ : integral leadership

หลังจากศึกษาเรื่อง ทฤษฎีบูรณาการ (Integral Theory) ของ เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) ก็พบว่ามันสามารถเชื่อมโยงเข้ากับหลาย ๆ ศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership) จนเกิดเป็นศาสตร์ใหม่ ที่ชื่อว่า “ภาวะผู้นำบูรณาการ” (Integral Leadership) ซึ่งได้ขยายภาพของการพัฒนาภาวะผู้นำออกไปได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนทุกมิติ โดยยังคงเห็นความสำคัญของเรื่อง “ความฉลาดทางอารมณ์” (Emotional Intelligence) ที่เป็นส่วนหนึ่ง และ เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกทักษะ ทั้งทักษะด้านใน (Soft Skills) และ ทักษะภายนอก (Hard Skills) หลอมรวมกันเป็น ภาวะผู้นำบูรณาการ (Integral Leadership)

ทฤษฎีบูรณาการ (Integral Theory) ยืนอยู่บนกระบวนทัศน์แม่บท (Meta-paradigm) ว่า “ทุกคนถูกต้อง” จึงพิจารณาสรรพสิ่ง อย่างครบถ้วนทุกมุมมอง ทั้งเชิงลึก และ เชิงกว้าง เครื่องมือการพิจารณา ถูกเรียกว่า Integral Map หรือ AQAL (All Quadrant All Level) โดยแบ่งมุมมองการพิจารณาสรรพสิ่งออกเป็น 4 ทัศน์ ได้แก่

ทัศน์หนึ่ง ) The Intentional Quadrant (“I”)
ทัศน์แห่งเจตนารมณ์ คือ เรื่องภายในของตัวเอง จากมุมมองของตัวเอง (interior-individual) เรียกอีกอย่างว่า อัตวิสัย (subjective)

ทัศน์สอง ) The Behavioral Quadrant (“It”)
ทัศน์แห่งพฤติกรรม คือ เรื่องราวภายนอกจากมุมมองส่วนบุคคล (exterior-individual) เรียกอีกอย่างว่า ภววิสัย (objective)

ทัศน์สาม ) The Cultural Quadrant (“We”)
ทัศน์แห่งวัฒนธรรม คือ เรื่องราวภายในของกลุ่มเราจากมุมมองของกลุ่มเราเอง (interior-collective) เรียกอีกอย่างว่า อัตวิสัยร่วม (intersubjective)

ทัศน์สี่ ) The Social Quadrant (“Its”)
ทัศน์แห่งสังคม คือ เรื่องรางภายนอกกลุ่ม จากมุมมองของกลุ่มคน (exterior-collective) เรียกอีกอย่างว่า ภววิสัยร่วม (interobjective)

ขอเชิญติดตามองค์ความรู้ การหลอมรวม และ บทวิเคราะห์ เรื่อง ภาวะผู้นำบูรณาการ (Integral Leadership) ได้ทาง Facebook Fanpage : ภาวะผู้นำบูรณาการ : Integral Leadership

เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments