Category Archives: 03 Social Awareness

1. Empathy
The ability to understand and share the feelings of another.
Using empathy leads to more effective communication.
2. Organisational awareness
Knowing what is going on in the bigger picture.
3. Service orientation and positive approach
Find out the needs of others so you can provide them with the appropriate response.

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]

ถ่อมตน และ บ่มเพาะ : Keep a Low Profile

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอวลีเด็ดทางการทูตไว้ว่า “Keep a Low Profile” คำนี้คงไม่ได้หมายความให้เก็บเนื้อเก็บตัวแต่ไม่ยอมพัฒนาอะไรเลย จากการทบทวนพบว่าน่าจะหมายถึง การถ่อมตน พร้อม ๆ กับการบ่มเพาะพัฒนาจากภายใน โดยไม่รีบร้อนป่าวประกาศบอกใคร ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษามิตรภาพรอบด้าน และ เพิ่มสมาธิในการบ่มเพาะด้วย การปูพื้นฐานทางวิชาการ และ อุตสาหกรรมหนักของประเทศจีน สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาด้วยวัตถุดิบจากภายในประเทศ เช่น พลาสติก เคมี เหล็ก และ โลหะต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี และ แบรนด์ของตนเองอีกด้วย หากเราลองหยิบยกแนวทาง “Keep a Low Profile” ของ เติ้ง เสี่ยวผิง มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง อาจถอดเป็นยุทธศาสตร์ออกมาได้ 2 ข้อ คือ การถ่อมตน และ การบ่มเพาะ หนึ่ง.) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เปิดศักยภาพใหม่ : รู้สึกตัวในสิ่งที่เคยคุ้น ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสมือซ้าย เขาเป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก และ จากสถิติต่าง ๆ จนถึงตอนนี้ เขาคงเป็นตำนานไปอีกนานครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีการฝึกซ้อมของเขาครับ ปกติแล้วเขาเป็นคนที่ถนัดมือขวา ทุกวันนี้เขายังคงเขียนหนังสือ และ แปรงฟันด้วยมือขวา แต่พอเล่นเทนนิสเขาจะใช้มือซ้าย ย้อนไปสมัยฝึกซ้อมเทนนิสเมื่อยังเด็ก เขาใช้สองมือตี แต่พอโตมาหน่อย จึงถนัดทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กันครับ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกใช้มือข้างเดียวเป็นหลัก ลุงที่เป็นโค้ชให้กับเขาก็แนะนำว่า “ฝึกใช้มือซ้ายเป็นหลักดีกว่า” เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ใช้มือขวา จะไม่ชินกับเรา แต่เราจะคุ้นชินกับเขา เวลาต้องเผชิญหน้ากันในสนาม ประโยชน์ของการฝึกมือซ้าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ เมื่อเราเชื่อมโยงกับเรื่องราวของสมอง ที่สมองซีกขวาควบคุมการทำงานฝั่งซ้าย และ สมองซีกซ้ายควบคุมการทำงานฝั่งขวา คนที่ถนัดมือซ้าย จำเป็นต้องฝึกใช้มือขวาไปโดยปริยาย เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบมาให้กับคนที่ถนัดมือขวาครับ ส่วนคนที่ถนัดมือขวาน้อยคนนักที่จะได้ฝึกทำอะไรด้วยมือซ้าย มีงานวิจัยพบว่าคนที่ถนัดมือซ้าย สามารถทำงานที่ต้องเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีกว่าคนที่ถนัดมือขวาครับ ศิลปินชื่อดังจำนวนมากถนัดมือซ้ายครับ อาทิเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี, ไมเคิล แองเจโล, ปิกัสโซ, […]

เปิดพื้นที่ให้เสียงเล็ก ๆ ในการระดมสมอง : Brain Storming

กระบวนการระดมสมอง (Brain Storming) ในทางปฏิบัติแล้ว มักจะสกัดความคิดเห็นออกมาได้เพียงน้อยนิด และ บ่อยครั้งก็ไม่เวิร์คเท่ากับการแยกคิดเพียงลำพัง (Individual) สาเหตุเป็นเพราะเมื่อเรามาระดมสมองร่วมกัน ความคิดเห็นของเราจะโน้มเอียงตามเสียงบางเสียง หนึ่งความคิดเห็นในวง ได้จุดประกายความทรงจำของคนทั้งกลุ่ม ให้เข้าไปยืนบนกรอบความเชื่อเดียวกัน เสียงเล็กๆ จึงไม่มีพื้นที่ปลอดภัยเพียงพอที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกมา แนวทางที่จะทำให้การระดมสมอง (Brain Storming) ให้เวิร์ค! กว่าทีเคย แบ่งเป็น 3 ข้อครับ หนึ่ง) แยกคิดก่อนรวมกันคิด ปล่อยให้มีการแยกกันคิด (Individual) ก่อนรวมตัวกันคิด (Collective) อาจใช้เทคนิค 6-3-5 คือ ล้อมวงกัน 6 คน ให้แต่ละคนเขียนความคิดเห็นของตนเอง 3 ข้อลงกระดาษ จากนั้นส่งไปให้คนทางขวา เมื่อส่งครบ 5 ครั้ง ทุกคนในวงก็จะได้อ่านจนครบทุกความคิดเห็น เทคนิคนี้จะช่วยให้เราใช้ประโยชน์จากทั้งปัญญาแบบปัจเจก (Individual Wisdom) และ ปัญญาแบบกลุ่ม (Collective Wisdom) ซึ่งเมื่อสมดุลกันได้แล้ว จะได้ทั้งความสดใหม่ และ ความยั่งยืน สอง) ทอดเวลารอผู้อื่น […]

ฟัง และ ซึมซับ : listen and absorb

“Learn to be silent. Let your quiet mind listen and absorb.” — Pythagoras — เรียนรู้ที่จะเงียบ ปล่อยให้จิตใจได้เงียบงัน ฟัง และ ซึมซัม — ปีทากอรัส — เสียงเล็กๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง อาจผุดขึ้นมากลางวง ในลักษณะของคำถาม หรือ ข้อคิดเห็นที่คลุมเครือ กระบวนกรไม่จำเป็นต้องมุ่งไปคลี่คลายถ้อยคำนั้น โดยทันทีทันใดจนหมดเปลือก การซึบซับไปที่สภาวะผู้เรียน จะทำให้เรารู้ว่า อาจควรแค่ฟัง หรือ เลือกจะตอบรับเพียงแค่ว่า “น่าสนใจ และ เธอมีอะไรจะพูดเพิ่มเติมไหม” นี่คือ การดำรงอยู่ที่เต็มเปี่ยมอย่างหมดจดของกระบวนกร เสียงเล็กๆที่ผุดขึ้น อาจไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่คือการแหวกทาง ตรวจความปลอดภัย ตระเตรียมพื้นที่เล็กๆ ก่อนที่พูดอะไรอย่างซื่อตรงจากภายใน หรือ เริ่มกล้าที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นวิเศษยิ่งกว่าการมอบเทคนิควิธีการใดๆ . ฟัง และ ซึมซับ ก็คือ การสอนโดยไม่สอน […]

ความรับผิดชอบ : responsibility

ทุกความรู้สึกของเรา มีความต้องการลึก ๆ ที่ยึดมั่น ขับเคลื่อนอยู่ภายใน การรับผิดชอบต่อตนเอง คือ การค้นหาความต้องการลึกๆ เหล่านั้นจากภายในจิตใจของตนเอง ไม่ใช่การมองหาใครสักคน มารับผิดชอบอารมณ์ความรู้สึกของเรา การค้บพบความต้องการลึก ๆ ภายใน จำเป็นต้องอาศัยความสงบของจิตใจ บวกกับทักษะการใคร่ครวญ (Contemplative) ย้อนกลับมาที่ร่างกาย จิตใจตนเอง การรู้ใจตนเอง คือ การรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความขัดแย้งจากภายใน ซึ่งแท้จริงแล้วเกิดจากการลืมเลือนจิตใจของเราเอง การออกจากพื้นที่คุ้นเคย (Comfort Zone) เพื่อก้าวสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เราอาจต้องเผชิญความไม่คุ้นชินเล็ก ๆ น้อย ๆ รู้สึกยาก รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ช่วงแรก ๆ เราจะพยายามเชื่อมโยงความรู้สึกภายใน กับเรื่องราวภายนอกให้ได้ พอมันค่อยๆ แยกขาดจากกัน คือ เรื่องราวภายนอกก็ส่วนเรื่องราวภายนอก ความรู้สึกภายในก็คือความรู้สึกภายใน มันจะเหลือแต่อาการฉีกตึงข้างใน คราวนี้ ก็เพียงแค่เฝ้าดูอาการจางคาย ยิ้มเพื่อต้อนรับพื้นที่ใหม่ในจิตใจของเราเอง PURE Learning Process

การเรียนรู้ที่เรียบง่าย คือ ที่สุดของการเรียนรู้ : simple is good

เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เรียนพร้อมเรียนรู้ หรือ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้อย่างลึกซึ้ง เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่างๆ จึงไม่ใช่แก่นสาระของการเรียนรู้ คุณค่าจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ถูกจังหวะ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เครื่องมือการเรียนรู้ ที่เรียบง่ายที่สุด คือ การพูดคุยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ หากสามารถพูดคุยกันได้ รับฟังกันได้ มีความไหลลื่นในวงสนทนาดีอยู่แล้ว (Generative Dialogue) เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมใดๆ ให้มากไปกว่านี้ PURE Learning Process

กระบวนการเรียนรู้ : PURE Learning Process

อ.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมขึ้นมา โดยมีชื่อที่จดจำง่าย ๆ ว่า “PURE” เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคุณลักษณะด้านใน สำหรับหลักสูตรทักษะการนำกระบวนการ และ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitation Skills) และ  หลักสูตร ผู้นำความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence for Leader) PURE Learning Process เพื่อใช้ในบริบทงานฝึกอบรม และ ชีวิตประจำวัน P : Practice, Activity and Workshop U : Understanding and Contemplating R : Reflection and Group Coaching E : Explaining and Storytelling PURE Advance Mode เพื่อการเรียนรู้พัฒนาชีวิตในระดับสูง สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นสุด ประกอบด้วย 4 […]

การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก: Emotional Empathy

การเข้าถึงใจ (Empathy) คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงมุมมองที่เขามองสิ่งต่างๆ เป็นสมรรถนะสำคัญหนึ่งใน 12 สมรรถนะของ ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and Social Competency Inventory) และ เป็นพื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเข้าถึงใจ (Empathy) สามารถแบ่งตามวงจรการทำงานของสมอง ได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเข้าถึงใจผ่านมุมมองความคิด (Cognitive Empathy) และ การเข้าถึงใจผ่านอารมณ์ความรู้สึก หรือร่วมรู้สึก (Emotional Empathy) และหากอ้างอิงข้อมูลจาก University of California – Davis จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยเพิ่ม การเข้าถึงใจผ่านกระกระทำ จุ่มแช่ ให้การช่วยเหลือ (Compassionate Empathy) เรียกรวมกันว่า “3 Stages of Empathy” ประกอบด้วย เข้าถึงใจผ่านความคิดของเรา […]