Category Archives: 03 Social Awareness

1. Empathy
The ability to understand and share the feelings of another.
Using empathy leads to more effective communication.
2. Organisational awareness
Knowing what is going on in the bigger picture.
3. Service orientation and positive approach
Find out the needs of others so you can provide them with the appropriate response.

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

ลักษณะของคนที่เรียนรู้อยู่เสมอ – Habits of People Who Are Always Learning New Skills

จากงานวิจัยพบว่า คอร์สออนไลน์ที่เราลงเรียน (Enroll) ไว้เนี่ย เราเลิกเรียนกลางครันถึง 40-80% เลยทีเดียวครับ แล้วแบบนี้จะทำอย่างไร ให้เราสามารถ Reskill/Upskill ได้สำเร็จสมความตั้งใจ วันนี้ ผมขอนำเสนอข้อสังเกต ลักษณะของคนที่เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอจาก Harvard Business Review แบ่งเป็น 4 ข้อสังเกต ดังต่อไปนี้ครับ 1. มุ่งพัฒนาทักษะที่เร่งด่วนก่อน ทักษะใหม่ ๆ มีเรารับรู้มา อาจกำลังดึงความสนใจให้เราห่างออกจากทักษะที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน มี 2 ทาง ที่จะทำให้เราเข้าถึงทักษะที่เร่งด่วน ที่เราควรเลือกพัฒนาก่อนครับ หนึ่ง ติดตามดูว่าองค์กรชั้นนำกำลังจ้างคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร ในตำแหน่งที่เราสนใจ สอง สอบถามจากหัวหน้าเรา เพื่อให้รู้ว่าเขากำลังต้องพัฒนาทักษะอะไร เพื่อให้ตัวเขายังคงประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เราอาจเกรงกลัวที่จะถาม แต่จริง ๆ แล้วผู้นำของเรา ยินดีที่จะตอบคำถามนะ เพราะถ้าคุณยิ่งพัฒนา งานของเขาก็จะพัฒนาขึ้นด้วยตามลำดับ พอเรารู้ทักษะที่เร่งด่วนแล้ว ก็อาจถามความเห็นเขาต่อว่า มีวิธีการอะไรที่น่าสนใจในการพัฒนาทักษะนั้น ๆ บ้าง น่าจะได้รับคำตอบดี ๆ […]

ระดมสมองแบบดิสนีย์ – Disney Brainstorming Method

ความหลากหลายในทีม อาจนำมาซึ่งความติดขัดแตกแยก แต่ในขณะเดียวกัน หากมีกระบวนการที่เหมาะสม ความหลากหลายก็จะทำให้เกิดความสนุก ความเข้าใจ และผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้เช่นเดียวกัน กระบวนการหนึ่งที่เรียบง่าย สามารถใช้ได้ตั้งแต่โครงการขนาดเล็ก ๆ จนถึงโครงการใหญ่ยักษ์อย่าง Disney มีชื่อว่า “Disney Brainstorming Method” ความสำเร็จเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับความสนุกได้อย่างไร กระบวนการนี้ แบ่งออกเป็น 3 ห้องประชุม 1. ห้องนักฝัน (Dreamer)รวมนักฝันคุยกันถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แบบไม่มีเงื่อนไข มองจากมุมมองภายนอกองค์กร และมักจะมีคำถามว่า “ถ้าทำแบบนี้ดูบ้างล่ะ”, “ทำไมเราจึงไม่ทำแบบนี้บ้างล่ะ” 2. ห้องนักทำ (Realist)รวมคนที่มักจะตั้งคำถามว่า “ต้องทำอย่างไร” คนเหล่านี้จะไม่พูดถึงเหตุผลที่จะทำไม่ได้ แต่พวกเขาชอบพูดคุยถึงสิ่งที่สามารถนำไปสู่ความเป็นจริง 3. ห้องผู้รู้ (Spoiler or Critic) กลุ่มที่มองเห็นช่องโหว่ของความคิดเห็น ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยปรับแก้ให้ผลงานนั้นมีคุณค่า สอดคล้องไปกับสิ่งที่องค์กรต้องการจะสื่อสาร การรวมพลัง นักฝัน นักทำ และผู้รู้ Facilitator เริ่มต้นให้ทุกคนได้คุยรวมกัน ในประเด็นเดียวกัน จากนั้นเฝ้าสังเกตผู้ร่วมประชุมหรือให้ผู้เข้าร่วมย้อนสังเกตตัวเอง […]

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]

5 สิ่งที่คนเก่งต้องก้าวข้ามเพื่อความสำเร็จ : 5 Ways Smart People Sabotage Their Success

คนเก่งในที่นี้ หมายถึงคนที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการเรียนหรือการทำงานมาในอดีต แต่พอเช็คข่าวความเป็นไปของเพื่อนเก่า ๆ ใน Facebook ก็พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างน่าทึ่ง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า ตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดอะไรไปหรือเปล่า เพราะอะไรจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้ ได้พูดถึง 5 สิ่งที่คนเก่งมักจะต้องเผชิญและแนวทางในการก้าวข้าม เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ อย่างที่ควรจะเป็น หนึ่ง) การเรียนรู้สิ่งใหม่ คนเก่งไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองในบางทักษะ เช่น ทักษะด้านความสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ เป็นต้น เนื่องจากมองว่ายากเกินไป ให้คนอื่นทำแทน และเชื่อว่าทักษะที่ตนเองเก่งอยู่แล้วนั้น เคยทำให้ตัวเองสำเร็จมาก่อน หรือเป็นที่ยอมรับมากกว่า จึงขาดความพยายามในการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่ในการทำงานจริง ทักษะเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ทางออก คือ การอาศัยจุดแข็งของตัวเอง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยความรู้สึกแบบที่น้ำไม่เต็มแก้ว เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ให้กับตัวเอง สอง) การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม มักสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคนเก่ง เรายอมรับว่าอย่างน้อยมีแนวโน้มที่คนเก่ง จะสามารถจับประเด็นข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมประมวลผล และมีไอเดียออกมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนทั่วไปต้องการเวลาในการประมวลผลข้อมูลนานกว่า และเมื่อต้องแบ่งงานกันทำ ในทีม คนเก่งที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ จะรู้สึกอยากลงมือทำงานเอง เพราะเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า […]

การทำงานร่วมกัน 3 ระดับ : The Three Levels of Collaboration

การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันในทีมตามหน้าที่ (Functional Teams) การทำงานร่วมกันในโครงการที่มีกำหนดเวลา (Time-limited Project Teams) หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน (Cross-functional Management Teams) เมื่อการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงาน และ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมด้วย งานเขียนนี้ จะนำเสนอแนวคิดของการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายตามบริบทของการทำงานร่วมกัน พร้อมกันนี้จะได้ให้แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกันใน 3 ระดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. Independent Collaboration มีเป้าหมายเหมือนกัน มีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมาย พ้นจากสภาวะการเกี่ยงงาน ต่างคนต่างทำอย่างอิสระ ทุกคนทำงานครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ สื่อสารกันน้อย ผลรวมของทีม เกิดจากการรวมผลลัพธ์ของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น Dealers จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ต่างคนต่างขาย และเมื่อนำยอดขายของทุก Dealers มารวมกัน ก็กลายเป็นยอดขายรวมของสินค้ายี่ห้อนั้น  อาศัยทักษะการฟังในระดับ I-in-it คือ การฟังแบบจับประเด็นได้ เพื่อให้ทราบรายละเอียดงานของตนเอง และ […]

การพัฒนาด้านอารมณ์ : Emotional Development

เหตุการณ์ (Event) ที่เราพานพบเจอะเจอ บางเหตุการณ์เราก็ชอบ บางเหตุการณ์เราก็อาจจะไม่ชอบ เป็นสิ่งที่เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ สิ่งที่เราควบคุมเลือกทำได้ คือ จะตอบสนอง (Response) ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น หากเราต้องการผลลัพธ์ (Outcome) ที่แตกต่าง หรือ เป็นไปตามที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การเลือกตอบสนอง (Response) อย่างดีที่สุด แต่ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ (Event) ครับ Event * Response = Outcome เป็นสมการง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาอธิบาย เรื่องราวความเป็นไปในชีวิต และ การทำงานของเราได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอารมณ์ภายในจิตใจของเรา ส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) ในชีวิตประจำวันของเราด้วยครับ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) 2. เจตนา (Intention) โดยที่ การรับรู้เชิงบวก มีผลต่อการตอบสนองเชิงบวก (Response) […]

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]