การสร้างความรู้สึกปลอดภัยเพื่อการทำงานร่วมกัน: Psychological Safety for Collaboration

          พอล ซานตากาตา (Paul Santagata) หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมของ Google พบว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) หรือ “ความรู้สึกปลอดภัย” สมาชิกในทีมสามารถเชื่อแน่ว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษเมื่อลองทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วผิดพลาด การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่า ความรู้สึกปลอดภัยช่วยให้เกิดความกล้าพูดจากใจ กล้าสร้างสรรค์ และ อุปมาเหมือนกับเต่าที่กล้ายื่นคอออกมาโดยไม่กลัวที่จะถูกตัด เป็นลักษณะพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน           สมองจะประมวลผลเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น จากหัวหน้างานที่มีรังสีอำมหิต, จากเพื่อนร่วมงานที่ชิงดีชิงเด่นกัน หรือ จากลูกน้องที่ไม่ใส่ใจในงาน เมื่อเรากำลังเผชิญสิ่งเหล่านี้จะเปรียบเสมือนภาวะเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของชีวิต สมองจะปรับการทำงานเข้าสู่โหมดอยู่ให้รอดไว้ก่อน โดยสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นเสมือนระฆังเตือนของสมอง จะกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบสู้หรือหนี (Fight-or-flight reaction) ทำก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง (Act first, think later) สมองจะปิดทำการในส่วนของมุมมองและเหตุผลการคิดวิเคราะห์ กลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการคิดเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน           ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 มนุษย์จำเป็นต้องมีโหมดชีวิตแบบขยายและสร้าง (The broaden-and-build mode) พร้อมด้วยอารมณ์เชิงบวก สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนและสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน บาร์บารา […]

สมรรถนะหลักของ Facilitator : IAF Core Competencies

สมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitators) ตามมาตรฐานของ IAF (IAF Core Competencies)                IAF ย่อมาจาก The International Association of Facilitators คือ องค์กรวิชาชีพระดับโลกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศิลปะและการฝึกปฏิบัติในการเอื้ออำนวยอย่างมืออาชีพ ผ่านวิธีการแลกเปลี่ยน, การเติบโตอย่างมืออาชีพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ เครือข่ายของเพื่อนร่วมงาน                กรอบสมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายปี โดย IAF ด้วยการสนับสนุนของสมาชิกของสมาคมและผู้เอื้ออำนวยจากทั่วโลก ถูกทดลองใช้ผ่านเวลามาอย่างยาวนาน ประกอบด้วยพื้นฐานทางทักษะ, ความรู้ และ พฤติกรรมที่ผู้เอื้ออำนวยต้องมี เพื่อให้การเอื้ออำนวยบรรลุผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาก แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ A1. พัฒนาความร่วมมือในการทำงาน A2. ออกแบบและปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า A3. บริหารจัดการกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่ม B วางแผนกระบวนการกลุ่มอย่างเหมาะสม B1. เลือกวิธีการและกระบวนการอย่างชัดเจนซึ่ง: B2. เตรียมเวลาและพื้นที่เพื่อรองรับกระบวนการกลุ่ม […]

5 สิ่งที่คนเก่งต้องก้าวข้ามเพื่อความสำเร็จ : 5 Ways Smart People Sabotage Their Success

คนเก่งในที่นี้ หมายถึงคนที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการเรียนหรือการทำงานมาในอดีต แต่พอเช็คข่าวความเป็นไปของเพื่อนเก่า ๆ ใน Facebook ก็พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างน่าทึ่ง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า ตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดอะไรไปหรือเปล่า เพราะอะไรจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้ ได้พูดถึง 5 สิ่งที่คนเก่งมักจะต้องเผชิญและแนวทางในการก้าวข้าม เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ อย่างที่ควรจะเป็น หนึ่ง) การเรียนรู้สิ่งใหม่ คนเก่งไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองในบางทักษะ เช่น ทักษะด้านความสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ เป็นต้น เนื่องจากมองว่ายากเกินไป ให้คนอื่นทำแทน และเชื่อว่าทักษะที่ตนเองเก่งอยู่แล้วนั้น เคยทำให้ตัวเองสำเร็จมาก่อน หรือเป็นที่ยอมรับมากกว่า จึงขาดความพยายามในการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่ในการทำงานจริง ทักษะเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ทางออก คือ การอาศัยจุดแข็งของตัวเอง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยความรู้สึกแบบที่น้ำไม่เต็มแก้ว เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ให้กับตัวเอง สอง) การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม มักสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคนเก่ง เรายอมรับว่าอย่างน้อยมีแนวโน้มที่คนเก่ง จะสามารถจับประเด็นข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมประมวลผล และมีไอเดียออกมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนทั่วไปต้องการเวลาในการประมวลผลข้อมูลนานกว่า และเมื่อต้องแบ่งงานกันทำ ในทีม คนเก่งที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ จะรู้สึกอยากลงมือทำงานเอง เพราะเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ : Story Telling

ทุกวันนี้ ยังจำเพื่อนสมัยวัยเด็กได้ การจำได้นี่มาพร้อมกับสถานที่ ผู้คน ภาพ แสง สี เสียงต่าง ๆ ที่อยู่ในวีรกรรมของเรา นั่นเพราะธรรมชาติของเราเกือบทุกคน สามารถจดจำจากเรื่องเล่า ได้มากกว่า ยาวนานกว่า การท่องจำจากข้อมูล การเล่าเรื่อง (Story Telling) จึงน่าสนใจ เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ เทคนิคการเล่าเรื่องเหล่านี้ เราอาจใช้อยู่แล้วแบบที่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณการเล่าเรื่องนี้ อาจเกิดจากการดูหนังมา หรือ การอ่านนิยายมาหลาย ๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่ดี หากเกิดความรู้ที่ชัดเจนว่า อย่างน้อยมีเทคนิคการเล่าเรื่องถึง 8 แบบ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ใน 3 บรรทัด จะได้เอาเวลาไปฝึกเล่ากันครับ Monomyth (Hero’s Journey) เล่าถึงการเดินทางของตัวละคร ที่ออกเดินทางแล้วพบกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย จนได้เรียนรู้ และ หวนกลับคืนมาบอกเล่า ถึงประสบการณ์ทางปัญญา The Mountain คือ การเล่าที่ค่อย […]

การทำงานร่วมกัน 3 ระดับ : The Three Levels of Collaboration

การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันในทีมตามหน้าที่ (Functional Teams) การทำงานร่วมกันในโครงการที่มีกำหนดเวลา (Time-limited Project Teams) หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน (Cross-functional Management Teams) เมื่อการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงาน และ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมด้วย งานเขียนนี้ จะนำเสนอแนวคิดของการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายตามบริบทของการทำงานร่วมกัน พร้อมกันนี้จะได้ให้แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกันใน 3 ระดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. Independent Collaboration มีเป้าหมายเหมือนกัน มีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมาย พ้นจากสภาวะการเกี่ยงงาน ต่างคนต่างทำอย่างอิสระ ทุกคนทำงานครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ สื่อสารกันน้อย ผลรวมของทีม เกิดจากการรวมผลลัพธ์ของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น Dealers จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ต่างคนต่างขาย และเมื่อนำยอดขายของทุก Dealers มารวมกัน ก็กลายเป็นยอดขายรวมของสินค้ายี่ห้อนั้น  อาศัยทักษะการฟังในระดับ I-in-it คือ การฟังแบบจับประเด็นได้ เพื่อให้ทราบรายละเอียดงานของตนเอง และ […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Recognize : Facilitative Leadership Chapter 4

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model R : Recognize เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model การให้การยอมรับ ชื่นชมกัน จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้สึกมีตัวตน แต่ไม่ปกป้องตัวตน พูดคุยแบบให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน ไม่ตัดสินถูกผิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในบรรยากาศสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ กล้าริเริ่ม เหนี่ยวนำให้เกิดการขยายกรอบความเชื่อ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อเรายอมรับชื่นชมกัน (Recognize) ได้ถี่บ่อยกว่าการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) การให้ข้อเสนอแนะก็จะมีคุณภาพ คำพูดของเราจะน่ารับฟัง น่านำไปปฏิบัติ อุปมากล่องของขวัญใบเล็ก ได้วางอยู่บนฐานที่มั่นคง ฐานนั้นต้องกว้างกว่ากล่องของขวัญ กล่องของขวัญ ก็คือ การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ส่วนฐานนั้น คือ ยอมรับชื่นชมกัน (Recognize) โดยปกติมนุษย์มีธรรมชาติที่จะสนใจในเรื่องเชิงลบ ตามสัญชาตญาณการอยู่รอด เราเรียกอคติเช่นนี้ ว่า […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Update : Facilitative Leadership Chapter 3

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model U : Update หรือ การปรับปรุงสร้างความเข้าใจให้เป็นปัจจุบัน เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและวิธีการร่วมกัน ประกอบด้วยทัศนคติเชิงบวก (Positive Outlook) เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และเห็นความเป็นไปได้ในอนาคต พร้อมให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) และใช้การโค้ช (Coaching) เพื่อร่วมกันกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์แผนการปฏิบัติงานในก้าวต่อไป แนวทางการปรับปรุงความเข้าใจให้เป็นปัจจบัน (Update) จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้นำได้กำหนดกฎและให้แนวทางกับทีมงานอย่างสมดุล (How to Establish…) มีสติในบทบาทของตนเอง เพื่อใส่ใจและช่วยเหลือทีมงานอย่างเหมาะสม (How to Patronize…) โดยในกระบวนการปรับปรุงความเข้าใจนี้ ผู้นำจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใจในการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างความพร้อมให้กับทีมงาน คลี่คลายความกังวล ความเบื่อหน่าย และ ความสงสัย ผู้นำจำเป็นต้องมีสมาธิอย่างเต็มเปี่ยมและเหนี่ยวนำให้ทีมงานเกิดสมาธิเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการปรับปรุงความเข้าใจ คือ การเรียนรู้แลกเปลี่ยน […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Patronize : Facilitative Leadership Chapter 2

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model P : Patronize เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model โดยเริ่มต้นจากการอุปถัมภ์ค้ำจุน ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จนในที่สุด ค่อยๆ ลดการให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนจากภายนอก แต่ยังคงการเชื่อมโยงถึงกันผ่านความเข้าใจ ให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก ฝึกฝน และ ลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (Empower) ได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่ผลจากรางวัล หรือการลงโทษ เพื่อยกระดับความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นจากภายในจิตใจ (Responsibility) อุปมาเหมือนการฝึกขี่จักยานด้วยการมีล้อเสริม ค้ำยันซ้ายขวา เพื่อช่วยในการทรงตัว เราจะใช้เพียงชั่วคราว และจะดีใจมาก เมื่อสามารถนำล้อเสริมเล็กๆ ออกไปได้ แม้เด็กๆ จะล้มลงบ้างก็คือการเรียนรู้ที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับการมอบหมายงานใหม่ๆ เราต้องหลบฉาก แล้วให้ทีมงานขึ้นมาโดดเด่นที่หน้าฉาก เมื่อเราเป็นคนดูละครที่ไม่ได้เล่นเอง เราอาจรู้สึกอึดอัดจากการดำเนินการที่ช้าไป หรือเร็วเกินไป เราอยากจะเป็นผู้กำกับหนังที่เปลี่ยนบทตลอดเวลา ซึ่งนั่นใช้ไม่ได้กับละครชีวิต ที่ต้องเล่นสดๆ การขัดจังหวะระหว่างทาง รบกวนการเรียนรู้ และสร้างความหวาดผวาให้กับทีมงาน […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Establish : Facilitative Leadership Chapter 1

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model E: Establish เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model เพื่อแจ้งข้อกำหนดที่จำเป็นขององค์กร ให้ทุกคนได้รับรู้และสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ เป็นศิลปะการบริหารจัดการความคาดหวัง (Expectation Management) เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกฎ (Rule) ที่ตายตัว และแนวทาง (Guideline) ที่ยืดหยุ่นได้ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร และพื้นฐานของทีมงาน การเริ่มต้นโครงการใหม่ หรือการมีทีมงานเข้ามาใหม่ เราอาจเกรงใจที่จะแจ้งระเบียบข้อตกลงทั้งหมดให้เขาทราบ เพราะเกรงว่าจะเป็นการไปบังคับกะเกณฑ์ ลดทอนความสัมพันธ์ แต่หากเราไม่แจ้งตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วชี้บอกสอนตลอดเวลา ก็จะกลายเป็นการจำกัดความสร้างสรรค์ ทำลายการนำพาตนเองของทีมงาน เพราะต้องระแวดระวังว่าจะทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ครั้นจะสังเกตคนเก่าว่าทำงานอย่างไร ก็ไม่แน่ใจว่าส่วนไหนเป็นมาตรฐาน ส่วนไหนหย่อนกว่ามาตรฐาน ในฐานะผู้นำ เรามีหน้าที่กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นต่อทีมงานให้เพียงพอตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยทัศนคติที่ว่า การให้ข้อมูลเบื้องต้น ช่วยให้ทีมงานตัดสินใจได้ดีขึ้น เมื่อเผชิญกับสถานการณ์หน้างาน เราอาจตั้งต้นร่วมกันโดยการถามว่า “ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ คือ…” “สิ่งที่ผมจะทำเพื่อคุณได้ คือ…” “สิ่งที่เราคาดหวังให้คุณทำ คือ…” […]