Tag Archives: Trust

ความรู้สึกปลอดภัย 4 ระดับ: The 4 Stages of Psychological Safety

ตีโมตี คลาร์ก (Clark, T. R., 2020) ได้เสนอว่าความรู้สึกปลอดภัย (Psychological Safety) ประกอบด้วย 4 ระดับ ได้แก่ ความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะเรียนรู้ (Learner Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะลงมือทำ (Contributor Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะท้าทายสถานภาพที่เป็นอยู่ (Challenger Safety) และในที่นี้ผมจะขอเสนอความรู้สึกปลอดภัยในระดับที่ 5 ที่เป็นความรู้สึกปลอดภัยจากการเป็นหนึ่งเดียวกัน (Oneness Safety) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ระดับที่ 1: ความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety) ทุกคนล้วนต้องการได้รับการยอมรับ ถ้าคุณได้รับสถานภาพการเป็นสมาชิกจากกลุ่มใด คุณจะพัฒนาความรู้สึกแห่งอัตลักษณ์ร่วมกัน (Shared identity) เกิดความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety) รู้สึกมีความสำคัญและสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มได้ ในทางตรงข้าม ถ้าคุณถูกใครเพิกเฉย ละเลย นิ่งเงียบ บอกปัด ไล่ตะเพิด หรือทำให้อับอาย ไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ศูนย์ความเจ็บปวดของสมอง […]

5 องค์ประกอบของสุดยอดทีม: Great Team Start with Psychological Safety

              “อะไรที่ทำให้เกิดสุดยอดทีม ใน Google” ภาระกิจในการค้นหาคำตอบนี้ ถูกเรียกว่า “โปรเจค อริสโตเติล” ก่อนทำการศึกษา Google และองค์กรอื่น ๆ จำนวนมาก เชื่อว่าการสร้างทีมที่ดีสุด หมายถึง การรวบรวมคนที่ดีที่สุด แต่ภายหลังการศึกษาครั้งนี้พบว่าความเชื่อดังกล่าว ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเป็นอย่างมาก               Google ได้ทำการศึกษาข้อมูลจาก 180 ทีม ด้วยการสัมภาษณ์มากกว่า 200 ครั้ง และวิเคราะห์ลักษณะของทีมที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ลักษณะ ปรากฏว่าไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนที่ระบุได้ว่าทีมที่ยอดเยี่ยมนั้นมีลักษณะร่วมกันอย่างไร จนเมื่อ Google เริ่มนำองค์ประกอบที่จับต้องไม่ได้ (Intangibles) มาร่วมพิจารณาด้วย คือ ได้ทำการศึกษาถึงความฉลาดร่วมกัน (Collective Intelligence) หรือ ความสามารถที่เกิดขึ้นเมื่อมาทำงานร่วมกันเป็นทีม จึงได้พบว่าทีมที่ยอดเยี่ยมนั้นไม่ได้เกิดจากการรวบรวมคนที่สุดยอดที่สุดมาทำงานร่วมกัน แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันได้อย่างดี จนเกิดเป็นองค์ประกอบร่วมกันหรือความฉลาดร่วมกันภายในทีม โดยในบรรดาทีมที่ประสบความสำเร็จนั้น มีลักษณะร่วมกันอยู่ 5 ประการ (Friedman, 2019, Rozovsky, 2015, Schneider, 2017) ดังนี้ ความรู้สึกปลอดภัย (Psychological […]

การสร้างความรู้สึกปลอดภัยเพื่อการทำงานร่วมกัน: Psychological Safety for Collaboration

          พอล ซานตากาตา (Paul Santagata) หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมของ Google พบว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) หรือ “ความรู้สึกปลอดภัย” สมาชิกในทีมสามารถเชื่อแน่ว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษเมื่อลองทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วผิดพลาด การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่า ความรู้สึกปลอดภัยช่วยให้เกิดความกล้าพูดจากใจ กล้าสร้างสรรค์ และ อุปมาเหมือนกับเต่าที่กล้ายื่นคอออกมาโดยไม่กลัวที่จะถูกตัด เป็นลักษณะพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน           สมองจะประมวลผลเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น จากหัวหน้างานที่มีรังสีอำมหิต, จากเพื่อนร่วมงานที่ชิงดีชิงเด่นกัน หรือ จากลูกน้องที่ไม่ใส่ใจในงาน เมื่อเรากำลังเผชิญสิ่งเหล่านี้จะเปรียบเสมือนภาวะเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของชีวิต สมองจะปรับการทำงานเข้าสู่โหมดอยู่ให้รอดไว้ก่อน โดยสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นเสมือนระฆังเตือนของสมอง จะกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบสู้หรือหนี (Fight-or-flight reaction) ทำก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง (Act first, think later) สมองจะปิดทำการในส่วนของมุมมองและเหตุผลการคิดวิเคราะห์ กลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการคิดเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน           ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 มนุษย์จำเป็นต้องมีโหมดชีวิตแบบขยายและสร้าง (The broaden-and-build mode) พร้อมด้วยอารมณ์เชิงบวก สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนและสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน บาร์บารา […]