“ทำให้ง่าย” หัวใจของ Startup ที่ปรับใช้ได้ในชีวิต – Startup Concept

การทำความเข้าใจกระบวนการเติบโตที่รวดเร็วของ “Startup” ช่วยให้องค์กรทั้งเล็กและใหญ่ ประหยัดทรัพยากรไปได้มากเลยครับ โดย 2 สิ่งที่เป็นหัวใจของ Startup ก็คือ Repeatable และ Scalable 1. Repeatable Repeatable คือ สามารถใช้ซ้ำได้ ถ้ามองจากมุมลูกค้า จะหมายถึง สินค้าและบริการที่ออกแบบมา ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เช่น เครื่องดื่มที่ดื่มแล้วติดใจ เมื่อลูกค้ากระหายน้ำ ก็ย่อมซื้อซ้ำอีกแน่นอน ในขณะที่สินค้าและบริการบางประเภท ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อซ้ำ เช่น Application ที่ซื้อเพียงครั้งเดียวจบ เป็นต้น ดังนั้น หากอยากให้ Application มีสิ่งที่เรียกว่า “Repeatable” เราก็ต้องออกแบบให้ภายในบริการนั้น มีสิ่งที่ลูกค้าจะซื้อซ้ำได้ เช่น บริการ Sticker Line จะมี Sticker Shop ที่สามารถเพิ่มแบบใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ เป็นต้น Repeatable ในมิติภายในองค์กร ถ้ามองว่าตัวเราเอง ออกแบบกระบวนการเพื่อตัวเราหรือทีมของเรา […]

รันกระบวนการเรียนรู้ ผ่านบทสนทนาใน 4 มิติ – Dialogue in PURE Learning Process

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ชื่อว่า PURE Learning Process ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปจนถึงการบ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน ในกระบวนการนี้จะประกอบไปด้วย 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงจะประกอบไปด้วยบทสนทนาที่แตกต่างกันใน 4 มิติ ดังนี้ครับ 1. บทสนทนาระหว่างผู้เรียน (Understand-Reflect) ในระหว่างการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมี คือ การสะท้อน (Reflect) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังเกิดความรู้สึกใหม่ การค้นพบความหมายใหม่ อุปมาเหมือนรอน้ำเดือดจนได้จังหวะ เมื่อเปิดฝาหม้อในเวลาที่เหมาะสม จะเกิดบทสนทนาที่พร้อมแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้อย่างออกรสออกชาติ ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะในการสังเกตพลังงานกลุ่ม (Collective Energy) 2. บทสนทนากับผู้รู้ (Reflect-Explain) ในระหว่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน หากสังเกตพบการตกหล่นสาระพื้นฐานไป ก็มีความจำเป็นจะต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเสริมเพิ่มให้การเรียนรู้ครบถ้วนในส่วนพื้นฐาน และเปิดรับความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เรียนทุกคน ดังนั้น Facilitator จำเป็นต้องมีทักษะ ในการเชื่อมโยง หลอมรวมตกผลึกเป็นความรู้ร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพร่วมกัน (Connectedness) 3. บทสนทนากับโค้ช (Explain-Practice) ในช่วงเวลาก่อนผ่านประสบการณ์ การสร้างบทสนทนาในเชิงของการโค้ช […]

ปรับประยุกต์ใช้ OKRs ในองค์กรของเรา – Why do you need OKRs?

OKRs ย่อมาจากคำว่า Objectives and Key Results เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป้าหมายที่มีความท้าทายและสามารถวัดผลได้ องค์กรชื่อดังอย่างเช่น Google, LinkedIn, Spotify, Intel, Twitter, Dropbox และ Uber ต่างได้นำ OKRs มาปรับใช้ในองค์กร ทำให้ OKRs กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าการนำ OKRs มาใช้ในองค์กรเพราะเห็นองค์กรอื่นใช้อาจไม่ใช่เหตุผลที่ดีพอ การเข้าใจถึงแก่นแท้และความสำคัญของ OKRs ว่าเกิดขึ้นมาเพราะอะไร ช่วยแก้ปัญหาอะไรและจะมีประโยชน์อย่างไรกับองค์กรบ้าง จะช่วยให้เราสามารถปรับประยุกต์ใช้ OKRs ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทขององค์กรของเราเอง ต่อไปนี้ คือ เหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ OKRs มีประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกัน โดยเรียบเรียงเนื้อหาผ่าน FACTS Model (Doerr, 2018) ที่ประกอบไปด้วย (1) Focus (2) Alignment (3) Commitment (4) Tracking the Progress […]

ภาระงานล้นมือ แก้อย่างไร ก่อนหมดไฟ – Manage your workload before burnout

ปกติเวลาภาระงานล้นมือ เราสามารถสังเกตได้จากว่าชีวิตมีเวลาพอที่จะเรียนรู้พัฒนาตัวเองอย่างอิสระรึป่าว โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าเจอภาระงานล้นมือจะท่องคาถานี้ครับ “ทำให้งานง่ายมอบหมายงานบอกผ่านบ้างปล่อยวางผล” 1. ทำให้งานง่าย จัดลำดับความสำคัญของงาน ด้วยการตัดงานที่ตัดได้ออกไปก่อน (Eliminate) เช่น การอ่าน News Feed หรืองานบันเทิงเริงใจต่าง ๆ จากนั้นก็มาดูว่างานไหนพอจะจัดการงานด้วยระบบอัตโนมัติหรือใช้เทคโนโลยีช่วยได้บ้าง (Automate) จนที่สุดแล้วค่อยมาดูว่าอะไรบ้างที่ต้องทำจริง ๆ ถ้างานยาก ก็ต้องแบ่งงานให้เป็นงานเล็ก ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าทำได้ง่ายขึ้น 2. มอบหมายงาน เวลาเรามอบหมายงานก็ดูง่าย ๆ 3 อย่าง คือ (หนึ่ง) คนรับงานเขาเข้าใจงานทำงานนั้นเป็นรึป่าว (สอง) คนรับงานรู้สึกกับงานอย่างไร เต็มใจทำรึป่าว (สาม) คนรับงานเขามีสุขภาพร่างกายที่พร้อมจะทำรึป่าว ข้อสามนี้สำคัญที่สุด ช่วงนี้ก็ต้องพิจารณาตัวเองเหมือนกัน ว่าควรรับงานมาทำมากแค่ไหนจึงจะพอดี 3. บอกผ่านบ้าง ข้อนี้เหมือนง่าย แต่ทำจริงไม่ง่ายเลย จะเกิดอาการเกรงอกเกรงใจ ไม่กล้าปฏิเสธงาน ถึงที่สุดแล้วอาจต้องตัดสินใจปฏิเสธงานไปบ้าง เพื่อให้เกิดทางออกใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่า หากยื้องานไว้ทำเอง แต่กลับทำไม่ไหวอาจจะกลายเป็นผลเสียกับผู้อื่นได้ 4. ปล่อยวางผล […]

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

ลักษณะของคนที่เรียนรู้อยู่เสมอ – Habits of People Who Are Always Learning New Skills

จากงานวิจัยพบว่า คอร์สออนไลน์ที่เราลงเรียน (Enroll) ไว้เนี่ย เราเลิกเรียนกลางครันถึง 40-80% เลยทีเดียวครับ แล้วแบบนี้จะทำอย่างไร ให้เราสามารถ Reskill/Upskill ได้สำเร็จสมความตั้งใจ วันนี้ ผมขอนำเสนอข้อสังเกต ลักษณะของคนที่เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอจาก Harvard Business Review แบ่งเป็น 4 ข้อสังเกต ดังต่อไปนี้ครับ 1. มุ่งพัฒนาทักษะที่เร่งด่วนก่อน ทักษะใหม่ ๆ มีเรารับรู้มา อาจกำลังดึงความสนใจให้เราห่างออกจากทักษะที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน มี 2 ทาง ที่จะทำให้เราเข้าถึงทักษะที่เร่งด่วน ที่เราควรเลือกพัฒนาก่อนครับ หนึ่ง ติดตามดูว่าองค์กรชั้นนำกำลังจ้างคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร ในตำแหน่งที่เราสนใจ สอง สอบถามจากหัวหน้าเรา เพื่อให้รู้ว่าเขากำลังต้องพัฒนาทักษะอะไร เพื่อให้ตัวเขายังคงประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เราอาจเกรงกลัวที่จะถาม แต่จริง ๆ แล้วผู้นำของเรา ยินดีที่จะตอบคำถามนะ เพราะถ้าคุณยิ่งพัฒนา งานของเขาก็จะพัฒนาขึ้นด้วยตามลำดับ พอเรารู้ทักษะที่เร่งด่วนแล้ว ก็อาจถามความเห็นเขาต่อว่า มีวิธีการอะไรที่น่าสนใจในการพัฒนาทักษะนั้น ๆ บ้าง น่าจะได้รับคำตอบดี ๆ […]

ศิลปะการโน้มใจ สู่การเปลี่ยนแปลง – Persuade People to Change Their Behavior

เมื่อเกิดความคิดว่า ‘อยากเปลี่ยนคนอื่น’ นั่นคือ สัญญาณให้เรา ‘ทบทวนตนเอง’ บ่อยครั้ง การอยากเปลี่ยนคนอื่น นั่นอาจเพราะ ความอดทนของเราต่ำลง ให้เวลากับตัวเองสักนิดเพื่อทบทวนเจตนาของตนเอง ในฐานะหัวหน้างาน ถ้าเจตนาของเรามีความชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์กับองค์กร จึงควรตัดสินใจโน้มน้าวใจทีมงาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อไป โดยธรรมชาติมนุษย์มีความสุขกับการได้เลือก เช่น ได้เลือกซื้อขนมในแบบที่ชอบ ได้เลือกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยตนเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อถูกออกคำสั่งหนัก ๆ จะรู้สึกเหมือนถูกควบคุม ทำให้ออกอาการต่อต้าน ฝ่าฝืน หรือหันเหไปทำด้านตรงข้าม เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรจะโน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรดี บทความนี้ ขอนำเสนอเทคนิคจาก Harvard Business Review ประกอบด้วย 3 เทคนิค ดังต่อไปนี้ครับ 1. ใช้เจตนาของเขาเอง เทคนิคข้อนี้ คือ การชี้จุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เขาทำ หรือจุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาอยากให้คนอื่นทำ กับสิ่งที่เขาทำเองจริง ๆ เช่น หัวหน้างานบอกกับทีมงานว่า “ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สวม Mask เพื่อป้องกันไม่ให้ COVID19 ส่งผลกระทบต่องานขององค์กรของเรา” […]

ระดมสมองแบบดิสนีย์ – Disney Brainstorming Method

ความหลากหลายในทีม อาจนำมาซึ่งความติดขัดแตกแยก แต่ในขณะเดียวกัน หากมีกระบวนการที่เหมาะสม ความหลากหลายก็จะทำให้เกิดความสนุก ความเข้าใจ และผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้เช่นเดียวกัน กระบวนการหนึ่งที่เรียบง่าย สามารถใช้ได้ตั้งแต่โครงการขนาดเล็ก ๆ จนถึงโครงการใหญ่ยักษ์อย่าง Disney มีชื่อว่า “Disney Brainstorming Method” ความสำเร็จเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับความสนุกได้อย่างไร กระบวนการนี้ แบ่งออกเป็น 3 ห้องประชุม 1. ห้องนักฝัน (Dreamer)รวมนักฝันคุยกันถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แบบไม่มีเงื่อนไข มองจากมุมมองภายนอกองค์กร และมักจะมีคำถามว่า “ถ้าทำแบบนี้ดูบ้างล่ะ”, “ทำไมเราจึงไม่ทำแบบนี้บ้างล่ะ” 2. ห้องนักทำ (Realist)รวมคนที่มักจะตั้งคำถามว่า “ต้องทำอย่างไร” คนเหล่านี้จะไม่พูดถึงเหตุผลที่จะทำไม่ได้ แต่พวกเขาชอบพูดคุยถึงสิ่งที่สามารถนำไปสู่ความเป็นจริง 3. ห้องผู้รู้ (Spoiler or Critic) กลุ่มที่มองเห็นช่องโหว่ของความคิดเห็น ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยปรับแก้ให้ผลงานนั้นมีคุณค่า สอดคล้องไปกับสิ่งที่องค์กรต้องการจะสื่อสาร การรวมพลัง นักฝัน นักทำ และผู้รู้ Facilitator เริ่มต้นให้ทุกคนได้คุยรวมกัน ในประเด็นเดียวกัน จากนั้นเฝ้าสังเกตผู้ร่วมประชุมหรือให้ผู้เข้าร่วมย้อนสังเกตตัวเอง […]

5 หนทาง ต้านทานการติดมือถือ: 5 Ways to Counteract Your Smartphone Addiction

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งความหลงใหลทางเทคโนโลยี และการเสพติดมือถือ เราอาจรู้สึกว่าไม่สามารถไปไหนได้ถ้าไม่มีมือถือ เกิดความกังวลใจหากไม่สามารถเช็คอีเมล และถ้าเราไม่สามารถเช็คข่าวใน Social ได้ ก็จะเกิดความกลัวขึ้นมาว่า กำลังตกขบวนหรือพลาดอะไรไปรึป่าว เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปนั้น ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และความสัมพันธ์ของเราแย่ลง เช่นนี้แล้ว เราจะรักษาผลประโยชน์ และลดผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ได้มาจากงานวิจัย 1. ใช้การ “cc” และ “reply all” อย่างรอบคอบ เราส่งอีเมลออกไปมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับกลับมามากเท่านั้น การ “cc” อีเมลถึงทุกคนช่วยในการทำงานร่วมกัน แต่ก็สร้างปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการกดตอบกลับทั้งหมด “reply all” พร้อมส่งข้อความที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับทุกคนจริง ๆ ก็จะกลายเป็นการส่งต่อภาระที่ไม่จำเป็นให้ทุกคนต้องเช็คอีเมลบ่อย ๆ เกินความจำเป็น ดังนั้น เราจึงควร “cc” อย่างเหมาะสม ส่งถึงคนที่เกี่ยวข้องจริง ๆ เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการตอบกลับทั้งหมด “reply all” เว้นแต่ว่าเนื้อความนั้น เป็นประโยชน์เกี่ยวข้อง จำเป็นกับทุกคนจริง ๆ 2. ปรับความคาดหวัง […]

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]