Tag Archives: wisdom

จิตวิญญาณเพื่อสังคม : spirituality for society

4 กันยายน 2559 ได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี อย่างใกล้ชิด ท่านมาบรรยายในหัวข้อ จิตวิญญาณเพื่อสังคม (spirituality for society) ท่านสาธยายให้เห็นถึงที่มาของ วิกฤตอารยธรรม (civilization crisis) ที่เกิดขึ้นปลายยุคอุตสาหกรรม คำว่า “โลกาภิวัตน์” กลับไม่ใช่เพื่อการอยู่ร่วมกันดังความหมาย แต่กลับคือความสะดวกรวดเร็วทางด้านข้อมูลข่าวสาร การเงิน และ การขนส่ง ที่ส่งผลให้เกิดการถาถมความเจริญเข้าส่วนกลาง ส่งเสริมให้มนุษย์เห็นแก่ตัว พอกพูนอัตตาตัวตน ในส่วนของทางออกนั้น ท่านพูดถึงการผุดบังเกิดแห่งยุคใหม่ เรียกว่า ยุคจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) ซึ่งจะเกิดได้จากการได้ทำในสิ่งที่ชอบ อย่างปราณีต แล้วรวมกลุ่มกัน สำเร็จด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ออกจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง (self-center) เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพาน เข้าสู่การเป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อมโยงกลุ่มเป็นเครือข่าย การปฏิวัติสัมพันธภาพ หรือ อาจเรียกว่า ยุทธศาสตร์สมองส่วนหน้า (neocortex) ที่เป็นส่วนของสติ ปัญญา และ ศีลธรรม โดยให้ออกจากสังคมแบบระบบ top-down ที่มีส่วนไปกระตุ้นสมองชั้นใน (reptilian […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]