Category Archives: ภาวะผู้นำ

personal mastery, eldership, the upward spiral, metal rehearsal, Self, …

extra : the art of power, sublime states of mind, qualities of a good friend, original mind, …

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture

4 แนวทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทีม: Creating a Learning Culture จากงานวิจัยของ Linkedin พบว่า ครึ่งหนึ่งในบรรดาทักษะที่จำเป็นที่สุด เป็นทักษะใหม่ หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน คุณจะไม่พบทักษะเหล่านี้อยู่ในรายการของทักษะที่จำเป็น นั่นแสดงให้เห็นว่า คนทำงานในปัจจุบัน จำเป็นต้องเพิ่มทักษะใหม่ให้กับตัวเองอีกเป็นอย่างมาก ในฐานะองค์กรการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดมีขึ้น จึงมีความสำคัญ และต่อไปนี้ คือ 4 แนวทางในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีขึ้นในองค์กร หนึ่ง) มีรางวัลให้กับการเปิดใจ โดยการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการมีความรู้มากขึ้นแต่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการเปิดใจยอมรับ กล้าแสดงความคิดเห็น แม้จะนำไปสู่ความเห็นต่างก็ตาม การให้รางวัลที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ได้ สอง) ให้ข้อเสนอแนะที่เปิดใจ โดยปกติทุกคนจะไม่รู้ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ แต่ก็ยากที่จะเปิดรับต่อคำแนะนำจากใคร ๆ ที่ชี้ชัดถึงข้อจำกัดภายในตนเอง ดังนั้น การให้ข้อเสนอแนะต่อกันอย่างชี้ชัดไม่บิดพริ้วจึงคือคุณค่าที่แท้จริง เสมือนเป็นการมอบของขวัญอันล้ำค่า ในขณะเดียวกัน ผู้ให้ข้อเสนอแนะก็จำเป็นต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่นำไปสู่การเปิดใจยอมรับด้วย สาม) มีผู้นำที่เปิดใจ หากผู้นำอยากให้ทีมงานเป็นนักอ่าน ผู้นำก็ต้องเป็นนักอ่านและแบ่งปันหนังสือดี ๆ ให้กัน หากผู้นำอยากให้ทีมงานเรียนรู้ทักษะใหม่ ผู้นำก็ต้องอาสาทำงานใหม่ ๆ กล้าออกจากพื้นที่สบาย […]

ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator

ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) ได้ให้ความหมายของ คนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Workers) ว่าคือบุคลากรที่รู้เกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังทำ มากกว่าสิ่งที่หัวหน้างานของเขารู้ โดยในปัจจุบัน คนเก่งที่รู้งาน มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาวะผู้นำแบบเดิมที่สั่งการและควบคุมบุคลากรจากบนลงล่าง (Top-down) ตามโครงสร้างขององค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchy) จึงเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คำถามสำหรับผู้นำในวันนี้จึงคือ “จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้สมาชิกในทีมบรรลุเป้าหมายของเขา ในขณะที่ผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญมากกว่าทีมงาน” อลัน มูลัลลี่ CEO ของฟอร์ด มอเตอร์ (2006-2014) แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย (The Leader as Facilitator) มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย (The Leader as Boss) โดยเฉพาะเมื่อนำคนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Worker) การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย มาเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดและโปร่งใส กระตุ้นให้สมาชิกในทีมสามารถประเมินผลงานตนเองและเปิดเผยได้อย่างซื่อตรงโดยปราศจากความกลัวหรืออับอาย เมื่อสามารถรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงจึงสามารถช่วยกันหาทางออกได้ สิ่งนี้พูดง่ายแต่ทำจริงไม่ง่าย ต่อไปนี้คือตัวอย่างการบริหารจัดการของ อลัน […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

รู้ลมหายใจโดยไม่บังคับ – Observing the breath without controlling

การฝึกตามรู้ลมหายใจ โดยเริ่มต้น ความพยายามในการออกแรงหายใจเข้า จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจเข้าเล็กน้อย เช่นเดียวกันความพยายามในการออกแรงให้หายใจออก จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจออกเล็กน้อย นี่คือการเริ่มต้นที่งดงามในการฝึกฝนเพื่อการรู้สึกตัว บางทีเราอาจเรียกการรู้เช่นนี้ว่า “การกำหนดรู้” สิ่งนี้ ช่วยลดความเครียดหรือความคิดที่กำลังฟุ้งซ่านให้จางคลายได้ “หายใจเข้า… หายใจออก…” เมื่อฝึกฝนการรู้ลมหายใจไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่วงเวลาที่ความพยายามหายไป “การตามรู้ลมหายใจ” หรือ “การกำหนดรู้ลมหายใจ” จะแปรเปลี่ยนเป็น “การรู้ลมหายใจแบบซื่อ ๆ” อาจมาจากภาษาอีสานว่า… “ฮู่ซือ ๆ บ่ต้องเฮ็ดหยัง” สักแต่ว่ารู้ ราวกับว่านั่นมันไม่ใช่เรื่องของเรา เหมือนเรากำลังดู “ฮิปโปโปเทมัส” หายใจอยู่ เรื่องการหายใจเป็นเรื่องของฮิปโป ไม่ใช่เรื่องของเราแต่เรารู้อยู่ บางทีเราก็อาจมองเห็นร่างกายที่กระเพื่อม ๆ อยู่ด้วยลมหายใจ ไม่ใช่ร่างกายของเรา แต่เป็นลูกโป่งกลม ๆ ที่พองเข้าพองออกด้วยลม นี่คือการฝึกฝนที่เกื้อกูลให้อารมณ์ดี ดั่งผึ้งเยือนบุปผา ผมประทับใจเทศนาธรรม เรื่อง ดั่งผึ้งเยือนบุปผา (The Bee visits Flowers เทศนาธรรมผ่าน Zoon โดย หลวงพี่ Dat Nguyen พระธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัม […]

ปรับองค์กรให้คล่องตัว ด้วยทีมแห่งสติ – Mindful Team

การทำงานร่วมกันในยุคสมัยใหม่ ที่เกื้อกูลให้องค์กรของเรา สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ด้วยการจัดทีมแห่งสติ (Mindful Team) ขึ้นมาแบบเฉพาะกิจ เพื่อขับเคลื่อนแต่ละโปรเจคร่วมกันจนสำเร็จ โดยขอเรียนเสนอรายละเอียด ดังต่อไปนี้ครับ ทีมแห่งสติ ประกอบด้วย 3 บทบาท 1. Mindful Mainbody คือ ผู้ที่รับผิดชอบหลักในโปรเจค มีความเข้าใจลูกค้า และร่วมจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยคำว่า ‘Mainbody’ ช่วยให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเดียวกันกับทีมงาน ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของงานแต่เพียงผู้เดียว ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้การทำงานร่วมกันมีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน 2. Mindful Master คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator นำวงสนทนา รวมถึงคอยให้คำปรึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงานทุกคน โดยมุ่งเน้นขจัดอุปสรรคในการทำงานจากภายในจิตใจก่อนเป็นสำคัญ และเอื้ออำนวยให้กระบวนการทำงานร่วมกันเกิดความไหลลื่น และได้พัฒนาทั้งการทำงานและจิตใจไปพร้อมกันในระหว่างการทำงาน 3. Mindful Member คือ สมาชิกทุกคนในทีม ที่มาช่วยกันทำงานด้วยความรู้สึกว่าเป็นร่างกายเดียวกัน ทุกคนจึงถูกมองเห็นและเห็นคุณค่าในตนเอง ตระหนักรู้ถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง ทำหน้าที่ของตัวเองในขณะที่พร้อมเกื้อกูลการทำงานของผู้อื่นในทีมด้วย โดยในแต่ละทีมจะมีสมาชิกครบทุกความเชี่ยวชาญ เช่น 4-5 คน เพียงพอให้สามารถจบโปรเจคกันได้เองในทีม เพื่อลดการทำงานแบบไซโล ที่ใช้เวลาประสานงานระหว่างฝ่ายค่อนข้างมาก […]

ปรับประยุกต์ใช้ OKRs ในองค์กรของเรา – Why do you need OKRs?

OKRs ย่อมาจากคำว่า Objectives and Key Results เป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป้าหมายที่มีความท้าทายและสามารถวัดผลได้ องค์กรชื่อดังอย่างเช่น Google, LinkedIn, Spotify, Intel, Twitter, Dropbox และ Uber ต่างได้นำ OKRs มาปรับใช้ในองค์กร ทำให้ OKRs กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าการนำ OKRs มาใช้ในองค์กรเพราะเห็นองค์กรอื่นใช้อาจไม่ใช่เหตุผลที่ดีพอ การเข้าใจถึงแก่นแท้และความสำคัญของ OKRs ว่าเกิดขึ้นมาเพราะอะไร ช่วยแก้ปัญหาอะไรและจะมีประโยชน์อย่างไรกับองค์กรบ้าง จะช่วยให้เราสามารถปรับประยุกต์ใช้ OKRs ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทขององค์กรของเราเอง ต่อไปนี้ คือ เหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ OKRs มีประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกัน โดยเรียบเรียงเนื้อหาผ่าน FACTS Model (Doerr, 2018) ที่ประกอบไปด้วย (1) Focus (2) Alignment (3) Commitment (4) Tracking the Progress […]

การสร้างความรู้สึกปลอดภัยเพื่อการทำงานร่วมกัน: Psychological Safety for Collaboration

          พอล ซานตากาตา (Paul Santagata) หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมของ Google พบว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) หรือ “ความรู้สึกปลอดภัย” สมาชิกในทีมสามารถเชื่อแน่ว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษเมื่อลองทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วผิดพลาด การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่า ความรู้สึกปลอดภัยช่วยให้เกิดความกล้าพูดจากใจ กล้าสร้างสรรค์ และ อุปมาเหมือนกับเต่าที่กล้ายื่นคอออกมาโดยไม่กลัวที่จะถูกตัด เป็นลักษณะพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน           สมองจะประมวลผลเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น จากหัวหน้างานที่มีรังสีอำมหิต, จากเพื่อนร่วมงานที่ชิงดีชิงเด่นกัน หรือ จากลูกน้องที่ไม่ใส่ใจในงาน เมื่อเรากำลังเผชิญสิ่งเหล่านี้จะเปรียบเสมือนภาวะเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของชีวิต สมองจะปรับการทำงานเข้าสู่โหมดอยู่ให้รอดไว้ก่อน โดยสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นเสมือนระฆังเตือนของสมอง จะกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบสู้หรือหนี (Fight-or-flight reaction) ทำก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง (Act first, think later) สมองจะปิดทำการในส่วนของมุมมองและเหตุผลการคิดวิเคราะห์ กลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการคิดเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน           ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 มนุษย์จำเป็นต้องมีโหมดชีวิตแบบขยายและสร้าง (The broaden-and-build mode) พร้อมด้วยอารมณ์เชิงบวก สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนและสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน บาร์บารา […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ : Story Telling

ทุกวันนี้ ยังจำเพื่อนสมัยวัยเด็กได้ การจำได้นี่มาพร้อมกับสถานที่ ผู้คน ภาพ แสง สี เสียงต่าง ๆ ที่อยู่ในวีรกรรมของเรา นั่นเพราะธรรมชาติของเราเกือบทุกคน สามารถจดจำจากเรื่องเล่า ได้มากกว่า ยาวนานกว่า การท่องจำจากข้อมูล การเล่าเรื่อง (Story Telling) จึงน่าสนใจ เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ เทคนิคการเล่าเรื่องเหล่านี้ เราอาจใช้อยู่แล้วแบบที่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณการเล่าเรื่องนี้ อาจเกิดจากการดูหนังมา หรือ การอ่านนิยายมาหลาย ๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่ดี หากเกิดความรู้ที่ชัดเจนว่า อย่างน้อยมีเทคนิคการเล่าเรื่องถึง 8 แบบ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ใน 3 บรรทัด จะได้เอาเวลาไปฝึกเล่ากันครับ Monomyth (Hero’s Journey) เล่าถึงการเดินทางของตัวละคร ที่ออกเดินทางแล้วพบกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย จนได้เรียนรู้ และ หวนกลับคืนมาบอกเล่า ถึงประสบการณ์ทางปัญญา The Mountain คือ การเล่าที่ค่อย […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Recognize : Facilitative Leadership Chapter 4

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model R : Recognize เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model การให้การยอมรับ ชื่นชมกัน จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้สึกมีตัวตน แต่ไม่ปกป้องตัวตน พูดคุยแบบให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน ไม่ตัดสินถูกผิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในบรรยากาศสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ กล้าริเริ่ม เหนี่ยวนำให้เกิดการขยายกรอบความเชื่อ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อเรายอมรับชื่นชมกัน (Recognize) ได้ถี่บ่อยกว่าการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) การให้ข้อเสนอแนะก็จะมีคุณภาพ คำพูดของเราจะน่ารับฟัง น่านำไปปฏิบัติ อุปมากล่องของขวัญใบเล็ก ได้วางอยู่บนฐานที่มั่นคง ฐานนั้นต้องกว้างกว่ากล่องของขวัญ กล่องของขวัญ ก็คือ การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ส่วนฐานนั้น คือ ยอมรับชื่นชมกัน (Recognize) โดยปกติมนุษย์มีธรรมชาติที่จะสนใจในเรื่องเชิงลบ ตามสัญชาตญาณการอยู่รอด เราเรียกอคติเช่นนี้ ว่า […]