Category Archives: 01 Self-awareness

1. Emotional self-awareness
2. Accurate self-assessment
Emotional strengths and weakness
3. Self-confidence
Understanding your own emotions and the emotions of others and using that knowledge, leads to workplace outcomes.
.
Awareness 4 (purpose/suitability/the domain/reality)

ผู้บริหารรุ่นใหม่ ไทยน้ำทิพย์ มาเยือนสวนโมกข์: Young Professional Program

วันนี้ (วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559) มาเป็นกระบวนกร ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ ในงาน Thai Nam Thip Young Professional Program ต้อนรับผู้บริหารหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จากไทยน้ำทิพย์ จำนวน 35 ท่าน ช่วงเช้ารันกระบวนการนำพาออกจากความคุ้นชิน สู่โลกแห่งปัจจุบันขณะ ผ่านกิจกรรมเดินเท้าเปล่าบนพื้นทรายที่สวนพุทธธรรม ทดลองเร่งความเร็วออกเดินด้วยความเร็วหลายระดับ ตามด้วยกิจกรรมประสานมือ ตามต้านจักรวาลเพื่อสัมผัสถึงสภาวะที่เบาและสภาวะที่หนักที่อาจจะเกิดระหว่างการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ก็ได้นำพาสู่กระบวนการเดินกับแก้วน้ำแห่งสติ ก่อนที่จะนำพาทุกท่านเข้าสู่ช่วงเพลินธรรมนำชม ศึกษาปริศนาธรรมต่าง ๆ ภายในสวนโมกข์ กรุงเทพฯ ช่วงบ่าย นั่งล้อมวงสนทนากันที่โถงกิจกรรม ชั้น 1 แลกเปลี่ยนประสบการณ์พื้นฐานสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue เนื่องจากผู้เรียนเกือบทั้งหมด ยังไม่คุ้นเคยกับสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue จึงเริ่มต้นปูพื้นฐานการฟัง นำพาให้ได้สัมผัสการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และเรียนรู้ผู้นำสี่ทิศ เพื่อให้เข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่น เกิดการตระหนักถึงประโยชน์ของสติ เพื่อขยายขอบเขตหัวใจตนเอง จากนั้นได้นำพาทุกท่าน เข้าสู่ห้องนิพพานชิมลอง เรียนรู้เรื่องอริยสัจ […]

ก้อนหินในสวนดอกไม้ : Stone in the Garden

มองเห็นพื้นหญ้าเขียวขจี  ดอกไม้หลากสีพริ้วไหว ละอองเกสรล่องลอยไป ผีเสื้อปีกใสระยิบตา ก้อนหินกลิ้งมาโดดเด้ง ตกลงสงบเคว้งในพงหญ้า ก้อนหินกระโดดเด้งไปมา พริ้วไหวเพลินตาเพลินใจ ก้อนหินต้องแสงสว่างจ้า ต้นหญ้ามิอาจกั้นประกาย ก้อนหินสงบนิ่งเบาสบาย แสงรอบพริ้วไหวได้เอง — รัน ธีรัญญ์ — 14 กุมภาพันธ์ 2559

จินตนาการข้ามขอบ : mental rehearsal

การซักซ้อมในจินตนาการ (mental rehearsal) คือ การจินตนาการเห็นภาพตัวเราเอง ในพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น ออกกำลังกายยามเช้า ซ้อมกีฬาอย่างมีวินัย หรือ สามารถพูดต่อหน้าคนจำนวนมากได้อย่างมั่นใจ การซักซ้อมในจินตนาการ ช่วยรื้อสร้างพฤติกรรมที่เคยคุ้น โดยเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (reptilian brain) หรือ ก้านสมอง (core brain) เพื่อเขียนระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติชุดใหม่ ที่มีคุณภาพมากขึ้นตามที่มุ่งมั่นตั้งใจ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง พฤติกรรมหลายสิ่งอย่างที่มนุษย์ทำไปด้วยระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติ เช่น การเขียนปี พ.ศ. ซ้ำๆ จนคุ้นชิน ทำให้เราเขียนปี พ.ศ. ออกมาต่อจากวันที่ และ เดือน โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด พอข้ามจากปีเก่า เข้าสู่ปีใหม่ เรามักยังคงคุ้นเคย กับการเขียนปี พ.ศ. ของปีก่อน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนโดยไม่รู้ตัวว่าผิดด้วยซ้ำ เรียกขั้นนี้ว่า การไม่รู้ว่าเราไม่สามารถ (unconsciously unskilled) แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพื่อนมาทักบอกให้แก้ หรือ เราอาจจะสังเกตพบข้อบกพร่อง แปลกแยกจากผู้อื่นด้วยตัวเอง เรียกขั้นตอนนี้ว่า การรู้ว่าเราไม่สามารถ (consciously unskilled) […]

พูดจา กระชับ จับใจ : Intuitive Speech

รู้สึกหลงใหลคำพูดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา (Dialogue) การสนทนาที่ปล่อยให้ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของท่วงทำนองการพูดคุย เมื่อเราฟังความเงียบได้ เราจะได้ยินเสียงกระซิบจากจักรวาล และบ่อยครั้งเมื่อความเงียบมากพอ เราจะได้ยินเสียงของปราชญ์ ผู้ที่มักสงบอยู่ อาจเป็นใครสักคนในวงสนทนาที่เราไม่เคยคาดคิดก็ได้ คำพูดที่อ่านจากประสบการณ์ชีวิต บางเสี้ยวบางตอน สะท้อนออกมาเพื่อมอบให้ผู้ฟัง ด้วยความรัก ได้แบบกระชับ จับใจ (Intuitive Speech) จอมยุทธที่มีเพลงยุทธ ย่อมเพลิดเพลินในการท่องยุทธฉันใด กระบวนกรผู้มีวาทศิลป์ ย่อมเพลิดเพลินในวงสนทนาฉันนั้น ไม่ว่าท่องเที่ยวไปสู่วงสนทนาที่ไหน ผู้คนย่อมยกย่องในเพลงดาบที่งดงามฟันฉับเดียวขาด มากกว่า เพลงดาบที่ร่ายรำเรื่อยไปแบบไร้ทิศทาง เหตุผลของการพูดที่กระชับนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย ยังหมายถึง การเอื้อเฟื้อเวลาให้กับผู้อื่นได้พูดอีกด้วย วิธีการพูดของแต่ละคนนั้น อาจกลั่นกรองมาได้จากหลายวิธี ผมทำได้เพียงเฝ้าสังเกต เรียนรู้จากตัวเองในขณะที่ถึงเวลาจะพูด ผมใช้เวลาในการหายใจเล็กน้อยก่อนพูด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะไม่คิดหาถ้อยคำใดๆ เพื่อมาพูด ในใจรู้แต่เพียงว่าจะมอบสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ภายหลังการหายใจเข้าออกสักพัก จะมีถ้อยคำผุดขึ้นเอง 2-3 คำ บ่อยครั้ง ผมจะใช้วิธีการ เล่าเชื่อมโยงถึงคำสำคัญเข้าด้วยกัน ด้วยการอ่านประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมกับการอ่านความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย แต่ละประโยคที่พูด จึงสั้นยาวได้ความ เหมือนข้าวที่พอดีคำ กลืนกินได้สะดวก สภาวะนี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ มันนำพาให้การพูดนั้น […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

เล่าเรื่องย่อจิตตนคร ในงานวัดลอยฟ้า จิตตนคร : mind city

วันที่ 3 – 7 เมษายน 2557 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธรรมภาคี สวนโมกข์ กรุงเทพฯ องค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย ได้ร่วมกันจัดมหกรรมงานวัด (temple fair) กลางกรุง บนห้างสรรพสินค้า สยาม พารากอน ชื่องานว่า งานวัดลอยฟ้า จิตตนคร ในงานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเล่าเรื่องย่อ จิตตนคร นครหลวงของโลก พระนิพนธ์ ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก* ให้กับผู้ที่มาร่วมชมงาน ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวในพระนิพนธ์ แบบพอสังเขป ในแบบสนุกสนาน เข้าใจง่ายๆ ภายในเวลา 20-30 นาที จิตตนคร เป็นนครหลวงของโลก เป็นแหล่งเกิดแห่งสุข ทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม สมบัติ และ วิบัติแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเมืองลับแล ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นได้ด้วยตาใจ เมื่อทำความสงบจิตดู เหตุการณ์สำคัญ ในวันปีใหม่ […]

แลกเปลี่ยนชัวร์กว่าบอกสอน : mental models

เรียนรู้ เรื่อง รูปแบบความคิด (mental models) ผ่านนิทานเรื่อง เงาแห่งยุคหิน (Shadows of the Neanderthal : illuminating the beliefs that limit our organizations) สรุปเรื่องย่อเรียบเรียงพอเข้าใจได้ ตามนี้ครับ กาลครั้งหนึ่ง มีมนุษย์ถ้ำ 5 คน อาศัยรวมกันอยู่ ภายในถ้ำแห่งหนึ่ง พวกเขาไม่เคยออกจากถ้ำ ด้วยเหตุที่ทุกคนมีภาพความน่ากลัวภายนอกถ้ำต่างๆ กันไป มนุษย์ถ้ำจะหันหลังให้ปากถ้ำ ดังนั้น พวกเขาไม่เคยเห็นสัตว์ต่างๆ ภายนอกถ้ำเลย จะเห็นก็แต่เพียงเป็นเงาของสัตว์ ที่ฉายลงบนผนังถ้ำเท่านั้น และ พวกเขาก็คิดว่า นั่นเป็นสัตว์จริงๆ มนุษย์ถ้ำคนหนึ่ง ชื่อ บูกี เขามีความคิดที่ต่างออกไป ครั้งหนึ่ง เขาเผลอพลั้งปากพูดถึงความคิดที่แหกคอกนั้นออกไปว่า “เขาสงสัยว่ามีอะไรนอกถ้ำกันแน่” เพียงเท่านั้น ก็ถูกบรรดาเพื่อนมนุษย์ถ้ำรุมด่า รุมวิพากษ์วิจารย์ ไปต่างๆนานา จนเลยเถิด ถึงขั้นขับไล่ บูกี ออกจากถ้ำไป ด้วยหวังจะให้ บูกี หายไปตลอดกาล บูกีออกสู่โลกภายนอกถ้ำ […]

ความสำเร็จขับเคลื่อนความสำเร็จ : personal mastery

เรียนรู้ เรื่อง การเอาชนะตนเอง (personal mastery) ผ่านนิทาน เรื่องหนูเลมมิงจ์ (The Lemming Dilemma : living with purpose, leading with vision) สรุปเรื่องย่อ พอสังเขป ตามนี้ครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหนูเลมมิงจ์ นับพันๆตัว เดินทางไปยังหน้าผาแห่งหนึ่ง เพื่อกระโดดลงไปตามๆกัน พวกหนูเลมมิงจ์ไม่เคยคิดเลยว่า ทำไมพวกมันต้องกระโดดจากหน้าผา พวกมันแค่กระโดดลงไปตามๆกัน ตามประเพณีนิยม (ส่วนนี้ คือ เรื่องจริงเกี่ยวกับหนูเลมมิงจ์ที่เดินกลิ้งหล่นจากหน้าผาตามๆกัน สนใจลองค้นดูใน google หรือ youtube เพิ่มเติมได้นะครับ) มีหนูเลมมิงค์ตัวหนึ่ง ชื่อ เอมมี่ มันมีความรู้สึกเหมือนถูกดึงดูดให้ไปยังหน้าผาเพื่อที่จะกระโดดลงไป เช่นเดียวกับหนูเลมมิงจ์ตัวอื่นๆ นับพันๆ ตัว แต่เอมมี่ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมมันถึงต้องกระโดดลงจากหน้าผา ? ที่ปรึกษาด้านการจัดการของเหล่าหนูเลมมิงจ์ ตอบเอมมี่ว่า เพราะมันคือถ้อยแถลงร่วมกันของเหล่าหนูเลมมิงจ์ เอมมี่ฟังแล้วแต่รู้สึกยังไม่เคลียร์ คำตอบนี้ ยังไม่ช่วยไขความกระจ่างให้กับเอมมี่ มันกลับถามตัวเองเพิ่มขึ้นว่า ฉันต้องการอะไร? […]