Category Archives: 01 Self-awareness

1. Emotional self-awareness
2. Accurate self-assessment
Emotional strengths and weakness
3. Self-confidence
Understanding your own emotions and the emotions of others and using that knowledge, leads to workplace outcomes.
.
Awareness 4 (purpose/suitability/the domain/reality)

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

ความสวยงามของความต้องการ : the beauty of human needs

ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดจากความเข้าใจในความต้องการของกันและกัน และ ความพอใจเกิดขึ้นเมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนอง แต่หากความต้องการของแต่ละคนมีหลากหลาย และ ดูเหมือนจะเริ่มแตกต่าง แปลกแยกไปคนละเส้นทางกัน เราจะดูแลความสัมพันธ์อย่างไร ฉันต้องการกิน ฉันต้องการเที่ยว ฉันต้องการอ่านหนังสือ ฉันต้องการนอน ฉันต้องการดูหนัง ฉันต้องการฟังเพลง แท้จริงความต้องการเหล่านี้ อาจหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ต้องการ…พักผ่อน ในการบอกความต้องการในชีวิตประจำวัน มักผสมโรงอยู่ด้วย PLATO PLATO คือ คำพูดที่ชี้ชัดถึงตัวบุคคล (person), ชี้ชัดถึงสถานที่ (location), ชี้ชัดถึงวิธีการ (action), ชี้ชัดเวลา (time) และ ชี้ชัดถึงวัตถุสิ่งของ (object) ประโยคการร้องขอ หรือ บ่งบอกความต้องการ ที่ปราศจาก PLATO คือ ความต้องการที่จริงแท้ ภรรยา : ฉันต้องการให้เธอซักผ้าให้ฉันในวันนี้ ประโยคที่เต็มไปด้วย PLATO นั้น สร้างความรู้สึกอึดอัดแก่คนฟัง ความต้องการที่แท้จริงของประโยคนี้ อาจคือ “ความสะอาด” การสืบค้นสู่ความต้องการที่จริงแท้ ช่วยเปิดโอกาสให้กับการค้นพบวิธีการใหม่ๆ ที่อาจตอบสนองตรงความต้องการได้เช่นเดียวกัน […]

การซื่อตรงกับความรู้สึก : integrity of feeling

สมรภูมิของชีวิตที่ต้องคิดสืบสาวหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ความรู้สึกของเรา ถูกฉาบไว้ด้วยความคิด” บางครั้งเราจินตนาการด้วยการอุปมาอุปมัย แล้วบอกความรู้สึกของเราออกมาเป็นภาพ บางครั้งเราคิดด้วยข้อมูลความรู้ที่มี ผสมคลุกเคล้าเข้ากับความรู้สึกแล้วพูดออกมาเป็นบทวิเคราะห์ เราเฉไฉออกจากความรู้สึกที่แท้จริงอย่างไม่รู้ตัว “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังอยู่ท่ามกลางทะเลทราย” “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังได้รับประโยชน์จาก…” “ฉันรู้สึกว่า ผลงานครั้งนี้ยอดเยียมมากเลย…” เหล่านี้ ไม่ใช่ความรู้สึก ถึงแม้ว่าเราจะพยายามขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันรู้สึกว่า…”   ในขณะที่การเพ่งโทษไปที่ผู้อื่น ไปที่สิ่งอื่น ยิ่งห่างไกลการสัมผัสรับรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง “ฉันรู้สึกว่า เธอกำลังควบคุมฉัน” “ฉันรู้สึกว่า ถ้าจะให้ดีเธอควรแก้ไขเกี่ยวกับ…” “ฉันรู้สึกว่า อะไรก็ได้ แล้วแต่เธอ” ความรู้สึก คือ อะไรที่ง่ายกว่านั้น และ ตรงไปตรงมา เช่น ภูมิใจ รัก คิดถึง เป็นห่วง เหนื่อยใจ สับสน อึดอัด หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโห ตื่นเต้น ดีใจ มีความสุข มีทิศทางการสืบค้นเข้าหาภายในใจตนเอง เมื่อเราสัมผัสและสื่อสารถึงความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างซื่อตรง (identify and express feelings) […]

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]

กุศโลบายคลายทุกข์ : no mud no lotus

“ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่มันก็ยังประกอบด้วยสิ่งอัศจรรย์มากมาย หากเธอปรารถนาที่จะสัมผัสกับความอัศจรรย์แห่งชีวิต จงกลับมาสู่ปัจจุบันขณะ – Thich Nhat Hanh”  ความสุขอันอัศจรรย์นั้นมีอยู่แล้ว ในโลกแห่งปัจจุบันขณะ เพียงแต่ความคิดของเรา ทำให้เราติดอยู่ในโลกแห่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือไม่ ก็ล่องลอยไปในโลกแห่งอนาคต ดูผิวเผินเหมือนว่าความคิดนำพาเราไป แต่แท้จริงแล้วตัวเรานั่นเองที่กระโจนลงสู่กระแสแห่งความคิด กีดกันไม่ปล่อยให้กระแสความคิดได้ไหลผ่านไป และ ความคิดนี่เองที่นำมาสู่ความทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรา ผู้เขียนจึงขอเสนอ “กุศโลบายคลายทุกข์” ตามเหตุแห่งทุกข์ (the cause of suffering) ได้แก่ ความอยาก (craving) ความยึด (attachment) ภาวะชีวิต (becoming) กุศโลบายคลายทุกข์ คือ การเข้าไปทราบถึงเหตุแห่งความทุกข์ แล้วเลือกใช้กุศโลบายที่เหมาะสม เพื่อนำพาชีวิตให้กลับคืนสู่สมดุล เกิดความรู้สึกที่โล่งสบาย เป็นอิสระจากความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ งานเขียนนี้ นอกจากจะนำเสนอกุศโลบายคลายทุกข์เป็นแนวคิดสั้นๆ ยังขยายความด้วยกระบวนการสำหรับงานกระบวนกรด้วย รายละเอียด ดังต่อไปนี้เลย 1. ทุกข์เพราะอยาก (craving) เรื่องราวความทุกข์ที่พัวพันกับสิ่งภายนอก ประมาณว่าอยากได้มาแต่ยังไม่ได้ อยากผลักไสออกไปแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ทำให้เกิดเป็นความคิดฟุ้งซ่าน สับสน ไร้ทิศทางที่ชัดเจน ศักยภาพความคิดอ่อนกำลัง กระบวนการด้านเหตุผลอ่อนกำลัง ทำให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ควานหาเป้าหมายไม่เจอ แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ไม่รู้ข้อดีของตัวเอง เป้าหมายไม่ชัดเจน […]

กระบวนกรในบทบาทผู้ให้คำปรึกษา : facilitator as counselor

ในวิถีจริงของกระบวนกร เมื่อกระบวนกรมีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนมากพอ รวมถึงเมื่อกระบวนกรมีความมั่นคงภายในตนเอง (self-awareness) จนสามารถประเมินสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ กระบวนกรผู้นั้นจะสามารถขยับขยายบทบาทของตัวเองออกไป จากการเป็นเพียง วิทยากรกระบวนการ (facilitator) ซึ่งโดยทั่วไปจะดำรงบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อยอดสู่การเป็นกระบวนกรนักบำบัด (facilitator as a therapist) ซึ่งอาจใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด (art therapy) เข้ามาในกระบวนการเรียนรู้ มากไปกว่านั้น อาจขยับขยายสู่บทบาทของการเป็นกระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา (facilitator as  a counselor) มีทักษะการฟังอย่างกรุณา (compassionate listening) และ อาจเชี่ยวชาญลึกซึ้งในโลกด้านในของมนุษย์ จนสามารถเป็นกระบวนกรผู้เยียวยา (facilitator as a healer) คลี่คลายปม (trauma) สำคัญๆ ที่เป็นอุปสรรคในชีวิตได้ งานเขียนนี้จะเขียนถึง “กระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา” โดยเขียนจากประสบการณ์งานกระบวนกรของผู้เขียน หลอมรวมเข้ากับทฤษฎีจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (counseling) ที่ได้เรียนรู้กับโค้ชจิ๊บ จารุวดี ปวรินทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษา (counseling) หมายถึง ขบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาใช้ความสามารถ และ คุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตของตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจได้เอง และ แก้ปัญหาการขัดแย้งทางอารมณ์ได้ (Tayler, […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]