Category Archives: การสื่อสาร

dialogue,connect, rapport, non-verbal skill, secure attachment, team learning, team building, …

extra : oneness, wholeness, inter-being, …

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

ความสวยงามของความต้องการ : the beauty of human needs

ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดจากความเข้าใจในความต้องการของกันและกัน และ ความพอใจเกิดขึ้นเมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนอง แต่หากความต้องการของแต่ละคนมีหลากหลาย และ ดูเหมือนจะเริ่มแตกต่าง แปลกแยกไปคนละเส้นทางกัน เราจะดูแลความสัมพันธ์อย่างไร ฉันต้องการกิน ฉันต้องการเที่ยว ฉันต้องการอ่านหนังสือ ฉันต้องการนอน ฉันต้องการดูหนัง ฉันต้องการฟังเพลง แท้จริงความต้องการเหล่านี้ อาจหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ต้องการ…พักผ่อน ในการบอกความต้องการในชีวิตประจำวัน มักผสมโรงอยู่ด้วย PLATO PLATO คือ คำพูดที่ชี้ชัดถึงตัวบุคคล (person), ชี้ชัดถึงสถานที่ (location), ชี้ชัดถึงวิธีการ (action), ชี้ชัดเวลา (time) และ ชี้ชัดถึงวัตถุสิ่งของ (object) ประโยคการร้องขอ หรือ บ่งบอกความต้องการ ที่ปราศจาก PLATO คือ ความต้องการที่จริงแท้ ภรรยา : ฉันต้องการให้เธอซักผ้าให้ฉันในวันนี้ ประโยคที่เต็มไปด้วย PLATO นั้น สร้างความรู้สึกอึดอัดแก่คนฟัง ความต้องการที่แท้จริงของประโยคนี้ อาจคือ “ความสะอาด” การสืบค้นสู่ความต้องการที่จริงแท้ ช่วยเปิดโอกาสให้กับการค้นพบวิธีการใหม่ๆ ที่อาจตอบสนองตรงความต้องการได้เช่นเดียวกัน […]

การซื่อตรงกับความรู้สึก : integrity of feeling

สมรภูมิของชีวิตที่ต้องคิดสืบสาวหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ความรู้สึกของเรา ถูกฉาบไว้ด้วยความคิด” บางครั้งเราจินตนาการด้วยการอุปมาอุปมัย แล้วบอกความรู้สึกของเราออกมาเป็นภาพ บางครั้งเราคิดด้วยข้อมูลความรู้ที่มี ผสมคลุกเคล้าเข้ากับความรู้สึกแล้วพูดออกมาเป็นบทวิเคราะห์ เราเฉไฉออกจากความรู้สึกที่แท้จริงอย่างไม่รู้ตัว “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังอยู่ท่ามกลางทะเลทราย” “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังได้รับประโยชน์จาก…” “ฉันรู้สึกว่า ผลงานครั้งนี้ยอดเยียมมากเลย…” เหล่านี้ ไม่ใช่ความรู้สึก ถึงแม้ว่าเราจะพยายามขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันรู้สึกว่า…”   ในขณะที่การเพ่งโทษไปที่ผู้อื่น ไปที่สิ่งอื่น ยิ่งห่างไกลการสัมผัสรับรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง “ฉันรู้สึกว่า เธอกำลังควบคุมฉัน” “ฉันรู้สึกว่า ถ้าจะให้ดีเธอควรแก้ไขเกี่ยวกับ…” “ฉันรู้สึกว่า อะไรก็ได้ แล้วแต่เธอ” ความรู้สึก คือ อะไรที่ง่ายกว่านั้น และ ตรงไปตรงมา เช่น ภูมิใจ รัก คิดถึง เป็นห่วง เหนื่อยใจ สับสน อึดอัด หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโห ตื่นเต้น ดีใจ มีความสุข มีทิศทางการสืบค้นเข้าหาภายในใจตนเอง เมื่อเราสัมผัสและสื่อสารถึงความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างซื่อตรง (identify and express feelings) […]

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

การสื่อสารภายในองค์กร : Open Mind Open Heart Open Will

การได้ร่วมทีมกระบวนกร ในคอร์สกระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ตั้งแต่วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งผลต่อพัฒนาการทักษะการเป็นกระบวนกรของตัวเอง ในส่วนงานที่จะสามารถเข้าไปพัฒนาการสื่อสาร ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นให้กับบุคลากรภายในองค์กร งานเขียนนี้เกิดจากการวิเคราะห์ เรื่องราวใน Workshop ผสมเข้ากับ การนำทฤษฎีอื่นๆ มาสังเคราะห์ประกอบต่อยอด เพื่อการเรียนรู้ การสื่อสารด้วยใจ อาจคือ ประสบการณ์ที่เลือนหายไปจากผู้คนในองค์กร เมื่อข้ามขอบสัมผัสถึงประสบการณ์ใหม่ ในการสื่อสารกันแบบตรงมาตรงไป ทำให้สะท้อนย้อนคลี่คลายถึงปมเล็กๆ ภายในของแต่ละคนเองได้ด้วย ก่อเกิดการเริ่มต้นใหม่ในมุมคิด พฤติกรรม และ วัฒนธรรมแห่งการสื่อสารภายในองค์กร กิจกรรมพูดเปิดใจแบบตรงมาตรงไปสำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม ผู้คนในองค์กรข้ามขอบเดิมๆ สามารถสื่อสารกันอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นภายในองค์กร หรือ เพียงย้อนกลับเก็บงำความคิดตัดสิน สู่ความคุ้นชินเดิมๆ หลักสูตร กระบวนกรพื้นฐาน 3 วัน (3-5 ก.พ. 59) ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อความสำเร็จในกิจกรรมพูดเปิดใจ อาจประกอบด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ผ่านพ้นการฟังแบบตัดสิน (I-in-me) สู่การฟังในอีก 3 ระดับ […]

พูดจา กระชับ จับใจ : Intuitive Speech

รู้สึกหลงใหลคำพูดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา (Dialogue) การสนทนาที่ปล่อยให้ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของท่วงทำนองการพูดคุย เมื่อเราฟังความเงียบได้ เราจะได้ยินเสียงกระซิบจากจักรวาล และบ่อยครั้งเมื่อความเงียบมากพอ เราจะได้ยินเสียงของปราชญ์ ผู้ที่มักสงบอยู่ อาจเป็นใครสักคนในวงสนทนาที่เราไม่เคยคาดคิดก็ได้ คำพูดที่อ่านจากประสบการณ์ชีวิต บางเสี้ยวบางตอน สะท้อนออกมาเพื่อมอบให้ผู้ฟัง ด้วยความรัก ได้แบบกระชับ จับใจ (Intuitive Speech) จอมยุทธที่มีเพลงยุทธ ย่อมเพลิดเพลินในการท่องยุทธฉันใด กระบวนกรผู้มีวาทศิลป์ ย่อมเพลิดเพลินในวงสนทนาฉันนั้น ไม่ว่าท่องเที่ยวไปสู่วงสนทนาที่ไหน ผู้คนย่อมยกย่องในเพลงดาบที่งดงามฟันฉับเดียวขาด มากกว่า เพลงดาบที่ร่ายรำเรื่อยไปแบบไร้ทิศทาง เหตุผลของการพูดที่กระชับนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย ยังหมายถึง การเอื้อเฟื้อเวลาให้กับผู้อื่นได้พูดอีกด้วย วิธีการพูดของแต่ละคนนั้น อาจกลั่นกรองมาได้จากหลายวิธี ผมทำได้เพียงเฝ้าสังเกต เรียนรู้จากตัวเองในขณะที่ถึงเวลาจะพูด ผมใช้เวลาในการหายใจเล็กน้อยก่อนพูด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะไม่คิดหาถ้อยคำใดๆ เพื่อมาพูด ในใจรู้แต่เพียงว่าจะมอบสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ภายหลังการหายใจเข้าออกสักพัก จะมีถ้อยคำผุดขึ้นเอง 2-3 คำ บ่อยครั้ง ผมจะใช้วิธีการ เล่าเชื่อมโยงถึงคำสำคัญเข้าด้วยกัน ด้วยการอ่านประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมกับการอ่านความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย แต่ละประโยคที่พูด จึงสั้นยาวได้ความ เหมือนข้าวที่พอดีคำ กลืนกินได้สะดวก สภาวะนี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ มันนำพาให้การพูดนั้น […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]