Category Archives: 05 Wisdom

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]

กุศโลบายคลายทุกข์ : no mud no lotus

“ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่มันก็ยังประกอบด้วยสิ่งอัศจรรย์มากมาย หากเธอปรารถนาที่จะสัมผัสกับความอัศจรรย์แห่งชีวิต จงกลับมาสู่ปัจจุบันขณะ – Thich Nhat Hanh”  ความสุขอันอัศจรรย์นั้นมีอยู่แล้ว ในโลกแห่งปัจจุบันขณะ เพียงแต่ความคิดของเรา ทำให้เราติดอยู่ในโลกแห่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือไม่ ก็ล่องลอยไปในโลกแห่งอนาคต ดูผิวเผินเหมือนว่าความคิดนำพาเราไป แต่แท้จริงแล้วตัวเรานั่นเองที่กระโจนลงสู่กระแสแห่งความคิด กีดกันไม่ปล่อยให้กระแสความคิดได้ไหลผ่านไป และ ความคิดนี่เองที่นำมาสู่ความทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรา ผู้เขียนจึงขอเสนอ “กุศโลบายคลายทุกข์” ตามเหตุแห่งทุกข์ (the cause of suffering) ได้แก่ ความอยาก (craving) ความยึด (attachment) ภาวะชีวิต (becoming) กุศโลบายคลายทุกข์ คือ การเข้าไปทราบถึงเหตุแห่งความทุกข์ แล้วเลือกใช้กุศโลบายที่เหมาะสม เพื่อนำพาชีวิตให้กลับคืนสู่สมดุล เกิดความรู้สึกที่โล่งสบาย เป็นอิสระจากความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ งานเขียนนี้ นอกจากจะนำเสนอกุศโลบายคลายทุกข์เป็นแนวคิดสั้นๆ ยังขยายความด้วยกระบวนการสำหรับงานกระบวนกรด้วย รายละเอียด ดังต่อไปนี้เลย 1. ทุกข์เพราะอยาก (craving) เรื่องราวความทุกข์ที่พัวพันกับสิ่งภายนอก ประมาณว่าอยากได้มาแต่ยังไม่ได้ อยากผลักไสออกไปแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ทำให้เกิดเป็นความคิดฟุ้งซ่าน สับสน ไร้ทิศทางที่ชัดเจน ศักยภาพความคิดอ่อนกำลัง กระบวนการด้านเหตุผลอ่อนกำลัง ทำให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ควานหาเป้าหมายไม่เจอ แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ไม่รู้ข้อดีของตัวเอง เป้าหมายไม่ชัดเจน […]

ผู้บริหารรุ่นใหม่ ไทยน้ำทิพย์ มาเยือนสวนโมกข์: Young Professional Program

วันนี้ (วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559) มาเป็นกระบวนกร ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ ในงาน Thai Nam Thip Young Professional Program ต้อนรับผู้บริหารหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จากไทยน้ำทิพย์ จำนวน 35 ท่าน ช่วงเช้ารันกระบวนการนำพาออกจากความคุ้นชิน สู่โลกแห่งปัจจุบันขณะ ผ่านกิจกรรมเดินเท้าเปล่าบนพื้นทรายที่สวนพุทธธรรม ทดลองเร่งความเร็วออกเดินด้วยความเร็วหลายระดับ ตามด้วยกิจกรรมประสานมือ ตามต้านจักรวาลเพื่อสัมผัสถึงสภาวะที่เบาและสภาวะที่หนักที่อาจจะเกิดระหว่างการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ก็ได้นำพาสู่กระบวนการเดินกับแก้วน้ำแห่งสติ ก่อนที่จะนำพาทุกท่านเข้าสู่ช่วงเพลินธรรมนำชม ศึกษาปริศนาธรรมต่าง ๆ ภายในสวนโมกข์ กรุงเทพฯ ช่วงบ่าย นั่งล้อมวงสนทนากันที่โถงกิจกรรม ชั้น 1 แลกเปลี่ยนประสบการณ์พื้นฐานสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue เนื่องจากผู้เรียนเกือบทั้งหมด ยังไม่คุ้นเคยกับสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue จึงเริ่มต้นปูพื้นฐานการฟัง นำพาให้ได้สัมผัสการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และเรียนรู้ผู้นำสี่ทิศ เพื่อให้เข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่น เกิดการตระหนักถึงประโยชน์ของสติ เพื่อขยายขอบเขตหัวใจตนเอง จากนั้นได้นำพาทุกท่าน เข้าสู่ห้องนิพพานชิมลอง เรียนรู้เรื่องอริยสัจ […]

จิตตปัญญาศึกษา (ภาคทฤษฎี) : Contemplative Education

จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) มีมุมมอง ความเชื่อพื้นฐาน (Worldview) ว่า “สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงถึงกันหมด มีความเป็นองค์รวม (Holism, Co-creation) การรู้ที่แท้มาจากภายในของตนเอง และ ทุกชีวิตมีความกรุณาเป็นพื้นฐาน” มุมมอง ความเชื่อพื้นฐานนี้ นำสู่หนทางแห่งจิตภายใน (Inner Practice) สภาวะภายใน ความรู้สึกนึกคิด แรงจูงใจ ความต้องการ การฝึกฝนเพื่อการมีสติ ตระหนักรู้ เท่าทันสภาวะต่างๆ การปล่อยวาง การเตรียมจิตให้พร้อมสำหรับใคร่ครวญ เปิดรับ ผ่อนคลาย วางใจ หนทางแห่งจิตภายใน นำสู่วิธีปฏิบัติ (Conduct) เช่น การรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เพื่อนรับฟัง การตั้งคำถามเพื่อสืบค้น การสื่อสารอย่างสันติ (NVC) สุนทรียสนทนา (Dialogue) การมีสังฆะ  การดำรงอยู่ร่วม การส่งมอบสิ่งดีงาม ความสุข จิตอาสา กิจกรรมพลังกลุ่ม จิตตศิลป์ การนำพาจิตใจสู่ความสงบ โยคะ ดนตรี ฯลฯ […]