Tag Archives: beginners-mind

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]