Tag Archives: self-awareness

กระบวนกรในบทบาทผู้ให้คำปรึกษา : facilitator as counselor

ในวิถีจริงของกระบวนกร เมื่อกระบวนกรมีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนมากพอ รวมถึงเมื่อกระบวนกรมีความมั่นคงภายในตนเอง (self-awareness) จนสามารถประเมินสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ กระบวนกรผู้นั้นจะสามารถขยับขยายบทบาทของตัวเองออกไป จากการเป็นเพียง วิทยากรกระบวนการ (facilitator) ซึ่งโดยทั่วไปจะดำรงบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อยอดสู่การเป็นกระบวนกรนักบำบัด (facilitator as a therapist) ซึ่งอาจใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด (art therapy) เข้ามาในกระบวนการเรียนรู้ มากไปกว่านั้น อาจขยับขยายสู่บทบาทของการเป็นกระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา (facilitator as  a counselor) มีทักษะการฟังอย่างกรุณา (compassionate listening) และ อาจเชี่ยวชาญลึกซึ้งในโลกด้านในของมนุษย์ จนสามารถเป็นกระบวนกรผู้เยียวยา (facilitator as a healer) คลี่คลายปม (trauma) สำคัญๆ ที่เป็นอุปสรรคในชีวิตได้ งานเขียนนี้จะเขียนถึง “กระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา” โดยเขียนจากประสบการณ์งานกระบวนกรของผู้เขียน หลอมรวมเข้ากับทฤษฎีจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (counseling) ที่ได้เรียนรู้กับโค้ชจิ๊บ จารุวดี ปวรินทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษา (counseling) หมายถึง ขบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาใช้ความสามารถ และ คุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตของตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจได้เอง และ แก้ปัญหาการขัดแย้งทางอารมณ์ได้ (Tayler, […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

ความสำเร็จขับเคลื่อนความสำเร็จ : personal mastery

เรียนรู้ เรื่อง การเอาชนะตนเอง (personal mastery) ผ่านนิทาน เรื่องหนูเลมมิงจ์ (The Lemming Dilemma : living with purpose, leading with vision) สรุปเรื่องย่อ พอสังเขป ตามนี้ครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหนูเลมมิงจ์ นับพันๆตัว เดินทางไปยังหน้าผาแห่งหนึ่ง เพื่อกระโดดลงไปตามๆกัน พวกหนูเลมมิงจ์ไม่เคยคิดเลยว่า ทำไมพวกมันต้องกระโดดจากหน้าผา พวกมันแค่กระโดดลงไปตามๆกัน ตามประเพณีนิยม (ส่วนนี้ คือ เรื่องจริงเกี่ยวกับหนูเลมมิงจ์ที่เดินกลิ้งหล่นจากหน้าผาตามๆกัน สนใจลองค้นดูใน google หรือ youtube เพิ่มเติมได้นะครับ) มีหนูเลมมิงค์ตัวหนึ่ง ชื่อ เอมมี่ มันมีความรู้สึกเหมือนถูกดึงดูดให้ไปยังหน้าผาเพื่อที่จะกระโดดลงไป เช่นเดียวกับหนูเลมมิงจ์ตัวอื่นๆ นับพันๆ ตัว แต่เอมมี่ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมมันถึงต้องกระโดดลงจากหน้าผา ? ที่ปรึกษาด้านการจัดการของเหล่าหนูเลมมิงจ์ ตอบเอมมี่ว่า เพราะมันคือถ้อยแถลงร่วมกันของเหล่าหนูเลมมิงจ์ เอมมี่ฟังแล้วแต่รู้สึกยังไม่เคลียร์ คำตอบนี้ ยังไม่ช่วยไขความกระจ่างให้กับเอมมี่ มันกลับถามตัวเองเพิ่มขึ้นว่า ฉันต้องการอะไร? […]