Category Archives: 04 Relationship Management

1. Developing others and team learning
2. Diversity and Listening
Listening is key to all effective communication
3. Social skills
Good social skills will drive collaboration and teamwork.
Professor Albert Mehrabian’s communications model (words 7%, vocal elements 38%, non-verbal 55%)
4. Collaboration and Teamwork
Make the person feel valued and make the work they do have value.

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

ศิลปะการโน้มใจ สู่การเปลี่ยนแปลง – Persuade People to Change Their Behavior

เมื่อเกิดความคิดว่า ‘อยากเปลี่ยนคนอื่น’ นั่นคือ สัญญาณให้เรา ‘ทบทวนตนเอง’ บ่อยครั้ง การอยากเปลี่ยนคนอื่น นั่นอาจเพราะ ความอดทนของเราต่ำลง ให้เวลากับตัวเองสักนิดเพื่อทบทวนเจตนาของตนเอง ในฐานะหัวหน้างาน ถ้าเจตนาของเรามีความชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์กับองค์กร จึงควรตัดสินใจโน้มน้าวใจทีมงาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมต่อไป โดยธรรมชาติมนุษย์มีความสุขกับการได้เลือก เช่น ได้เลือกซื้อขนมในแบบที่ชอบ ได้เลือกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยตนเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อถูกออกคำสั่งหนัก ๆ จะรู้สึกเหมือนถูกควบคุม ทำให้ออกอาการต่อต้าน ฝ่าฝืน หรือหันเหไปทำด้านตรงข้าม เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรจะโน้มน้าวใจทีมงานอย่างไรดี บทความนี้ ขอนำเสนอเทคนิคจาก Harvard Business Review ประกอบด้วย 3 เทคนิค ดังต่อไปนี้ครับ 1. ใช้เจตนาของเขาเอง เทคนิคข้อนี้ คือ การชี้จุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เขาทำ หรือจุดต่างระหว่างสิ่งที่เขาอยากให้คนอื่นทำ กับสิ่งที่เขาทำเองจริง ๆ เช่น หัวหน้างานบอกกับทีมงานว่า “ขอให้ทุกคนร่วมมือกัน สวม Mask เพื่อป้องกันไม่ให้ COVID19 ส่งผลกระทบต่องานขององค์กรของเรา” […]

ระดมสมองแบบดิสนีย์ – Disney Brainstorming Method

ความหลากหลายในทีม อาจนำมาซึ่งความติดขัดแตกแยก แต่ในขณะเดียวกัน หากมีกระบวนการที่เหมาะสม ความหลากหลายก็จะทำให้เกิดความสนุก ความเข้าใจ และผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมได้เช่นเดียวกัน กระบวนการหนึ่งที่เรียบง่าย สามารถใช้ได้ตั้งแต่โครงการขนาดเล็ก ๆ จนถึงโครงการใหญ่ยักษ์อย่าง Disney มีชื่อว่า “Disney Brainstorming Method” ความสำเร็จเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับความสนุกได้อย่างไร กระบวนการนี้ แบ่งออกเป็น 3 ห้องประชุม 1. ห้องนักฝัน (Dreamer)รวมนักฝันคุยกันถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แบบไม่มีเงื่อนไข มองจากมุมมองภายนอกองค์กร และมักจะมีคำถามว่า “ถ้าทำแบบนี้ดูบ้างล่ะ”, “ทำไมเราจึงไม่ทำแบบนี้บ้างล่ะ” 2. ห้องนักทำ (Realist)รวมคนที่มักจะตั้งคำถามว่า “ต้องทำอย่างไร” คนเหล่านี้จะไม่พูดถึงเหตุผลที่จะทำไม่ได้ แต่พวกเขาชอบพูดคุยถึงสิ่งที่สามารถนำไปสู่ความเป็นจริง 3. ห้องผู้รู้ (Spoiler or Critic) กลุ่มที่มองเห็นช่องโหว่ของความคิดเห็น ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยปรับแก้ให้ผลงานนั้นมีคุณค่า สอดคล้องไปกับสิ่งที่องค์กรต้องการจะสื่อสาร การรวมพลัง นักฝัน นักทำ และผู้รู้ Facilitator เริ่มต้นให้ทุกคนได้คุยรวมกัน ในประเด็นเดียวกัน จากนั้นเฝ้าสังเกตผู้ร่วมประชุมหรือให้ผู้เข้าร่วมย้อนสังเกตตัวเอง […]

5 หนทาง ต้านทานการติดมือถือ: 5 Ways to Counteract Your Smartphone Addiction

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งความหลงใหลทางเทคโนโลยี และการเสพติดมือถือ เราอาจรู้สึกว่าไม่สามารถไปไหนได้ถ้าไม่มีมือถือ เกิดความกังวลใจหากไม่สามารถเช็คอีเมล และถ้าเราไม่สามารถเช็คข่าวใน Social ได้ ก็จะเกิดความกลัวขึ้นมาว่า กำลังตกขบวนหรือพลาดอะไรไปรึป่าว เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปนั้น ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และความสัมพันธ์ของเราแย่ลง เช่นนี้แล้ว เราจะรักษาผลประโยชน์ และลดผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ได้มาจากงานวิจัย 1. ใช้การ “cc” และ “reply all” อย่างรอบคอบ เราส่งอีเมลออกไปมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับกลับมามากเท่านั้น การ “cc” อีเมลถึงทุกคนช่วยในการทำงานร่วมกัน แต่ก็สร้างปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการกดตอบกลับทั้งหมด “reply all” พร้อมส่งข้อความที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับทุกคนจริง ๆ ก็จะกลายเป็นการส่งต่อภาระที่ไม่จำเป็นให้ทุกคนต้องเช็คอีเมลบ่อย ๆ เกินความจำเป็น ดังนั้น เราจึงควร “cc” อย่างเหมาะสม ส่งถึงคนที่เกี่ยวข้องจริง ๆ เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการตอบกลับทั้งหมด “reply all” เว้นแต่ว่าเนื้อความนั้น เป็นประโยชน์เกี่ยวข้อง จำเป็นกับทุกคนจริง ๆ 2. ปรับความคาดหวัง […]

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]

การสร้างความรู้สึกปลอดภัยเพื่อการทำงานร่วมกัน: Psychological Safety for Collaboration

          พอล ซานตากาตา (Paul Santagata) หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมของ Google พบว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) หรือ “ความรู้สึกปลอดภัย” สมาชิกในทีมสามารถเชื่อแน่ว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษเมื่อลองทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วผิดพลาด การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่า ความรู้สึกปลอดภัยช่วยให้เกิดความกล้าพูดจากใจ กล้าสร้างสรรค์ และ อุปมาเหมือนกับเต่าที่กล้ายื่นคอออกมาโดยไม่กลัวที่จะถูกตัด เป็นลักษณะพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน           สมองจะประมวลผลเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น จากหัวหน้างานที่มีรังสีอำมหิต, จากเพื่อนร่วมงานที่ชิงดีชิงเด่นกัน หรือ จากลูกน้องที่ไม่ใส่ใจในงาน เมื่อเรากำลังเผชิญสิ่งเหล่านี้จะเปรียบเสมือนภาวะเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของชีวิต สมองจะปรับการทำงานเข้าสู่โหมดอยู่ให้รอดไว้ก่อน โดยสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นเสมือนระฆังเตือนของสมอง จะกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบสู้หรือหนี (Fight-or-flight reaction) ทำก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง (Act first, think later) สมองจะปิดทำการในส่วนของมุมมองและเหตุผลการคิดวิเคราะห์ กลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการคิดเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน           ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 มนุษย์จำเป็นต้องมีโหมดชีวิตแบบขยายและสร้าง (The broaden-and-build mode) พร้อมด้วยอารมณ์เชิงบวก สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนและสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน บาร์บารา […]

สมรรถนะหลักของ Facilitator : IAF Core Competencies

สมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitators) ตามมาตรฐานของ IAF (IAF Core Competencies)                IAF ย่อมาจาก The International Association of Facilitators คือ องค์กรวิชาชีพระดับโลกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศิลปะและการฝึกปฏิบัติในการเอื้ออำนวยอย่างมืออาชีพ ผ่านวิธีการแลกเปลี่ยน, การเติบโตอย่างมืออาชีพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ เครือข่ายของเพื่อนร่วมงาน                กรอบสมรรถนะหลักของผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายปี โดย IAF ด้วยการสนับสนุนของสมาชิกของสมาคมและผู้เอื้ออำนวยจากทั่วโลก ถูกทดลองใช้ผ่านเวลามาอย่างยาวนาน ประกอบด้วยพื้นฐานทางทักษะ, ความรู้ และ พฤติกรรมที่ผู้เอื้ออำนวยต้องมี เพื่อให้การเอื้ออำนวยบรรลุผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาก แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ A1. พัฒนาความร่วมมือในการทำงาน A2. ออกแบบและปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า A3. บริหารจัดการกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่ม B วางแผนกระบวนการกลุ่มอย่างเหมาะสม B1. เลือกวิธีการและกระบวนการอย่างชัดเจนซึ่ง: B2. เตรียมเวลาและพื้นที่เพื่อรองรับกระบวนการกลุ่ม […]

5 สิ่งที่คนเก่งต้องก้าวข้ามเพื่อความสำเร็จ : 5 Ways Smart People Sabotage Their Success

คนเก่งในที่นี้ หมายถึงคนที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการเรียนหรือการทำงานมาในอดีต แต่พอเช็คข่าวความเป็นไปของเพื่อนเก่า ๆ ใน Facebook ก็พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างน่าทึ่ง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า ตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดอะไรไปหรือเปล่า เพราะอะไรจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้ ได้พูดถึง 5 สิ่งที่คนเก่งมักจะต้องเผชิญและแนวทางในการก้าวข้าม เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ อย่างที่ควรจะเป็น หนึ่ง) การเรียนรู้สิ่งใหม่ คนเก่งไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองในบางทักษะ เช่น ทักษะด้านความสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ เป็นต้น เนื่องจากมองว่ายากเกินไป ให้คนอื่นทำแทน และเชื่อว่าทักษะที่ตนเองเก่งอยู่แล้วนั้น เคยทำให้ตัวเองสำเร็จมาก่อน หรือเป็นที่ยอมรับมากกว่า จึงขาดความพยายามในการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่ในการทำงานจริง ทักษะเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ทางออก คือ การอาศัยจุดแข็งของตัวเอง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยความรู้สึกแบบที่น้ำไม่เต็มแก้ว เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ให้กับตัวเอง สอง) การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม มักสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคนเก่ง เรายอมรับว่าอย่างน้อยมีแนวโน้มที่คนเก่ง จะสามารถจับประเด็นข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมประมวลผล และมีไอเดียออกมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนทั่วไปต้องการเวลาในการประมวลผลข้อมูลนานกว่า และเมื่อต้องแบ่งงานกันทำ ในทีม คนเก่งที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ จะรู้สึกอยากลงมือทำงานเอง เพราะเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า […]

เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ : Story Telling

ทุกวันนี้ ยังจำเพื่อนสมัยวัยเด็กได้ การจำได้นี่มาพร้อมกับสถานที่ ผู้คน ภาพ แสง สี เสียงต่าง ๆ ที่อยู่ในวีรกรรมของเรา นั่นเพราะธรรมชาติของเราเกือบทุกคน สามารถจดจำจากเรื่องเล่า ได้มากกว่า ยาวนานกว่า การท่องจำจากข้อมูล การเล่าเรื่อง (Story Telling) จึงน่าสนใจ เทคนิคการเล่าเรื่อง 8 แบบ เทคนิคการเล่าเรื่องเหล่านี้ เราอาจใช้อยู่แล้วแบบที่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณการเล่าเรื่องนี้ อาจเกิดจากการดูหนังมา หรือ การอ่านนิยายมาหลาย ๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่ดี หากเกิดความรู้ที่ชัดเจนว่า อย่างน้อยมีเทคนิคการเล่าเรื่องถึง 8 แบบ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ใน 3 บรรทัด จะได้เอาเวลาไปฝึกเล่ากันครับ Monomyth (Hero’s Journey) เล่าถึงการเดินทางของตัวละคร ที่ออกเดินทางแล้วพบกับประสบการณ์ที่ไม่คุ้นเคย จนได้เรียนรู้ และ หวนกลับคืนมาบอกเล่า ถึงประสบการณ์ทางปัญญา The Mountain คือ การเล่าที่ค่อย […]

การทำงานร่วมกัน 3 ระดับ : The Three Levels of Collaboration

การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันในทีมตามหน้าที่ (Functional Teams) การทำงานร่วมกันในโครงการที่มีกำหนดเวลา (Time-limited Project Teams) หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน (Cross-functional Management Teams) เมื่อการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงาน และ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมด้วย งานเขียนนี้ จะนำเสนอแนวคิดของการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายตามบริบทของการทำงานร่วมกัน พร้อมกันนี้จะได้ให้แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกันใน 3 ระดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. Independent Collaboration มีเป้าหมายเหมือนกัน มีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมาย พ้นจากสภาวะการเกี่ยงงาน ต่างคนต่างทำอย่างอิสระ ทุกคนทำงานครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ สื่อสารกันน้อย ผลรวมของทีม เกิดจากการรวมผลลัพธ์ของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น Dealers จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ต่างคนต่างขาย และเมื่อนำยอดขายของทุก Dealers มารวมกัน ก็กลายเป็นยอดขายรวมของสินค้ายี่ห้อนั้น  อาศัยทักษะการฟังในระดับ I-in-it คือ การฟังแบบจับประเด็นได้ เพื่อให้ทราบรายละเอียดงานของตนเอง และ […]