Tag Archives: achievement orientation

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ : achievement orientation

การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) คือ การมุ่งมั่นปรับปรุง และ พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต หรือ กับบุคคลต้นแบบ (role models) มีความสนใจใคร่รู้ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย รวมถึงสามารถปรับสมดุลระหว่างพลังความมุ่งมั่นภายในตนเอง กับการบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน การดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) เป็นหนึ่งใน 12 สมรรถนะของผู้นำที่ชาญฉลาดทางอารมณ์ หรือ เรียกรวมกันว่า ESCI (emotional and social competency inventory) ภาวะผู้นำกับความสำเร็จร่วมกัน ผู้นำที่มีสมรรถนะในการดำรงอยู่บนทางแห่งความสำเร็จ (achievement orientation) จะมีความคุ้นเคยกับความเสี่ยง สามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และ แน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ เป้าหมายยิ่งท้าทายก็ยิ่งนำสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นเท่านั้น และ เขาหรือเธอก็มักจะทำสำเร็จได้ในทุกๆครั้ง แต่ทันทีที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ก้าวขาที่เคยท้าทายอาจกลายเป็นก้าวขาที่สร้างความกังวลให้กับทีมงาน หากก้าวขานั้นยาวมาก และ ต้องการให้ทุกคนทำตามได้เช่นเดียวกัน อาจถูกมองว่า บ้าอำนาจ (power over) ได้ง่ายๆ ผู้นำจึงจำเป็นต้องมีทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ซึ่งจะทำให้สามารถหาสมดุลความเสี่ยงที่เหมาะสมกับทีมงาน ตั้งเป้าในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ความสำเร็จกับสมอง Richard J. Davidson นักประสาทวิทยา […]

สมองและการบริหารจัดการตนเอง : brain and self-management

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการตนเอง (self-management) ซึ่งหมายถึง การดูแลท่าทีของตนเองให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเวลาปกติสุข และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คับขัน รู้สึกกลัว รู้สึกไม่คุ้นชิน รู้สึกไม่ปลอดภัย เวลาปกติสุขสมองส่วนที่กุมอำนาจเป็นหัวหน้าใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ สมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex) ซึ่งอยู่หลังหน้าผากของเรา จะคอยบัญชาการในการคิด ตัดสินใจ วางแผน และ การเรียนรู้ของเรา แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่คับขัน รู้สึกไม่ปลอดภัย สมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) ที่อยู่ส่วนกลางบริเวณระหว่างหู จะเข้ายึดครองการทำงาน เพื่อสลายสภาวะที่รู้สึกไม่ปลอดภัยแบบฉับพลัน แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เกลือกกลั้วอยู่ด้วยอารมณ์ โกรธ กลัว กังขา บางการกระทำก็ส่งผลดี เช่น การตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อควบคุมรถก่อนเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ รู้สึกเสียใจภายหลังที่ทำลงไป เช่น การแก้ตัวแบบโผงผาง  พูดไม่หยุด พูดเสียงดัง ไม่ยอมฟังกัน เพราะความกลัวลึก ๆ ในใจกลัวการไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ การกล่าวโทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสถานการณ์ที่เราเป็นกังวล สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ เรื่องราวในวัยเด็กนั้น […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]