Monthly Archives: August 2015

ยินดีอย่างไร ในทางสายกลาง

ความยินดีในการทำ การดำรงอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความพอใจในการทำเหตุปัจจัย ที่จะนำไปสู่ประโยชน์ แม้ผลยังไม่เกิด แต่ก็มีความสุขในการทำ สภาวะที่มีธรรมในใจ คือ มีจิตเป็นกุศลอยู่ต่อเนื่อง จึงว่างจากอกุศล จะเป็นสุขสงบอยู่ทุกขณะ แทบไม่จำเป็นต้องพูดอะไร นี่ก็คือ ผลอันประเสริฐที่เกิดอยู่ในทุกขณะแล้ว การมีมุทิตาจิต มีจิตยินดีในการทำที่เป็นกุศลทั้งหลาย มีคุณสมบัติช่วยให้ จิตสงบ ผ่องใส แช่มชื่น เบิกบาน ไร้จากความริษยา นอกจากนั้นแล้ว ความสุขใจ จากมุทิตาจิต ยังเป็นฐานสู่สมาธิได้เป็นอย่างดี เช่น เมื่อระลึกถึงกุศลที่เคยทำ ทานที่เคยทำ หรือ ภาพเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เคยได้บวช ถือศีล ได้เคยปฏิบัติธรรม ก็จะยังให้เกิดสมาธิขึ้น ในปัจจุบันความพอใจในการเป็น หากเป็นการพอใจในปัจจุบัน ก็จะทำให้เราไม่คิดฟุ้งไปอนาคต เพิกถอนจากความอยาก ที่จะให้ตัวเอง และ ผู้อื่น เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ไม่ตัดสินผู้อื่น ซึ่งจะช่วยปรับจิตให้ว่างจากความอยาก เข้าสู่สภาวะที่เป็นอุเบกขาได้ง่าย คือ สามารถวางใจเป็นกลาง พิจารณาเห็นด้วยปัญญา เห็นธรรมดาของธรรมชาติ  รู้จักวางเฉย สงบใจ ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ อุเบกขานี้ มีคุณสมบัติช่วยให้ จิตสงบ ไม่มีความยินดี ยินร้าย ส่วนสิ่งที่ควรระวัง […]

อริยมรรค ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก งานบรรยายธรรม ปฏิบัติธรรม เรื่อง อริยมรรค ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง โดย อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม วันที่ 9 สิงหาคม 2558 ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ เขียนสรุปตามสำนวนของผู้เขียนเอง ร่วมกับปัญญาที่ผุดขึ้นขณะฟังธรรม โดยสรุปเนื้อหาเพียงบางส่วนที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษ เพื่อน้อมนำมาฝึกปฏิบัติ และ แบ่งปันให้กัลยาณมิตรผู้จะใคร่ครวญให้เป็นประโยชน์ (โยนิโสมนสิการ) น้อมใส่ใจมาปฏิบัติฝึกตน (โอปนยิโก) เช่นกัน ความคิดไม่มีตัวตนอาจารย์เปรียบความคิดเหมือนฟองสบู่ ที่เด็กๆ ใช้หลอดจุ่มในน้ำละลายยาสระผม แล้วเป่าออกมาเป็นฟอง ขณะเกิดฟองนั้นก็เหมือนความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว แล้วในที่สุดฟองนั้นก็แตกไป เหมือนความคิดที่ในที่สุดก็จะดับไป ไม่มีตัวตนอะไร เพราะฉะนั้นแล้ว อย่าไปหลงในความคิด (สร้างภพ*) คร่ำครวญกับอดีต (เลียซากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง) และ อย่าไปหลงกับความคิด (สร้างภพ) ฟุ้งซ่านในอนาคต กุมแก้วน้ำร้อนคนที่มีความทุกข์ แม้ได้ฟังคำแนะนำให้คลายทุกข์ แต่ตราบใดที่ยังคงใช้มือกุมแก้วน้ำร้อนอยู่ ก็จะยังคงร้อนอยู่อย่างนั้น ยังคงทุกข์อยู่อย่างนั้น ปลอบโยนอย่างไรก็ไม่ได้ สิ่งที่ควรทำ คือ หาทางปล่อยวางแก้วน้ำร้อนนั้นให้ได้ อาจารย์เปรียบเหมือนการคอยตบมือเอาไว้เสมอๆ ก็จะทำให้วางแก้วน้ำร้อนได้ นั่นคืออุปมาแทนการฝึกสติ เช่น การระลึกรู้ลมหายใจ […]

สุดยอดกลยุทธ์สู่ความสำเร็จและมั่งคั่ง

วันนี้เป็นวันพระ  (7 ส.ค. 58) ได้มีโอกาสมาฟัง อาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ สอนธรรมแบบเนียนๆ ผ่านงานสัมมนา “สุดยอดกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ และ มั่งคั่ง”  ที่ Crystal Design Center (CDC) งานสัมมนามีตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ได้ความรู้และเกิดปัญญาขณะฟังสัมมนาครั้งนี้มากมาย จึงได้บันทึกสรุปเนื้อหาบางส่วน เฉพาะที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษ ที่จะได้น้อมนำมาฝึกปฏิบัติ และ เพิ่มเติมคำอธิบายเล็กๆน้อยๆ ตามภูมิรู้ ภูมิธรรมของผู้เขียนเอง ขอเผยแพร่บทความนี้ ให้กับกัลยาณมิตรที่สนใจ พิจารณาใคร่ครวญให้เกิดประโยชน์แก่ตน (โยนิโสมนสิการ) และ น้อมนำใส่ใจไปฝึกปฏิบัติ (โอปนยิโก) ให้เกิดปัญญาเฉพาะตน อย่ารู้แค่วิธีสอน ต้องมีเรื่องที่จะสอนด้วยคำสอนนี้น่าสนใจเป็นพิเศษ สำหรับคุณครู ผู้ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาด้านศึกษา การลงมือทำจริงให้มากๆ จะช่วยให้มีประสบการณ์ตรง มีปัญญา ตั้งเป้าหมายชีวิตให้เร้าใจการอธิษฐานจิตควรขอให้ผู้อื่นก่อน ให้ผู้อื่นมากๆ เมื่อขอให้ตัวเอง ก็ขอเพื่อให้ตัวเองได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ด้วยความชัดเจน ตามหลัก SMART ได้แก่ S = Specific (มีความชัดเจน), M = Measurable […]

ปัญญาในทางสายกลาง : Wisdom in the Middle Path

ทางสายกลางของแต่ละคน ผู้คนในชนบทมีทางสายกลางแบบผู้คนในชนบท  ผู้คนในเมืองมีทางสายกลางแบบผู้คนในเมือง ปราชญ์ในชนบทมีทางสายกลางแบบปราชญ์ในชนบท ปราชญ์ในเมืองมีทางสายกลางแบบปราชญ์ในเมือง ทางสายกลางของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ในมิติของการใช้ชีวิตประจำวัน การดำรงอยู่บนทางสายกลางจึงไม่ใช่การพยายามปรับตัวให้เป็นแบบคนอื่น ที่เราเห็นว่าดี แต่คือการมีสติรู้ตัวเอง ว่าควรดำเนินชีวิตอย่างไร ให้พอเหมาะ พอดี เหมาะสมกับตัวเอง เกิดประโยชน์ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถนำพาชีวิตให้เจริญได้การมีสติปรับสมดุลให้กับจิตใจ เมื่อฟุ้งซ่าน ก็นิ่งดูกาย เมื่อกังวล ก็เพิ่มกำลังทักษะ เมื่อเหนื่อยก็ผ่อนพักและ เมื่อเบื่อหน่าย ก็ต้องสร้างความท้าทายที่มากขึ้น การปรับกาย ปรับใจ ให้เกื้อหนุนสมาธิ บางคนชอบนั่งพื้นก็นั่งพื้น นั่งเก้าอี้แล้วเกิดสมาธิดีก็นั่งเก้าอี้ หรือ จะยืน จะเดิน จะนอน ก็ปรับสัดส่วน ให้เป็นไปเพื่อความเจริญในการปฏิบัติ สำหรับการฝึกเจริญสติเบื้องต้น ก็กำหนดรู้ให้พอเหมาะ พอดี เพื่อดึงสติสู่ฐาน กาย เวทนา จิต ธรรมได้ โดยไม่เผลอ เหม่อลอย หรือ เพ่งเคร่งเครียดจนเกินไป นี่คือ ทางสายกลาง ในการปฏิบัติ ทางสายกลางของการอยู่ร่วมกัน หากคนในชุมชนใจกว้าง ลดความเห็นในการแบ่งแยก ย่อมสามารถมีความคิดเห็นร่วมกันได้ มองเห็นว่าแต่ละคนประกอบด้วยความหลากหลาย […]

รักด้วยปัญญา : Love with Wisdom

ความรัก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาในโลก ทัชมาฮาล (สิ่งมหัศจรรย์ของโลก) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรักอันยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ว่ากันว่า สงคราม ก็เกิดจากการรักตัวกลัวตายเช่นกัน หากมองให้ใกล้ตัวขึ้นมาอีกหน่อย ความรักของคนหนุ่มสาว ก็มักประกอบด้วยความสุข ความทุกข์ คละเคล้าปนเป จนมีคำกล่าวว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย แท้จริงแล้วความรัก คือ อะไร ธรรมชาติของความรัก มี 4 ระดับ 1. รักด้วยสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ตาที่เคยมองเห็นว่า สติ๊กเกอร์ Line ชุดหนึ่ง น่ารักสวยงามมาก เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นว่าความน่ารัก ความสวยงาม ของสติ๊กเกอร์ Line ชุดนั้นลดน้อยลง ความน่ารักความสวยที่มองเห็นด้วยตานั้นไม่แน่นอน หูที่ฟังเสียงเพลงหนึ่งว่าไพเราะจับใจ แต่ก็เป็นไปไม่ได้ว่าคนทั้งโลกจะรับรู้เช่นเดียวกันนั้น ความไพเราะของเสียงนั้น ขึ้นอยู่การปรุงแต่งร่วมกับประสบการณ์ เสียงที่ว่าไพเราะไม่ใช่สิ่งที่มีตัวมีตนอยู่จริง บางคนชอบกลิ่นน้ำหอม แต่บางคนว่ากลิ่นดอกไม้หอมกว่า บางคนแพ้กลิ่นดอกไม้ก็ว่า ไม่มีกลิ่นดีกว่า […]

ศิลปะสูงสุดของชีวิต – The Art of Life

ศิลปะ ถูกให้ความหมายในมุมมองต่างๆ โดยที่สรุปได้ คือ ศิลปะ ไม่ใช่ธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น “ศิลปะก็เป็นเพียงศิลปะ เพราะศิลปะไม่ใช่ธรรมชาติ” ( Art is art only because it is not nature ) – เกอเท ( Goethe, 1749-1832 ) กวีชาวเยอรมัน “ศิลปะ คือ การแสดงออก” ( ART is expression ) – เฮอเบิร์ต รีด ( Herbert Read, 1893 ) นักวิจารณ์ศิลปะชั้นนำชาวอังกฤษ “ศิลปะ คือ กิจกรรมอันต่อเนื่องแห่งสากล ที่ปราศจากการแบ่งแยกระหว่าง อดีต และ ปัจจุบัน” – เฮนรี่ มัวร์ ( […]