การผสมผสาน จานสีแห่งอารมณ์ : The Wheel of Emotions

ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik)ได้สร้างสรรค์วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) ขึ้นมา โดยเสนอว่าอารมณ์หลัก (Basic Emotions) ประกอบด้วย 4 คู่ตรงข้าม ได้แก่

  1. ความรื่นเริง (Joy) คู่กับ ความเศร้า (Sadness)
  2. ความโกรธ (Anger) คู่กับ ความกลัว (Fear)
  3. ความวางใจ (Trust) คู่กับ ความรังเกียจ (Disgust)
  4. ความประหลาดใจ (Surprise) คู่กับ ความคาดหวัง (Anticipation)

โดยในแต่ละอารมณ์หลัก ยังประกอบด้วยความเข้มข้น (Intensity) ทางอารมณ์ ที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ในสายธารเดิมของอารมณ์หลักนั่นเอง ได้แก่

  • ความรื่นเริง (Joy) อยู่ระหว่าง ความสงบปลอดโปร่ง (Serenity) และ ความปิติยินดี (Ecstasy)
  • ความเศร้า (Sadness) อยู่ระหว่าง ความหดหู่ (Gloominess) และ ความเศร้าโศก (Grief)
  • ความโกรธ (Anger) อยู่ระหว่าง ความรำคาญ (Annoyance) และ ความเดือดดาล (Fury)
  • ความกลัว (Fear) อยู่ระหว่าง ความขี้ขลาด (Timidity) และ ความหวาดกลัว (Terror)
  • ความวางใจ (Trust) อยู่ระหว่างความยอมรับ (Acceptance) และ ความยกย่อง (Admiration)
  • ความรังเกียจ (Disgust) อยู่ระหว่าง ความไม่ชอบ (Dislike) และ ความรังเกียจเดียดฉันท์ (Loathing)
  • ความประหลาดใจ (Surprise) อยู่ระหว่าง ความไม่มั่นใจ (Uncertainty) และ ความพิศวง (Amazement)
  • ความคาดหวัง (Anticipation) อยู่ระหว่าง ความสนใจ (Interest) และ การเฝ้าดู (Vigilance)

นอกจากนี้เมื่อนำอารมณ์หลักต่าง ๆ มาผสมกันแล้ว ก็จะเกิดอารมณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น

  • ความรัก (Love) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความวางใจ (Trust)
  • ความยอมจำนน (Submission) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความกลัว (Fear)
  • ความสะพรึงกลัว (Awe) เกิดจาก ความกลัว (Fear) + ความประหลาดใจ (Surprise)
  • ความไม่ยอมรับ (Disapproval) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความเศร้า (Sadness)
  • ความไม่เชื่อ (Unbelief) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความรังเกียจ (Disgust)
  • ความสำนึกผิด (Remorse) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความรังเกียจ (Disgust)
  • ความสบประสาท (Contempt) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความโกรธ (Anger)
  • ความก้าวร้าว (Aggressiveness) เกิดจาก ความโกรธ (Anger) + ความคาดหวัง (Anticipation)
  • ความมองโลกในแง่ดี (Optimism) เกิดจาก ความคาดหวัง (Anticipation) + ความรื่นเริง (Joy)
  • ความปลาบปลื้มใจ (Delight) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความประหลาดใจ (Surprise)
  • ความอยากรู้ (Curiosity) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความประหลาดใจ (Surprise)
  • ความเชื่อ (Fatalism) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความคาดหวัง (Anticipation)
  • ความอิจฉา (Envy) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความโกรธ (Anger)
  • ความดูถูกถากถาง (Cynicism) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความคาดหวัง (Anticipation)

การประยุกต์ใช้วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions)

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรื่องอารมณ์ความรู้สึกจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ทั้งในวิถีชีวิตและการงาน หากเรามีความเข้าใจที่มาของอารมณ์เชิงบวก เราก็สามารถที่จะก่อประกอบเหตุปัจจัย โดยการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์พื้นฐานเชิงบวก ซึ่งนำมาสู่บรรยากาศที่เกื้อหนุนการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วน ในการประยุกต์ใช้วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions)

ความปลาบปลื้มใจ (Delight)

เมื่อเราทราบว่า “ความรื่นเริง (Joy) + ความประหลาดใจ (Surprise) จึงเกิด ความปลาบปลื้มใจ (Delight)” หากเราต้องการให้ลูกค้าปลาบปลื้มใจ (Delight) ในสินค้าหรือบริการของเรา เราจำเป็นต้องสร้างความสุข ความรื่นเริงให้เกิดขึ้นในสินค้าหรือบริการ (Joy) นอกจากนี้ สินค้าหรือบริการของเรา ยังจำเป็นต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่ดีเกินคาดลูกค้าอีกด้วย (Surprise)

ความอยากรู้ (Curiosity)

เมื่อเราทราบว่า “ความวางใจ (Trust) + ความประหลาดใจ (Surprise) จึงเกิด ความอยากรู้ (Curiosity)” หากเราต้องการสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใคร่รู้ (Curiosity) เราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ (Trust) ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมถึงก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลัก จำเป็นต้องมีการอรัมภบท หรือ ยิงคำถามที่น่าสนใจ แบบเกินคาดเดาร่วมด้วย (Surprise)

ความเชื่อ (Fatalism)

เมื่อเราทราบว่า “ความวางใจ (Trust) + ความคาดหวัง (Anticipation) จึงเกิด ความเชื่อ (Fatalism)” หากเราต้องการให้สินค้าหรือบริการของเราได้รับความเชื่อถือนิยมชมชอบ เราก็จำเป็นต้องนำเสนอความเชื่อและภาพฝันของเรา รวมถึงเปิดรับความคิดเห็นจากลูกค้า เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความวางใจ (Trust) ซึ่งกันและกัน ให้ลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งในความเชื่อและภาพฝันของเรา สามารถคาดหวังอนาคตร่วมกันได้ (Anticipation) บรรยากาศแห่งความเชื่อถือนิยมชมในสินค้าหรือบริการ (Loyalty) ก็จะเกิดขึ้นมา

สิ่งสำคัญมาก ๆ ก็คือ การคำนึงถึงประโยชน์สุขร่วมกันในสังคม ไม่ใช้ความรู้ในด้านอารมณ์ไปปั่นกระแสทางสังคมเพียงเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว สิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในสังคมก็คือ การสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ (Emotional Awareness) โดยการส่งเสริมอารมณ์เชิงบวก และ ทัศนคติในเชิงบวก (Positive Outlook) ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง และ ผู้คนรอบตัวครับ

เขียนโดย : รัน ธีรัญญ์

Comments

comments