ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator

ผู้นำ นำทีมงานที่เก่งกว่าตัวเองได้อย่างไร: The Leader as Facilitator ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) ได้ให้ความหมายของ คนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Workers) ว่าคือบุคลากรที่รู้เกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังทำ มากกว่าสิ่งที่หัวหน้างานของเขารู้ โดยในปัจจุบัน คนเก่งที่รู้งาน มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาวะผู้นำแบบเดิมที่สั่งการและควบคุมบุคลากรจากบนลงล่าง (Top-down) ตามโครงสร้างขององค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchy) จึงเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คำถามสำหรับผู้นำในวันนี้จึงคือ “จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้สมาชิกในทีมบรรลุเป้าหมายของเขา ในขณะที่ผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญมากกว่าทีมงาน” อลัน มูลัลลี่ CEO ของฟอร์ด มอเตอร์ (2006-2014) แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย (The Leader as Facilitator) มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย (The Leader as Boss) โดยเฉพาะเมื่อนำคนเก่งที่รู้งาน (Knowledge Worker) การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้นำแบบเจ้านาย มาเป็นผู้นำแบบเอื้ออำนวย จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดและโปร่งใส กระตุ้นให้สมาชิกในทีมสามารถประเมินผลงานตนเองและเปิดเผยได้อย่างซื่อตรงโดยปราศจากความกลัวหรืออับอาย เมื่อสามารถรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงจึงสามารถช่วยกันหาทางออกได้ สิ่งนี้พูดง่ายแต่ทำจริงไม่ง่าย ต่อไปนี้คือตัวอย่างการบริหารจัดการของ อลัน […]

คุณค่าของสติและสมาธิในการทำงาน: The Value of Meditation and Mindfulness

คุณค่าของการฝึกสติในมิติขององค์กรนั้น ประกอบด้วย 5 ประการ คือ (1) สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ (2) สติช่วยลดอัตราการลาออกที่ไม่พึงประสงค์ (3) สติช่วยเพิ่มผลผลิตและความผูกพันในองค์กร (4) สติช่วยดึงดูดคนเก่งให้อยากมาทำงานในองค์กร และ (5) สติช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยได้เขียนรายละเอียดไว้ในบทความ 5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ สำหรับบทความนี้ จะอธิบายถึงคุณค่าของสติและสมาธิ ในแง่ของบริบทคนทำงาน ดังนี้ สติ การมีสติในการทำงาน คือ การทำงานทีละอย่างด้วยความเต็มเปี่ยม เราตระหนักรู้ว่าถึงแม้เราจะงานยุ่งแค่ไหน แต่เราก็สามารถทำได้ทีละอย่างอยู่ดี เราอาจเคยได้ยินคำว่า “Multitasking” ซึ่งหมายถึงการทำหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน แต่หากลองสังเกตดี ๆ ในความรวดเร็วฉับไวนั้น เราก็กำลังทำทีละอย่างอยู่ดี แม้นิ้วที่รัวบนแป้นคีย์บอร์ดก็สัมผัสกดลงแป้นทีละนิ้ว ถ้าเราคิดเรื่องอื่นพร้อมกับการทำงานอีกอย่าง เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นสิ่งนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่าเรากำลังทำหนึ่งอย่าง นั่นก็คือเรากำลังมีสติในการทำงาน หากเราทำงานอย่างมีสติ เราจะมีความสุขในขณะที่กำลังทำ เราจะรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดที่ว่า “งานยุ่งจังเลย” เราจะทำงานไปพร้อมกับการมีพื้นที่ว่างในใจ ให้สามารถเปิดรับผู้คน และเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจแทรกเข้ามา […]

ความรู้สึกปลอดภัย 4 ระดับ: The 4 Stages of Psychological Safety

ตีโมตี คลาร์ก (Clark, T. R., 2020) ได้เสนอว่าความรู้สึกปลอดภัย (Psychological Safety) ประกอบด้วย 4 ระดับ ได้แก่ ความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะเรียนรู้ (Learner Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะลงมือทำ (Contributor Safety), รู้สึกปลอดภัยที่จะท้าทายสถานภาพที่เป็นอยู่ (Challenger Safety) และในที่นี้ผมจะขอเสนอความรู้สึกปลอดภัยในระดับที่ 5 ที่เป็นความรู้สึกปลอดภัยจากการเป็นหนึ่งเดียวกัน (Oneness Safety) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ระดับที่ 1: ความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety) ทุกคนล้วนต้องการได้รับการยอมรับ ถ้าคุณได้รับสถานภาพการเป็นสมาชิกจากกลุ่มใด คุณจะพัฒนาความรู้สึกแห่งอัตลักษณ์ร่วมกัน (Shared identity) เกิดความรู้สึกปลอดภัยที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Inclusion Safety) รู้สึกมีความสำคัญและสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มได้ ในทางตรงข้าม ถ้าคุณถูกใครเพิกเฉย ละเลย นิ่งเงียบ บอกปัด ไล่ตะเพิด หรือทำให้อับอาย ไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ศูนย์ความเจ็บปวดของสมอง […]

5 องค์ประกอบของสุดยอดทีม: Great Team Start with Psychological Safety

              “อะไรที่ทำให้เกิดสุดยอดทีม ใน Google” ภาระกิจในการค้นหาคำตอบนี้ ถูกเรียกว่า “โปรเจค อริสโตเติล” ก่อนทำการศึกษา Google และองค์กรอื่น ๆ จำนวนมาก เชื่อว่าการสร้างทีมที่ดีสุด หมายถึง การรวบรวมคนที่ดีที่สุด แต่ภายหลังการศึกษาครั้งนี้พบว่าความเชื่อดังกล่าว ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเป็นอย่างมาก               Google ได้ทำการศึกษาข้อมูลจาก 180 ทีม ด้วยการสัมภาษณ์มากกว่า 200 ครั้ง และวิเคราะห์ลักษณะของทีมที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ลักษณะ ปรากฏว่าไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนที่ระบุได้ว่าทีมที่ยอดเยี่ยมนั้นมีลักษณะร่วมกันอย่างไร จนเมื่อ Google เริ่มนำองค์ประกอบที่จับต้องไม่ได้ (Intangibles) มาร่วมพิจารณาด้วย คือ ได้ทำการศึกษาถึงความฉลาดร่วมกัน (Collective Intelligence) หรือ ความสามารถที่เกิดขึ้นเมื่อมาทำงานร่วมกันเป็นทีม จึงได้พบว่าทีมที่ยอดเยี่ยมนั้นไม่ได้เกิดจากการรวบรวมคนที่สุดยอดที่สุดมาทำงานร่วมกัน แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันได้อย่างดี จนเกิดเป็นองค์ประกอบร่วมกันหรือความฉลาดร่วมกันภายในทีม โดยในบรรดาทีมที่ประสบความสำเร็จนั้น มีลักษณะร่วมกันอยู่ 5 ประการ (Friedman, 2019, Rozovsky, 2015, Schneider, 2017) ดังนี้ ความรู้สึกปลอดภัย (Psychological […]

คุยกันแบบอ่างปลา ‘Fishbowl’ ในแอพ ‘Clubhouse’

แอพ Clubhouse กระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญสนุกกับการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนรู้ที่จะได้เข้าไปรับฟังสาระดี ๆ แบบฟรี ๆ นอกจากนี้ Moderator ประจำห้องใน Clubhouse ยังอาจเลือกประยุกต์รูปแบบการนำเสนอ โดยรันกระบวนการคุยกันแบบอ่างปลา หรือ Fishbowl ได้อีกด้วย Fishbowl คือ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการสนทนา เมื่อมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก โดยแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม เรียกว่า “วงใน” และ “วงนอก” ผู้เข้าร่วมที่อยู่ใน “วงใน” ทำหน้าที่เป็นผู้แบ่งปัน ส่วนผู้เข้าร่วมที่อยู่ใน “วงนอก” จะเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยเปิดพื้นที่และช่วงเวลาให้เกิดการสลับบทบาทได้ การรันกระบวนการ Fishbowl 1. เปิดประเด็นใหม่ Moderator จะตั้งประเด็นในแต่ละรอบของการสนทนา โดยประเด็นอาจเกิดจากการต่อยอดสาระจากการแบ่งปันในรอบก่อนหน้า หรือเกิดจากการเสนอและยอมรับของสมาชิกในห้องสนทนา หลังจากได้ประเด็นแล้ว รอสัก 1-2 นาที เพื่อให้สมาชิกทุกคนในห้องสนทนาได้ใคร่ครวญเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เพื่อการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมแบ่งปันใน “วงใน” หรือไม่ 2. เชิญชวนผู้แบ่งปัน Moderator เชิญชวนให้คนที่สนใจได้สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นผู้ร่วมแบ่งปันใน “วงใน” […]

โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น – work practice play and learn

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ และบรรดาหลวงพี่ที่หมู่บ้านพลัม ให้แนวทางในการสังเกตสมดุลของชีวิตของเรา จากองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น เราสามารถสังเกตได้อย่างง่าย ๆ จากกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ เช่น การออกกำลังกายสนุก ๆ โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการเล่น (Play) แต่หากการออกกำลังกายนั้นมีความจริงจังขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา ก็ดูเหมือนว่า เรากำลังเรียนรู้ (Learn) อยู่เช่นกัน ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้ ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน (Work) ผมกำลังทำหน้าที่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ แต่หากช่วงเวลาหนึ่ง ผมได้กลับมารู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของมือ รู้สึกถึงลมหายใจ หรือได้ยินเสียงความคิดภายในใจอยู่ การเขียนในขณะนี้ ก็คือการบ่มเพาะสติ (Practice) ด้วยเช่นกัน การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน และการเล่น แท้จริงแล้วอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับว่า เราวางใจกับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นอย่างไร การทำงาน การฝึกปฏิบัติ การเรียน หรือว่าการเล่น วันนี้ เราอยากเพิ่มองค์ประกอบอะไรให้กับชีวิตดีครับ 🥳😁🌸🎉

รู้ลมหายใจโดยไม่บังคับ – Observing the breath without controlling

การฝึกตามรู้ลมหายใจ โดยเริ่มต้น ความพยายามในการออกแรงหายใจเข้า จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจเข้าเล็กน้อย เช่นเดียวกันความพยายามในการออกแรงให้หายใจออก จะเกิดขึ้นก่อนการรู้สึกถึงลมหายใจออกเล็กน้อย นี่คือการเริ่มต้นที่งดงามในการฝึกฝนเพื่อการรู้สึกตัว บางทีเราอาจเรียกการรู้เช่นนี้ว่า “การกำหนดรู้” สิ่งนี้ ช่วยลดความเครียดหรือความคิดที่กำลังฟุ้งซ่านให้จางคลายได้ “หายใจเข้า… หายใจออก…” เมื่อฝึกฝนการรู้ลมหายใจไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่วงเวลาที่ความพยายามหายไป “การตามรู้ลมหายใจ” หรือ “การกำหนดรู้ลมหายใจ” จะแปรเปลี่ยนเป็น “การรู้ลมหายใจแบบซื่อ ๆ” อาจมาจากภาษาอีสานว่า… “ฮู่ซือ ๆ บ่ต้องเฮ็ดหยัง” สักแต่ว่ารู้ ราวกับว่านั่นมันไม่ใช่เรื่องของเรา เหมือนเรากำลังดู “ฮิปโปโปเทมัส” หายใจอยู่ เรื่องการหายใจเป็นเรื่องของฮิปโป ไม่ใช่เรื่องของเราแต่เรารู้อยู่ บางทีเราก็อาจมองเห็นร่างกายที่กระเพื่อม ๆ อยู่ด้วยลมหายใจ ไม่ใช่ร่างกายของเรา แต่เป็นลูกโป่งกลม ๆ ที่พองเข้าพองออกด้วยลม นี่คือการฝึกฝนที่เกื้อกูลให้อารมณ์ดี ดั่งผึ้งเยือนบุปผา ผมประทับใจเทศนาธรรม เรื่อง ดั่งผึ้งเยือนบุปผา (The Bee visits Flowers เทศนาธรรมผ่าน Zoon โดย หลวงพี่ Dat Nguyen พระธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัม […]

ฟื้นคืนพลังจากใบไม้ที่ร่วงหล่น – Awareness and Resilience

ในการทำโปรเจคที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ในการบรรลุผลลัพธ์ เราต่างรู้ดีว่าต้องใช้ความอดทน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จ แต่บางครั้งความท้าทายในงาน ที่มีกำหนดกรอบเวลา เมื่อมาผสมรวมกับความคาดหวังในใจ ก็จะกลายเป็นความเครียดขึ้นมา เมื่อถึงขีดจำกัดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าต้องพัก ถ้าเราตัดสินใจพักได้ แต่หากเราไม่สามารถตัดสินใจพักได้ด้วยตนเอง ความเครียดทางใจก็จะถูกสะสมลงไปที่สุขภาพทางกายของเราแทน ความฝืนทนทางใจที่มากเกินไปนั้น มีผลต่อสุขภาพทางกาย หรือไม่ก็นำไปสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) จบชีวิตในการทำงาน การให้โอกาสตัวเองได้ช้าลงชั่วขณะ รับรู้ถึงวันนี้ ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น รับรู้ถึงลมหนาว ที่พัดใบไม้ร่วงหลนลงบนฝ่ามือของเรา นี่คือสัญญาณที่บอกว่า เรายังมีชีวิต ยังสามารถมองเห็น ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ดังอย่างแผ่วเบาจากระยะทางไกล ๆ … การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะเช่นนี้ ทำให้ความคาดหวังในใจหายไปชั่วครู่ เกิดความพอใจ เต็มเปี่ยมด้วยพลังแห่งการมีชีวิต อะไรต่อมิอะไรที่เผชิญอยู่ กลับกลายเป็นกำไรของการมีชีวิต กลายเป็นโอกาสที่เราได้ทำงาน ตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเราที่ทำให้เราได้ทำงาน สภาวะจิตใจเช่นนี้ ทำให้เราฝืนทนน้อยลง เป็นการน้อยลงในแง่ที่ดีขึ้น เพราะเพิ่มความสามารถในการลงมือทำ ด้วยความรู้สึกที่สบายขึ้น นี่เป็นการทักทายความคาดหวัง แล้วกลับสู่ปัจจุบันขณะ แปรเปลี่ยนความฝืนทนจากความคาดหวังในอนาคต ให้กลายเป็นความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในปัจจุบัน ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงบนฝ่ามือของเรา เป็นสัญลักษณ์แทนความความสุขที่เรียบง่ายในปัจจุบันขณะ ที่ช่วยฟื้นคืนกลับความมีชีวิตชีวาให้กับการทำงานของเราในปัจจุบัน หลักสูตร โดย อ.ธีรัญญ์ : […]

การค้นหาตัวเองและความหมายของชีวิต – Meaning of Life

เราอาจต้องการสำรวจตัวเอง เพื่อให้เกิดความแน่ใจขึ้นภายในใจ และตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉัน คือ ใคร” โดยในระหว่างทางของการค้นหาตัวเอง อาจเกิดความรู้สึกพอใจขึ้นมาบางช่วงเวลา พอจะตอบได้แล้วว่า “ฉัน คือ ใคร” แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งกลับรู้สึกไม่แน่ใจหรือเคว้งคว้างยิ่งกว่าเดิม ความจริงก็คือธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ บางคำตอบที่ดูเหมือนจะแน่นอน จึงเป็นจริงแค่เพียงชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยน ความหมายของชีวิตที่เคยเข้าใจก็อาจเปลี่ยนไป บางช่วงเวลา เราทำงานหนึ่งได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ ชีวิตดูเหมือนมีความลงตัวเป็นอย่างดี แต่พอสำรวจกลับเข้ามาในใจก็พบว่า มันยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต นี่ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาดอะไร แต่นี่คือธรรมชาติของการแปรเปลี่ยน บทความนี้ ผมขอนำเสนอ แผนที่ของชีวิตแบบหนึ่ง ที่นำไปสำรวจชีวิตได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีเพียง 2 ทาง และทั้งสองทางนี้ก็เป็นทางที่ถูกทั้งคู่ วิธีใช้ก็คือ ถ้าเราเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่งมากเกินไป ก็ให้ลองมาเดินอีกทางหนึ่งดูบ้างแค่นั้นเอง ทางทั้ง 2 ทางที่จะนำเสนอ มีดังนี้ครับ หนึ่ง) สร้างความกลมเกลียวภายใน ได้แก่ การยอมรับในตนเอง การรับฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความเคร่งตึง สังเกตพฤติกรรมของตนเองด้วยใจที่เป็นกลาง เหมือนมองตัวเองจากบนฟ้าลงมา อาจใช้การจดบันทึกหรือเล่าเรื่องตัวเองให้ตัวเองฟัง ไม่ใช่การเขียนเพื่อลุ้นยอดกดไลค์ ลดการวิเคราะห์สายตาท่าทีหรือความคิดเห็นจากผู้อื่น อาจให้เวลาตัวเองได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่ช่วยเสริมพลังใจ การฝึกรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก […]

ปรับองค์กรให้คล่องตัว ด้วยทีมแห่งสติ – Mindful Team

การทำงานร่วมกันในยุคสมัยใหม่ ที่เกื้อกูลให้องค์กรของเรา สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ด้วยการจัดทีมแห่งสติ (Mindful Team) ขึ้นมาแบบเฉพาะกิจ เพื่อขับเคลื่อนแต่ละโปรเจคร่วมกันจนสำเร็จ โดยขอเรียนเสนอรายละเอียด ดังต่อไปนี้ครับ ทีมแห่งสติ ประกอบด้วย 3 บทบาท 1. Mindful Mainbody คือ ผู้ที่รับผิดชอบหลักในโปรเจค มีความเข้าใจลูกค้า และร่วมจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยคำว่า ‘Mainbody’ ช่วยให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเดียวกันกับทีมงาน ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของงานแต่เพียงผู้เดียว ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้การทำงานร่วมกันมีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน 2. Mindful Master คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator นำวงสนทนา รวมถึงคอยให้คำปรึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงานทุกคน โดยมุ่งเน้นขจัดอุปสรรคในการทำงานจากภายในจิตใจก่อนเป็นสำคัญ และเอื้ออำนวยให้กระบวนการทำงานร่วมกันเกิดความไหลลื่น และได้พัฒนาทั้งการทำงานและจิตใจไปพร้อมกันในระหว่างการทำงาน 3. Mindful Member คือ สมาชิกทุกคนในทีม ที่มาช่วยกันทำงานด้วยความรู้สึกว่าเป็นร่างกายเดียวกัน ทุกคนจึงถูกมองเห็นและเห็นคุณค่าในตนเอง ตระหนักรู้ถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง ทำหน้าที่ของตัวเองในขณะที่พร้อมเกื้อกูลการทำงานของผู้อื่นในทีมด้วย โดยในแต่ละทีมจะมีสมาชิกครบทุกความเชี่ยวชาญ เช่น 4-5 คน เพียงพอให้สามารถจบโปรเจคกันได้เองในทีม เพื่อลดการทำงานแบบไซโล ที่ใช้เวลาประสานงานระหว่างฝ่ายค่อนข้างมาก […]