Tag Archives: self-awareness

ไว้วางใจในธรรมชาติ : surrender to the nature

เราไว้วางใจในธรรมชาติมากแค่ไหน อาจหมายถึงความไว้วางใจ ที่จะออกเดินทางเยี่ยงนักจาริกหลายท่านที่พบกับชีวิตใหม่ ภายหลังการเดินทางโดยไม่พกเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในที่ที่ไม่คุ้นเคย การสื่อสารผ่านภาษาใจ ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ การเดินทางบนเส้นทาง แห่งความไว้วางใจในธรรมชาติ ในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การหมั่นดูแลเมล็ดพันธุ์ภายในของตนเอง บ่มเพาะพลังบวก ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายใน และ เฝ้าสังเกต เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ในมุมมองนั้น แม้อาจเป็นเหตุการณ์เดิม แต่เราจะพบว่า โอกาสดีๆ ของชีวิตนั้นมีมากมาย เหมือนโลกใบใหม่ ที่เต็มไปด้วยการชื่นชม ความสำนึกคุณ การขอบคุณ และ ความโชคดี ความหวังดี และ พยายามจัดแจงให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นทำอย่างนี้ ให้คนนี้ทำอย่างนั้น ในห้วงขณะที่ จิตใจของเรากำลังเจือปนอยู่ด้วยความอยากเสียเอง เท่ากับการเขย่าตะกอนภายในจิตใจของเราให้ขุ่นขึ้นมาแล้วดื่มกิน เราแสดงความคิดเห็นออกไปในขณะที่ใจร้อนรน การแสดงออกบนพื้นฐานเหล่านั้น อาจหมายถึง เรายังไม่ได้ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายในอย่างเพียงพอ เส้นทางชีวิต มีหลากหลายหนทาง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น ไว้วางใจในธรรมชาติแค่ไหน

การทำในสภาวะหนึ่ง : awareness and action

บันทึกการทำในสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หนึ่ง เต็มเปี่ยมกับปัจจุบัน ขณะทำ จะมองเห็น ซึมซาบผลสำเร็จที่บรรลุในทุกขณะ เห็นทุกการกระทำได้สิ้นสุดลงไป พร้อมผลลัพธ์ที่ไม่ต้องรอคอย เห็นแนวโน้มในปัจจุบัน ว่าคือความสำเร็จไปแล้ว ไม่ยึดติดในผล จึงไม่มีห่วงในอนาคต ไม่มีความต้องการสะสมของที่เกินพอดี ด้วยความกลัวในอนาคต  สอง มีความสุขกับการทำ ขณะทำ จะร่มรื่น ร่มเย็น มีความสงบในใจ มีความสุขขณะทำ ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น ไม่คิดเปรียบเทียบ ไม่คิดชิงชัง ร่างกายผ่อนคลาย ยิ้มได้ง่าย เป็นที่รัก น่าเข้าใกล้ สาม เป็นมิตรกับธรรมชาติ ขณะทำ จะเป็นประโยชน์ แม้เพียงเล็กน้อยแต่รอบด้าน ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อชุมชน และ ธรรมชาติแวดล้อม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ต่อต้านธรรมชาติ มีความลื่นไหล กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ การขอบคุณอดีต ช่วยให้ชีวิตเป็นปัจจุบัน เมื่อติดในอดีต จากความรู้สึกผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ที่ทำให้ใจของเรากลับคืนสู่ปัจจุบันไม่ได้ ท่องคาถา this too shall pass (แล้วมันจะผ่านไป) […]

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

การแปรเปลี่ยนพลังงาน : stance dances

บางภาวะของชีวิต เมื่อเราเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลไกสมองจะตัดเข้าใช้ระบบปกป้อง เพื่อการอยู่รอด (survival coping stances) จะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าที 4 อย่าง ได้แก่ 1. ยอม (placating) เอาใจผู้อื่นอยู่เรื่อยไป จนลืมใส่ใจตัวเอง 2. ต่อว่า (blaming) ต่อว่าผู้อื่น สนใจแต่ตัวเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น 3. เจ้าหลักการ (super-reasonable) ยึดอยู่กับหลักการ ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึก 4. เฉไฉ (irrelevance) เบี่ยงบ่าย เปลี่ยนประเด็น ตลกกลบเกลื่อน ในขณะที่ มีงานวิจัยพบว่า ท่าทางของร่างกาย (body) นั้น ส่งผลต่อจิตใจ (mind) และ สมอง (brain) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถปรับท่าทางของเรา เพื่อแปรเปลี่ยนพลัง ออกจากการตกอยู่ในกลไกปกป้องอย่างนุ่มนวล ดังนี้ 1. ออกจากกลไก ยอม ด้วยท่าทางแบบ Powerful Tree จะช่วยให้เราโอนอ่อน ได้อย่างมั่นคง ดั่งต้นไม้ที่พร้อมโอบอุ้มผู้อื่นอย่างกรุณา 2. […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]