Tag Archives: mindfulness

เทคนิคง่ายๆ ของการมีความสุข : the secret to being happy

ความรู้สึกทุกข์ไม่ได้หายไปด้วยการผลักไส แต่เกิดจากการเชิญความรู้สึกอื่นๆ เข้ามาแทนที่ หากเราเชิญความสุขแบบผิวเผินเข้ามาแทนที่ความทุกข์ เช่น การออกไปสังสรรค์ เที่ยวเตร่ ที่ให้ความสุขแค่เพียงเปลือกนอก ไม่ช้าก็เร็ว ความรู้สึกทุกข์เช่นเดิมก็จะกลับเข้ามาครอบครองในใจของเรา Matthieu Ricard มนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้มีความสุขที่สุดในโลก โดยมีผลรับรอง จากงานวิจัยของ Richard Davidson นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง เปิดเผยเทคนิคง่ายๆ ของการมีชีวิตที่มีความสุข แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้ ? หนึ่ง หยุดคิดถึงแต่ตัวเอง . ความเมตตาทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นยังทำให้คนอื่นรักเราด้วย ไม่ใช่การคาดคั้นตัวเองให้ต้องทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เราแค่เพียงเมตตา และ ช่วยเหลือด้วยใจ ? สอง ฝึกฝนให้ดีขึ้นๆ ทุกคนมีศักยภาพที่จะมีความสุข เราไม่ได้ฝึกฝนความคิดจิตใจ เพื่อเอาชนะใคร หรือ เพื่อเป็นแชมป์โอลิมปิก แต่ทุกครั้งที่เราฝึกฝน นั่นช่วยยกระดับความสุขของเรา ? สาม คิดถึงความสุข ใช้เวลา 10-15 นาทีต่อเนื่องในหนึ่งวัน เพื่อคิดถึงความสุข สัมผัสถึงความรู้สึก จากประสบการณ์ที่เคยมีความสุข และ สิ่งนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสมาธิด้วย […]

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

พัฒนาชีวิตจากภายใน : fist of the north star

ว่าด้วยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ในปี 1906 เราตื่นเต้นกับ IQ และ พยายายามจะพัฒนามัน ปัจจุบันเราพบว่า IQ อาจช่วยให้มนุษย์พบกับความสำเร็จในการงานได้เพียง 1-20% เท่านั้น ต่อมาในปี 1983 เราพบว่าอัจฉริยะมีหลากหลายสาขา เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) เราจึงพยายามค้นหาความสามารถพิเศษ แล้วเน้นพัฒนาชีวิตให้สุดยอดในด้านใดด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ความหลากหลายทางปัญญานั้น ได้เพิ่มมากขึ้น และ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนทำให้เราไม่สามารถยึดทฤษฎีนี้มาเป็นแก่นแกนในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกับทุกคนได้ และ การเก่งสุดๆเพียงด้านใดด้านหนึ่งอาจทำให้ชีวิตขาดสมดุลได้ ต่อมาในปี 1990 เราเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้บนรากฐานของสมองตามช่วงวัย (brain based learning) ปัจจุบัน เริ่มค้นพบว่าสมองไม่ใช่ศูนย์กลางของปัญญาในทุกๆด้าน ปัญญาที่แท้จริงนั้น อาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมอง ต่อมาในปี 1995 เราพบว่า EQ เจ๋งกว่า IQ กล่าวคือ ผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการงานสูงถึง 27-45% เลยทีเดียว ภายหลังปี 2000 ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาให้เราตื่นเต้นอีกมากมาย ทฤษฏีการเรียนรู้ใหม่ๆ ยังคงเกิดขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางเสี้ยวส่วนของทฤษฎีนั้นก็ถูกลดความสำคัญลงไป […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

โอกาสทองในชีวิตประจำวัน : all embracing wisdom

ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราได้แยกการฝึกฝนสติ (mindfulness practice) ออกจากเวลางาน เรามุ่งมั่นทำงานด้วยความรวดเร็ว ว่องไว เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการงาน แล้วพยายามจะฝึกฝนสติในเวลาที่ได้พักจากการทำงานจริงๆ หรือ บางคนอาจกำลังวางแผนการฝึกฝนสติเอาไว้เป็นกิจกรรมที่จะทำในช่วงวัยเกษียณ เหล่านี้คือ ความเข้าใจที่อาจจะทำให้พลาดโอกาสทอง ในการค้นพบความอัศจรรย์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และ ประโยชน์อันมากมายมหาศาลจากการมีสติระหว่างวัน การมีสติระหว่างวัน คือ การระลึกรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน สามารถหล่อเลี้ยงความคิด คำพูด และ การกระทำให้อยู่บนหนทางสู่เป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถรับรู้ถึงผู้คน และ ธรรมชาติรอบตัวได้อย่างสดใหม่เป็นปัจจุบัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การมีสติช่วยให้ประกอบการงานได้สำเร็จด้วยชีวิตที่เป็นสุข ค้นพบโอกาสทอง ในขณะที่จิตใจของเราปั่นป่วนเรามักจะกระทำการต่างๆออกไปอย่างไม่รู้ตัว การหล่อเลี้ยงสติระหว่างวัน จะทำให้เราได้ค้นพบโอกาสทอง นั่นคือ โอกาสที่จะได้สัมผัสถึงจิตใจของตัวเองอย่างรู้สึกตัว เช่น รู้สึกได้ถึงความบีบคั้นภายในจิตใจของตัวเอง อาจเพราะกำลังไม่เห็นด้วยต่อบางเรื่องราว เมื่อสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตนเองอย่างรู้สึกตัว ภาพสิ่งต่างๆใกล้ๆตัวที่เคยเบลอหายไป จะกลับมาแจ่มชัดอีกครั้ง เรามักคิดว่าอาการปั่นป่วนภายในจิตใจนี้ เกิดจากเรื่องราวภายนอก เกิดจากคนอื่นกระทำบางอย่างไม่ถูกต้อง แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวภายนอกยังคงเป็นเรื่องราวภายนอก แต่อาการปั่นป่วนภายในจิตใจเรานั้น เกิดจากข้อจำกัดของเราเอง ข้อจำกัดของเราอาจทำให้เราออกอาการกระสับกระส่ายเป็นทุกข์ การรับรู้เท่าทันอาการปั่นป่วนนี้ คือ การค้นพบโอกาสทอง ในโอกาสทองนั้นมีขุมทรัพย์รอเราอยู่ เราไม่ควรจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดลอยไป เราสามารถเข้าสู่แบบฝึกหัดต่อไปนี้ เพื่อค้นพบประโยชน์อันอัศจรรย์จากการมีสติระหว่างวัน 7 ขั้นตอนการแปรเปลี่ยน ความปั่นป่วนภายในจิตใจ สู่ความปกติสุขด้วยตัวเอง […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

ผู้บริหารรุ่นใหม่ ไทยน้ำทิพย์ มาเยือนสวนโมกข์: Young Professional Program

วันนี้ (วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559) มาเป็นกระบวนกร ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ ในงาน Thai Nam Thip Young Professional Program ต้อนรับผู้บริหารหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จากไทยน้ำทิพย์ จำนวน 35 ท่าน ช่วงเช้ารันกระบวนการนำพาออกจากความคุ้นชิน สู่โลกแห่งปัจจุบันขณะ ผ่านกิจกรรมเดินเท้าเปล่าบนพื้นทรายที่สวนพุทธธรรม ทดลองเร่งความเร็วออกเดินด้วยความเร็วหลายระดับ ตามด้วยกิจกรรมประสานมือ ตามต้านจักรวาลเพื่อสัมผัสถึงสภาวะที่เบาและสภาวะที่หนักที่อาจจะเกิดระหว่างการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ก็ได้นำพาสู่กระบวนการเดินกับแก้วน้ำแห่งสติ ก่อนที่จะนำพาทุกท่านเข้าสู่ช่วงเพลินธรรมนำชม ศึกษาปริศนาธรรมต่าง ๆ ภายในสวนโมกข์ กรุงเทพฯ ช่วงบ่าย นั่งล้อมวงสนทนากันที่โถงกิจกรรม ชั้น 1 แลกเปลี่ยนประสบการณ์พื้นฐานสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue เนื่องจากผู้เรียนเกือบทั้งหมด ยังไม่คุ้นเคยกับสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue จึงเริ่มต้นปูพื้นฐานการฟัง นำพาให้ได้สัมผัสการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และเรียนรู้ผู้นำสี่ทิศ เพื่อให้เข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่น เกิดการตระหนักถึงประโยชน์ของสติ เพื่อขยายขอบเขตหัวใจตนเอง จากนั้นได้นำพาทุกท่าน เข้าสู่ห้องนิพพานชิมลอง เรียนรู้เรื่องอริยสัจ […]

จินตนาการข้ามขอบ : mental rehearsal

การซักซ้อมในจินตนาการ (mental rehearsal) คือ การจินตนาการเห็นภาพตัวเราเอง ในพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น ออกกำลังกายยามเช้า ซ้อมกีฬาอย่างมีวินัย หรือ สามารถพูดต่อหน้าคนจำนวนมากได้อย่างมั่นใจ การซักซ้อมในจินตนาการ ช่วยรื้อสร้างพฤติกรรมที่เคยคุ้น โดยเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (reptilian brain) หรือ ก้านสมอง (core brain) เพื่อเขียนระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติชุดใหม่ ที่มีคุณภาพมากขึ้นตามที่มุ่งมั่นตั้งใจ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง พฤติกรรมหลายสิ่งอย่างที่มนุษย์ทำไปด้วยระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติ เช่น การเขียนปี พ.ศ. ซ้ำๆ จนคุ้นชิน ทำให้เราเขียนปี พ.ศ. ออกมาต่อจากวันที่ และ เดือน โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด พอข้ามจากปีเก่า เข้าสู่ปีใหม่ เรามักยังคงคุ้นเคย กับการเขียนปี พ.ศ. ของปีก่อน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนโดยไม่รู้ตัวว่าผิดด้วยซ้ำ เรียกขั้นนี้ว่า การไม่รู้ว่าเราไม่สามารถ (unconsciously unskilled) แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพื่อนมาทักบอกให้แก้ หรือ เราอาจจะสังเกตพบข้อบกพร่อง แปลกแยกจากผู้อื่นด้วยตัวเอง เรียกขั้นตอนนี้ว่า การรู้ว่าเราไม่สามารถ (consciously unskilled) […]

พูดจา กระชับ จับใจ : Intuitive Speech

รู้สึกหลงใหลคำพูดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา (Dialogue) การสนทนาที่ปล่อยให้ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของท่วงทำนองการพูดคุย เมื่อเราฟังความเงียบได้ เราจะได้ยินเสียงกระซิบจากจักรวาล และบ่อยครั้งเมื่อความเงียบมากพอ เราจะได้ยินเสียงของปราชญ์ ผู้ที่มักสงบอยู่ อาจเป็นใครสักคนในวงสนทนาที่เราไม่เคยคาดคิดก็ได้ คำพูดที่อ่านจากประสบการณ์ชีวิต บางเสี้ยวบางตอน สะท้อนออกมาเพื่อมอบให้ผู้ฟัง ด้วยความรัก ได้แบบกระชับ จับใจ (Intuitive Speech) จอมยุทธที่มีเพลงยุทธ ย่อมเพลิดเพลินในการท่องยุทธฉันใด กระบวนกรผู้มีวาทศิลป์ ย่อมเพลิดเพลินในวงสนทนาฉันนั้น ไม่ว่าท่องเที่ยวไปสู่วงสนทนาที่ไหน ผู้คนย่อมยกย่องในเพลงดาบที่งดงามฟันฉับเดียวขาด มากกว่า เพลงดาบที่ร่ายรำเรื่อยไปแบบไร้ทิศทาง เหตุผลของการพูดที่กระชับนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย ยังหมายถึง การเอื้อเฟื้อเวลาให้กับผู้อื่นได้พูดอีกด้วย วิธีการพูดของแต่ละคนนั้น อาจกลั่นกรองมาได้จากหลายวิธี ผมทำได้เพียงเฝ้าสังเกต เรียนรู้จากตัวเองในขณะที่ถึงเวลาจะพูด ผมใช้เวลาในการหายใจเล็กน้อยก่อนพูด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะไม่คิดหาถ้อยคำใดๆ เพื่อมาพูด ในใจรู้แต่เพียงว่าจะมอบสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ภายหลังการหายใจเข้าออกสักพัก จะมีถ้อยคำผุดขึ้นเอง 2-3 คำ บ่อยครั้ง ผมจะใช้วิธีการ เล่าเชื่อมโยงถึงคำสำคัญเข้าด้วยกัน ด้วยการอ่านประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมกับการอ่านความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย แต่ละประโยคที่พูด จึงสั้นยาวได้ความ เหมือนข้าวที่พอดีคำ กลืนกินได้สะดวก สภาวะนี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ มันนำพาให้การพูดนั้น […]